ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนูทดกำลัง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thewhitechess (คุย | ส่วนร่วม)
แปลเพิ่มเล็กน้อย
Thewhitechess (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
ปีกธนูสร้างจาก[[วัสดุผสม]]ที่มีความสามารถในการยืดหยุ่นและทนแรงอัดสูง ปีกธนูเป็นตัวสะสมพลังงานทั้งหมดของคันธนู - ไม่ได้มีการสะสมพลังงานที่ระบบรอกและสายธนู น้ำหนักในการง้างสายธนูโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 10 ถึง 100 [[ปอนด์ (หน่วยมวล)|ปอนด์]] สร้างความเร็วให้ลูกธนูได้ 150 ถึง 370 [[ฟุต|ฟีต]]ต่อวินาที''(46 ถึง 113 เมตร/วินาที)''
ปีกธนูสร้างจาก[[วัสดุผสม]]ที่มีความสามารถในการยืดหยุ่นและทนแรงอัดสูง ปีกธนูเป็นตัวสะสมพลังงานทั้งหมดของคันธนู - ไม่ได้มีการสะสมพลังงานที่ระบบรอกและสายธนู น้ำหนักในการง้างสายธนูโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 10 ถึง 100 [[ปอนด์ (หน่วยมวล)|ปอนด์]] สร้างความเร็วให้ลูกธนูได้ 150 ถึง 370 [[ฟุต|ฟีต]]ต่อวินาที''(46 ถึง 113 เมตร/วินาที)''


ในการติดตั้งทั่วไปส่วนใหญ่ ระบบรอกและเพลาจะถูกติดอยู่ตรงส่วนปลายปีกธนู รูปทรงของเพลาลูกเบี้ยวอาจแตกต่างกันตามรูปทรงของคันธนู โดยมีบางอย่างแตกต่างกันในอุปลักษณ์การใช้งานระบบเพลาลูกเบี้ยวในการเก็บพลังงานสะสมไว้ทีปีกธนู และสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดตกอยู่ภายใต้ประเภทที่เรียกว่า '''bow eccentrics''' โดยมี 4ประเภทที่ใช้กันมากที่สุดคือ Single Cam, Hybrid Cam, Dual Cam และ Binary Cam
ในการติดตั้งทั่วไประบบรอกและเพลาจะถูกติดอยู่ตรงส่วนปลายปีกธนู


จากรูปทางด้านขวามือแสดงลักษณะแนวแกนจากปีกธนูถึงเพลาซึ่งติดอยู่ตรงด้านปลายปีกธนูโดยมีมุมหนึ่งของเพลายึดอยู่ตรงกึ่งกลาง ในขณะสายธนูกำลังถูกง้างเพลาเกิดการหมุนและเกิดแรงกระทำกดไปที่ปีกธนู
จากรูปทางด้านขวามือแสดงลักษณะแนวแกนจากปีกธนูถึงเพลาซึ่งติดอยู่ตรงด้านปลายปีกธนูโดยมีมุมหนึ่งของเพลายึดอยู่ตรงกึ่งกลาง ในขณะสายธนูกำลังถูกง้างเพลาเกิดการหมุนและเกิดแรงกระทำกดไปที่ปีกธนู

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:25, 3 ตุลาคม 2555

คันธนูทดกำลัง

ธนูทดกำลัง หรือเสียงอ่านในภาษาอังกฤษ คอมพาวน์ด โบว เป็นธนูสมัยใหม่ที่ใช้ระบบคานงัด โดยใช้สายเคเบิลและลูกรอก(pulleys) ในการออกแรงเค้นไปที่ปีกธนู

ปีกของคันธนูทดกำลังมีความแข็งมากกว่าปีกของ คันธนูแบบปีกโค้งกลับ หรือ คันธนูยาว ความแข็งของปีกคันธนูทดกำลังนี้จะทำให้มีพลังที่มีประสิทธิภาพมากกว่าคันธนูชนิดอื่นๆ โดยการใช้งานร่วมกับลูกรอก และ เพลาลูกเบี้ยว(cams) คันธนูทดกำลังมีสายธนูที่นำไปใช้กับรอก(เพลาลูกเบี้ยว) และรอกข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างจะมีสายเคเบิลหนึ่งหรือหลายเส้นเชื่อมต่อกับรอกที่อยู่ตรงด้านปีกธนูฝั่งตรงข้าม เมื่อนักธนูดึงสายธนูจะทำให้รอกทำงาน และเมื่อง้างสายจนสุดนักธนูจะไม่ต้องออกแรงต้านกลไกมากนัก แต่หากเมื่อยังอยู่ในขณะดึงสายธนูนักธนูจะต้องออกแรงดึงต้านกลไกเพื่อโน้มปีกธนูมากขึ้น พลังงานสะสมที่ปีกธนูจึงมีมากกว่าเมื่อเทียบกับธนูประเภทอื่น

จากรูปแบบการใช้งานของระบบคานงัดนี้ทำให้คันธนูทดกำลังมีความเป็นเอกลักษณ์ทางด้านแรงดึงปีกธนู ที่ซึ่งเพิ่มน้ำหนักแรงดึงขึ้นจนสุดแล้ว "ปล่อยออก" ด้วยน้ำหนักที่เบาขณะค้างสายไว้

ธนูทดกำลังไม่ค่อยมีผลกระทบจากอุณหภูมิและความชื้นมากนักและยังให้ความแม่นยำ ความเร็ว และระยะหวังผลที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับธนูประเภทอื่น

จากงานวิจัยในช่วงก่อนศตวรรษที่ 20 ก่อนที่จะเริ่มมีการประดิษฐ์คันธนูทดกำลัง ธนูคอมโพสิท (Composite bow) ถูกเรียกว่า คอมพาวน์ด โบว[1] ซึ่งปัจจุบันได้ถูกแทนที่แล้ว

โครงสร้างของธนูทดกำลัง

รูปขยายระบบรอกของธนูทดกำลัง

ส่วนกึ่งกลางของธนูที่เป็นส่วนที่ยึดปีกธนูทั้งสองข้าง และเป็นที่ติดตั้งอุปกรณ์เสริมเช่น ศูนย์เล็ง และ ศูนย์ถ่วง เรียกว่า คันบังคับธนู(Riser) โดยคันธนูนี้ถูกออกแบบให้มีความแข็งแรงและมีน้ำหนักเบา ส่วนใหญ่มักทำจาก อลูมิเนียม หรือ แม็กนีเซียมอัลลอย และส่วนใหญ่มักจะผลิตด้วยวัสดุสำหรับสร้างเครื่องบินเช่น 6061 อลูมิเนียม อัลลอย

ปีกธนูสร้างจากวัสดุผสมที่มีความสามารถในการยืดหยุ่นและทนแรงอัดสูง ปีกธนูเป็นตัวสะสมพลังงานทั้งหมดของคันธนู - ไม่ได้มีการสะสมพลังงานที่ระบบรอกและสายธนู น้ำหนักในการง้างสายธนูโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 10 ถึง 100 ปอนด์ สร้างความเร็วให้ลูกธนูได้ 150 ถึง 370 ฟีตต่อวินาที(46 ถึง 113 เมตร/วินาที)

ในการติดตั้งทั่วไปส่วนใหญ่ ระบบรอกและเพลาจะถูกติดอยู่ตรงส่วนปลายปีกธนู รูปทรงของเพลาลูกเบี้ยวอาจแตกต่างกันตามรูปทรงของคันธนู โดยมีบางอย่างแตกต่างกันในอุปลักษณ์การใช้งานระบบเพลาลูกเบี้ยวในการเก็บพลังงานสะสมไว้ทีปีกธนู และสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดตกอยู่ภายใต้ประเภทที่เรียกว่า bow eccentrics โดยมี 4ประเภทที่ใช้กันมากที่สุดคือ Single Cam, Hybrid Cam, Dual Cam และ Binary Cam

จากรูปทางด้านขวามือแสดงลักษณะแนวแกนจากปีกธนูถึงเพลาซึ่งติดอยู่ตรงด้านปลายปีกธนูโดยมีมุมหนึ่งของเพลายึดอยู่ตรงกึ่งกลาง ในขณะสายธนูกำลังถูกง้างเพลาเกิดการหมุนและเกิดแรงกระทำกดไปที่ปีกธนู

สายธนูของธนูทดกำลัง โดยปรกติจะสร้างจาก เส้นใยโพลีอีทิลีนที่มีแรงโมดุลัสยืดหยุ่นสูง และถูกออกแบบให้มีความต้านทานแรงดึงได้ดีและมีอัตราการย้วยเล็กน้อย

การเปรียบเทียบกับธนูชนิดอื่น

ลักษณะเด่น

  • ในการทำงานของระบบรอกและเพลา(เรียกว่า 'eccentrics') คือการสะสมพลังงาน จึงทำให้ธนูทดกำลังสะสมพลังงานได้มากขึ้นและยิงได้เร็วขึ้น
  • การออกแบบของระบบรอกและเพลาสามารถควบคุมอัตราเร่งของลูกธนูได้โดยตรง

ลักษณะด้อย

  • จำนวนชิ้นส่วนเคลื่อนที่ที่มีจำนวนมากกว่า ต้องอาศัยการดูแลที่มากกว่าและสร้างจุดเสียหายได้มากกว่ืา

ลูกธนู

ลูกธนูที่ใช้ของธนูทดกำลังเมื่อเทียบกับลูกธนูของธนูปีกโค้งกลับนั้นไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก มักทำด้วยอลูมิเนียมอัลลอย, เส้นใยคาร์บอน หรือสร้างจากวัสดุผสมของทั้งสองชนิด

ลูกธนูที่ทำด้วยไม้มักไม่นิยมใช้งานกับธนูทดกำลัง เนื่องจากแรงสะสมที่มากอาจกระแทกให้ก้านของลูกธนูหัก และอาจทำให้ชิ้นส่วนของก้านธนูที่แตกพุ่งไปโดนแขนของนักธนู

ผู้ผลิตแต่ละรายจะผลิตก้านธนูที่มีความแตกต่างกันทั้งทางด้าน น้ำหนัก spines และความยาวที่แตกต่างกัน ในรูปทรงเดียวกันของก้านธนูเพื่อให้เข้ากันตามรูปแบบของนักธนูแต่ละคน โดยอ้างอิงกับลักษณะทางกายภาพ


ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Tutankhamun: Anatomy of an Excavation. (The notes were made in the 1920s and describe composite bows as "compound"; the modern compound bow did not exist at this time.) http://www.griffith.ox.ac.uk/gri/carter/135z.html


แหล่งข้อมูลอื่น