ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเมืองเกษเกล้า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ลบหมวดหมู่:กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนาแล้ว; เพิ่ม[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรล...
RxAlchemiste (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
| สีพิเศษ = #ffcc00
| สีพิเศษ = #ffcc00
| สีอักษร = #8f5f12
| สีอักษร = #8f5f12
| ภาพ = ไฟล์:Phramuang_Kesklao.jpg
| พระบรมนามาภิไธย =
| พระบรมนามาภิไธย =
| พระนาม = พระเมืองเกษเกล้า
| พระนาม = พระเมืองเกษเกล้า

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:30, 22 กันยายน 2555

พระเมืองเกษเกล้า
กษัตริย์แห่งล้านนา
ครองราชย์ครั้งแรก : พ.ศ. 2068-2081
ครั้งที่สอง : พ.ศ. 2086-2088
รัชกาลก่อนหน้าครั้งแรก : พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิ
ครั้งที่สอง : ท้าวซายคำ
รัชกาลถัดไปครั้งแรก : ท้าวซายคำ
ครั้งที่สอง : พระนางจิรประภามหาเทวี
สวรรคตพ.ศ. 2088
พระอัครมเหสีพระนางจิรประภามหาเทวี
พระราชบุตรราชบุตรไม่ปรากฏพระนาม
ท้าวซายคำ
เจ้าจอมเมือง
พระนางยอดคำทิพย์
พระตนคำ[note 1]
วัดประจำรัชกาล
วัดโลกโมฬี[1]
ราชวงศ์มังราย
พระราชบิดาพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิ

พระเมืองเกษเกล้า หรือ พญาเกสเชษฐราช ทรงเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์มังราย แห่งอาณาจักรล้านนา ทรงครองราชย์ในครั้งที่ 1 พ.ศ. 2068 - 2081 (13 ปี) และครั้งที่ 2 พ.ศ. 2086 - พ.ศ. 2088 (2 ปี) ในการครองราชย์ครั้งแรกพระองค์ปกครองได้ 13 ปี พระองค์ก็ถูกยึดอำนาจจากพระโอรสของพระองค์คือ ท้าวซายคำ แต่ท้าวซายคำราชย์ได้แค่ 5 ปี ก็ถูกขุนนางปลดออกจากราชย์สมบัติ ต่อมาพญาเมืองเกษเกล้าได้ถูกอัญเชิญให้ขึ้นครองราชย์ แต่พระองค์ครองราชย์ได้แค่ 2 ปี พระองค์ก็ทรงเสียพระจริต พระองค์จึงถูกปลงพระชนม์เสีย

พระราชประวัติ

การครองราชย์ครั้งแรก

พระเมืองเกษเกล้า หรือ พญาเกสเชษฐราช พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิ หรือ พญาแก้ว ครองราชย์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2068-2081 สถานภาพของพระองค์เมื่อครั้งแรกครองสิริราชสมบัตินั้น พระองค์ยังสามารถใช้ฐานอำนาจเดิมของพระราชบิดา ไม่มีความขัดแย้งของเหล่าขุนนาง เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ เช่นการสนับสนุนของเหล่าคณะสงฆ์และมหาเทวีตนย่าซึ่งเป็นฐานอำนาจเดิม เมื่อพระเมืองเกษเกล้าเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาตามแนวทางเดิมของพระราชบิดา โดยส่งเสริมพระภิกษุสงฆ์สำนักสีหลหรือฝ่ายป่าแดง เนื่องจากพระองค์เคยบวชในสำนักสีหลที่วัดโพธารามมหาวิหาร (วัดเจ็ดยอด) จึงให้พระครูของพระองค์มาประจำที่วัดโพธารามมหาวิหารและแต่งตั้งพระภิกษุฝ่ายสีหลให้รับสมณศักดิ์เป็นสังฆราชและมหาสามี และโปรดให้พระภิกษุอุปสมบทในนิกายสีหล ดังนั้นตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ที่เขียนโดยพระรัตนปัญญาเถระแห่งวัดโพธารามมหาวิหาร ขณะที่พระเมืองเกษเกล้าครองราชย์ได้ 1-2 ปี ได้สรรเสริญพระเมืองเกษเกล้าว่า "...เป็นพระเจ้าธรรมิกราชโดยแท้..."[2]

การถอดออกจากราชสมบัติ

พระเมืองเกษเกล้า ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. 2068-2081 ซึ่งช่วงแรกของการครองราชย์ยังมีกลุ่มอำนาจเดิมในสมัยพญาแก้ว ยังไม่พบความขัดแย้งของเหล่าขุนนาง และดูเหมือนว่าครองราชย์ตามปกติเฉกเช่นกษัตริย์องค์ก่อน ความมั่นคงช่วงแรกจึงเกิดจากแรงสนับสนุนของเหล่าพระสงฆ์และมหาเทวีเจ้าตนย่า (นางโป่งน้อย) ซึ่งเป็นฐานอำนาจเดิม ภายหลังเมื่อมหาเทวีเจ้าตนย่าสวรรคตใน พ.ศ. 2077 โดยพระองค์มีพระราโชบายที่จะรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง สร้างความไม่พอใจแก่ขุนนางลำปางที่นำโดย หมื่นสามล้าน ซึ่งเป็นผู่นำไม่พอใจและเกิดการก่อกบฏขึ้นในปี พ.ศ. 2078 โดยขุนนางเมืองลำปางได้เป็นแกนนำการก่อกบฏ ดังข้อความตอนหนึ่งว่า "...เสนาทังหลาย เปนต้นว่า หมื่นสามล้านกินนคร ๑ ลูกหมื่นสามล้านชื่อว่าหมื่นหลวงชั้นนอก ๑ หมื่นยี่อ้าย ๑ จักกะทำคดแก่เจ้าพระญาเกสเชฏฐราชะ พระเปนเจ้ารู้ จิ่งหื้อเอาหมื่นส้อยสามล้านไพข้าเสียวันนั้นแล..."[1] แสดงว่าขุนนางตามภูมิภาค ต่างไม่พอใจพระมหากษัตริย์ และเกิดความขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้น จนในที่สุด พ.ศ. 2081 ขุนนางมีอำนาจเหนือกษัตริย์และได้ร่วมกันปลดพระเมืองเกษเกล้าออก แล้วส่งไปครองเมืองน้อย

การครองราชย์ครั้งที่สองและการสวรรคต

พระมหาเทวีจิรประภา พระอัครมเหสี ครองราชย์ในปี พ.ศ. 2088-2089

หลังจากเหตุการณ์นั้น เหล่าขุนนางจึงได้อัญเชิญท้าวซายคำขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แทนพระราชบิดา ท้าวซายคำครองราชย์ในปี พ.ศ. 2081 ขณะมีพระชนมายุ 24 พรรษา แต่หลังพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้ไม่นานก็ถูกลอบปลงพระชนม์ ดังตำนานพระธาตุหริภุญชัยได้กล่าวไว้ว่า "...พระยาซายคำถือเมืองได้ ๖ ปี มีลูกหญิงก็หลาย มีลูกชายก็มาก เถิงปีก่าดหม้า เดือน ๑๑ แรมค่ำ ๑ วันอาทิตย์ ไทยระวายยี (พ.ศ. 2086) ชาวดาบเรือนหื้อเสียชีวิตในคุ้มน้อยทั้งมวนแล..."[3] แสดงว่าท้าวซายคำได้ถูกเหล่าขุนนางลอบปลงพระชนม์ในคุ้มพร้อมด้วยครอบครัว โดยตำนานเมืองเชียงใหม่ได้ให้เหตุผลไว้ว่า "...เสวยเมืองบ่ชอบสราชธัมม์ เสนาอามาตย์พร้อมกัน ข้าพ่อท้าวชายเสียในปลีก่าเหม้า สก ๙๐๕ ตัว..."[1]

หลังจากลอบปลงพระชนม์แล้ว ก็ได้นำพระเมืองเกษเกล้าพระราชบิดากลับมาครองราชย์โดยครองราชย์ไม่ถึงสองปี ก็ถูกแสนคราวเหล่าขุนนางไทใหญ่ลอบปลงพระชนม์ในปี พ.ศ. 2088 แผ่นดินล้านนาจึงว่างกษัตริย์และเกิดความแตกแยกถึงขั้นสงครามกลางเมือง และมีการดึงกำลังภายนอกเข้าช่วยด้วย

  • กลุ่มแสนคราว เป็นกลุ่มขุนนางในเชียงใหม่ได้ลอบปลงพระชนม์พระเมืองเกษเกล้า แล้วไปอัญเชิญเจ้านายเมืองเชียงตุงที่มีเชื้อสายราชวงศ์มังรายมาครองเมืองเชียงใหม่แต่ไม่ยอมมา จึงได้อัญเชิญเจ้าฟ้าเมืองนายแทน
  • กลุ่มหมื่นหัวเคียน[note 2] เป็นกลุ่มขุนนางที่นำเข้ามารบกับกลุ่มแสนคราวที่เมืองเชียงใหม่ รบกันเป็นเวลาสามวันสามคืน ฝ่ายหมื่นหัวเคียนพ่ายแพ้หนีไปเมืองลำพูน กลุ่มนี้ได้แจ้งให้กรุงศรีอยุธยายกทัพขึ้นมายึดเชียงใหม่ ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงทรงยกทัพมายังเชียงใหม่
  • กลุ่มเชียงแสน กลุ่มนี้ประกอบไปด้วย เจ้าเมืองเชียงแสน เจ้าเมืองเชียงราย เจ้าเมืองลำปาง และเจ้าเมืองพาน ซึ่งเป็นกลุ่มของพระนางจิรประภามหาเทวีเอง ได้ทำการกวาดล้างกลุ่มแสนคราวได้สำเร็จ และสนับสนุนพระอุปโย (หรือ พระไชยเชษฐา) แห่งล้านช้างมาครองล้านนา ด้วยพระองค์มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในพระเมืองเกษเกล้า โดยระหว่างการรอการเสด็จมาของพระไชยเชษฐา เหล่าบรรดาขุนนางจึงได้อัญเชิญพระนางจิรประภา พระอัครมเหสีในพระเมืองเกษเกล้า และพระราชมารดาในท้าวซายคำ ขึ้นเป็นกษัตรีย์พระองค์แรกในแผ่นดินล้านนาในปี พ.ศ. 2088

มหาเทวีจิรประภา พระอัครมเหสีของพระองค์ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2088-2089[4] เนื่องจากพระองค์มีความเหมาะสมเนื่องจากเคยมีบทบาททางการเมือง ด้วยพระนางเป็นพระอัครมเหสีในพระเมืองเกษเกล้า และพระราชมารดาในท้าวซายคำ รวมระยะเวลากว่า 19 ปี (พ.ศ. 2069-2088) และในช่วงเวลาที่พระนางเสวยราชย์ สันนิษฐานว่าพระนางมีพระชนมายุราว 45-46 พรรษา ซึ่งถือเป็นพระชนมายุที่ถือว่าเหมาะสม ด้วยประสบการณ์และความพร้อมดังกล่าวทำให้มหาเทวีสามารถแก้ไขสภาวะบ้านเมืองให้ลุล่วงไปด้วยดี[5]

พระราชกรณียกิจ

ในช่วงแรกของการครองราชย์ ขณะที่พระองค์ยังมีสถานะที่มั่นคง พระองค์ได้แต่งตั้งคนใกล้ชิดไปครองเมืองเชียงแสน[6] ซึ่งถือเป็นศูนย์อำนาจทางตอนบนของอาณาจักรล้านนา และเมืองเชียงแสนนี่เองที่เป็นฐานอำนาจของพระเมืองเกษเกล้าสืบมาถึงรัชสมัยของพระนางจิรประภามหาเทวี และสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช ทางด้านการปกครองมีลักษณะปรึกษาร่วมกันกับสิงเมืองและบรรดาขุนนาง เนื่องจากมีหลักฐานที่กล่าวถึง เมื่อพระเมืองเกษเกล้าครองราชย์ได้ไม่ไม่นาน ราชเทวี (ไม่ปรากฏพระนาม) ก็ประสูติราชบุตรองค์หนึ่ง เพื่อความเป็นสิริมงคล จึงได้สร้างพระพุทธรูป "พุทธพิมพาเจ้าราชบุตร" แล้วหารือกับสิงเมืองและเสนาอามาตย์ว่าจะนำพระพุทธรูปไว้ที่ใด เจ้าเมืองเชียงแสนจึงได้เสนอให้ไปไว้ในถ้ำปุ่ม เมืองเชียงแสน[7]

นอกจากนี้พระองค์ยังได้ให้การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา โดยพระองค์ได้ให้การทำนุบำรุงพระศาสนาในเมืองต่างของล้านนา เช่น เมืองลำพูน เชียงใหม่ และเชียงแสน โดยเฉพาะการสร้างวัดโลกโมฬี ทำนองวัดประจำรัชกาลเลยทีเดียว[1]

ความสัมพันธ์กับอาณาจักรล้านช้าง

สถานะทางการเมืองในช่วงต้นของพระเมืองเกษเกล้าเป็นที่ยอมรับทางการเมืองระหว่างรัฐ โดยเฉพาะอาณาจักรล้านช้าง ดังพบว่า พระเจ้าโพธิสารราช กษัตริย์แห่งล้านช้างได้ทูลขอ นางยอดคำ หรือ พระนางยอดคำทิพย์ ธิดาของพระเมืองเกศเกล้าเป็นพระอัครมเหสี เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างสองอาณาจักร และผนึกกำลังตอบโต้การขยายตัวของอาณาจักรอยุธยา แต่อย่างไรก็ตามหลังจาก พ.ศ. 2077 ระบอบกษัตริย์และขุนนางของอาณาจักรล้านนาก็เสียสมดุล และเกิดเหตุการณ์การถอดพระองค์ออกจากราชสมบัติ การยกพระราชโอรสของพระองค์ครองราชย์ต่อและถูกลอบปลงพระชนม์ ต่อมาเมื่อพระองค์ครองราชย์อีกครั้งก่อนที่จะถูกลอบปลงพระชนม์ในท้ายที่สุด

เชิงอรรถ

  1. พระราชธิดาพระองค์เล็กของพระเมืองเกศเกล้า ภายหลังพระเจ้าบุเรงนองพระตนคำกลับไปยังกรุงหงสาวดีด้วยในรัชกาลของพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ และเชื่อว่าเป็นคนละพระองค์กันกับ พระตนคำ พระมเหสีของสมเด็จพระเจ้าอภัยพุทธบวร ไชยเชษฐาธิราช
  2. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 88 เรียกคนกลุ่มนี้ว่า "หมื่นหัวเคียนแสนหวี" ซึ่งแสดงว่าเป็นขุนนางเมืองแสนหวี และโพกศีรษะ (หัวเคียน)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. หน้า 87
  2. พระรัตนปัญญาเถระ. ชินกาลมาลีปกรณ์, หน้า 163
  3. ตำนานพระธาตุหริภุญชัย, หน้า 31
  4. สรัสวดี อ๋องสกุล. "บทบาททางการเมือง ประวัติ และที่มาของอำนาจมหาเทวีจิรประภา". ขัตติยานีศรีล้านนา. เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ บรรณาธิการ (เชียงใหม่:วิทอินดีไซน์,2547) หน้า 31-57
  5. ประวัติศาสตร์ล้านนา. หน้า 177
  6. สรัสวดี อ๋องสกุล. ปริวรรต. พื้นเมืองเชียงแสน. หน้า 106
  7. ฮันส์ เพนธ์, บรรณาธิการ. ประวัติพระธาตุเชียงตุง, หน้า 131-132
  • ตำนานพระธาตุหริภุญไชย. พิมพ์เป็นอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์), 29 พฤษภาคม 2502
  • ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่:ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฎเชียงใหม่, 2538
ก่อนหน้า พระเมืองเกษเกล้า ถัดไป
พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิ
กษัตริย์อาณาจักรล้านนา
(ครั้งที่ 1)

(พ.ศ. 2068 - พ.ศ. 2081)
ท้าวซายคำ
ท้าวซายคำ
กษัตริย์อาณาจักรล้านนา
(ครั้งที่ 2)

(พ.ศ. 2086 - พ.ศ. 2088)
พระนางจิรประภามหาเทวี

แม่แบบ:โครงกษัตริย์