ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รูปแบบพันธุกรรม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TjBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: nds:Genotyyp
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: tl:Henotipo
บรรทัด 50: บรรทัด 50:
[[ta:மரபணுவமைப்பு]]
[[ta:மரபணுவமைப்பு]]
[[tg:Генотип]]
[[tg:Генотип]]
[[tl:Henotipo]]
[[tr:Genotip]]
[[tr:Genotip]]
[[uk:Генотип]]
[[uk:Генотип]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:38, 3 ตุลาคม 2555

ลักษณะปรากฏ (อังกฤษ: phenotype) หมายถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน สามารถมองเห็น หรือชั่ง ตวง วัดได้ ลักษณะปรากฏได้แก่ ลักษณะสีนัยน์ตา สีผม ความสูง สีของขนสัตว์ สีของดอกไม้ ลักษณะของเมล็ด ความฉลาด ความถนัด

ลักษณะทางพันธุกรรม (อังกฤษ: genotype) หมายถึงลักษณะองค์ประกอบของยีน (gene) ของสิ่งมีชีวิตที่มีการแสดงออกเป็นลักษณะปรากฏที่แตกต่างกัน และสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นอื่นๆ ต่อไปได้ โดยการถ่ายทอดยีน

ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจะมีหน่วยควบคุมลักษณะ (genetic unit) ควบคุมสิ่งมีชีวิตให้มีรูปร่าง และลักษณะเป็นไปตามเผ่าพันธุ์ของพ่อแม่ เรียกว่า ยีน ดังนั้นยีนจึงทำหน้าที่ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นหลาน

ลักษณะต่างๆ ที่ถ่ายทอดไปนั้นพบว่าบางลักษณะไม่ปรากฏในรุ่นลูก แต่อาจจะปรากฏในรุ่นหลานหรือเหลนก็ได้ จึงมีผลทำให้เกิดความแตกต่างกันของลักษณะทางพันธุกรรมจนมีผลทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดความหลากหลาย แต่การสะสมลักษณะทางพันธุกรรมจำนวนมากทำให้เกิดสปีชีส์ต่างๆ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้จนถึงปัจจุบัน