ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กาฝาก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สามินี (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ตารางจำแนกพันธุ์
{{ตารางจำแนกพันธุ์
|name = กาฝาก
|name = กาฝาก
|image =
|image = กาฝาก.jpg
|image_caption =
|image_caption = ลักษณะต้นกาฝาก
|regnum = [[Plant]]ae
|regnum = [[Plant]]ae
|unranked_divisio = [[Angiosperms]]
|unranked_divisio = [[Angiosperms]]
บรรทัด 18: บรรทัด 18:


กาฝากเป็นพืชในวงศ์ลอแรนทาซิอี (Loranthaceae) ซึ่งมีหลายสกุล และมากมายหลายชนิด พบขึ้นทั่วไปตามต้นไม้ต่างๆ และมักเรียกชื่อตามต้นไม้ที่เกาะเบียนอยู่ เช่น กาฝาก [[มะม่วง]] กาฝากก่อตาหมู เป็นต้น<ref>http://en.wikipedia.org/wiki/Loranthus</ref>
กาฝากเป็นพืชในวงศ์ลอแรนทาซิอี (Loranthaceae) ซึ่งมีหลายสกุล และมากมายหลายชนิด พบขึ้นทั่วไปตามต้นไม้ต่างๆ และมักเรียกชื่อตามต้นไม้ที่เกาะเบียนอยู่ เช่น กาฝาก [[มะม่วง]] กาฝากก่อตาหมู เป็นต้น<ref>http://en.wikipedia.org/wiki/Loranthus</ref>
[[ไฟล์:กาฝาก.jpg|thumb|lต้นกาฝาก]]


==ลักษณะดอก==
==ลักษณะดอก==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:04, 18 กันยายน 2555

กาฝาก
ไฟล์:กาฝาก.jpg
ลักษณะต้นกาฝาก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Core eudicots
อันดับ: Santalales
วงศ์: Loranthaceae
สกุล: Dendrophthoe
Mart.

กาฝาก (อังกฤษ: parasites) เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ในวงศ์ Loranthaceae ในอันดับ Santalales มักอาศัยเกาะขึ้นกับพืชอื่น และแย่งอาหารจากพืชที่เกาะอยู่และ บางชนิดก็แย่งอาหารจากพวกกาฝากด้วยกันพืช กาฝากต้องพึ่งพาต้นไม้อื่นในการดำรงชีวิต เพราะมันไม่สามารถเกาะอยู่บนต้นไม้อื่นเฉยๆแบบกล้วยไม้ ว่านไก่แดง หรือนมตำเรีย ซึ่งเป็นพืชอิงอาศัย (epiphyte) แต่มันจะต้องแทงรากเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของต้นไม้อื่นนั้น เพื่อแย่งเอามาเป็นอาหารของมัน เพราะกาฝากเป็นพืชเบียน (parasite) บนคาคบไม้ จึงแตกต่างจากกล้วยไม้และพืชอิงอาศัยอื่นๆ[1]

ลักษณะต้น

กาฝากเป็นพืชที่มีเนื้อไม้แข็ง มีใบเขียวชอุ่ม และผลัดใบตามฤดูกาล จากลักษณะของลำต้น กาฝากเป็นไม้พุ่มที่มีกิ่งก้านสาขามากมาย มีใบเป็นใบเดี่ยวที่ติดเรียงแบบตรงกันข้าม (opposite)ขอบใบเรียบ เนื้อใบเหนียวหนา บางชนิดมีใบกว้าง แต่บางชนิดมีใบแคบ พวกกาฝากจะมีรากชนิดหนึ่ง เรียกว่า รากเบียน (haustoria) ที่แทงทะลุเปลือกไม้เข้าไปถึงขั้นเยื่อสร้างความเจริญเติบโต (Cambium) ของพืชที่เกาะอาศัยอยู่ พืชกาฝากแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ

กาฝากเป็นพืชในวงศ์ลอแรนทาซิอี (Loranthaceae) ซึ่งมีหลายสกุล และมากมายหลายชนิด พบขึ้นทั่วไปตามต้นไม้ต่างๆ และมักเรียกชื่อตามต้นไม้ที่เกาะเบียนอยู่ เช่น กาฝาก มะม่วง กาฝากก่อตาหมู เป็นต้น[2]

ไฟล์:กาฝาก.jpg
lต้นกาฝาก

ลักษณะดอก

ดอกกาฝากมีทั้งที่เป็นดอกเดี่ยวและดอกช่อที่ติดกันเป็นกลุ่ม(dichasium) ขึ้นอยู่กับชนิดของกาฝาก เมื่อนำดอกกาฝากมาพิจารณาดู จะเห็นว่า ดอกกาฝากมีกลีบเรียงเป็น 2 วงชั้น กลีบใน (petal) มี 2-3 กลีบ กลีบนอก (sepal) มี 2-3 กลีบเช่นกัน กลีบดอกอาจแยกกัน หรือติดกันที่โคนกลีบกลายเป็นหลอดก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของกาฝาก บางชนิดมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเดียวกัน จึงผสมเกสรกันเองได้ บางชนิดอาจอยู่คนละดอกและคนละต้น

ลักษณะผล

ผลของกาฝากมักมีสีขาว มีเปลือกเหนียว หรือแข็ง ภายในมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว ซึ่งมีเมือกเหนียวๆห่อหุ้มไว้ เมือกเหนียวๆ นี้เองที่ทำให้เมล็ดกาฝากเกาะติดอยู่บนกิ่งไม้ได้นานๆและเหนียวแน่น จนกว่าจะงอกเป็นต้นกาฝากเล็กๆ มีรากเจาะดูด (haustoria) แทงเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของต้นไม้ได้

การแพร่พันธุ์

เมล็ดกาฝากไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้เอง ถ้าหากผลสุกจนแก่จัด จะร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน ถึงจะร่วงหล่นลงบนกิ่งไม้บ้าง แต่ผลนั้นยังมีเนื้อผลไม้หุ้มเมล็ดอยู่ จึงไม่มีวันที่เมล็ดกาฝากจะไปติดอยู่ตามกิ่งไม้ต่างๆได้เลย นอกจากจะอาศัยนกเท่านั้น เพราะนกจะกินผลกาฝากเข้าไปเป็นอาหาร แล้วถ่ายเมล็ดกาฝากออกมาพร้อมกับมูลของมัน นกที่ช่วยแพร่พันธุ์ให้กับต้นกาฝาก คือ นกกาฝาก (Flowerpeckers) เนื่องจากเมล็ดกาฝากมียางเหนียวๆหุ้มอยู่ จึงติดอยู่ที่ปากของนก ทำให้นกเกิดความรำคาญ ต้องเอาปากไปเช็ดกับกิ่งไม้ที่มันเกาะ จนเมล็ดกาฝากติดอยู่กับกิ่งไม้ แล้วงอกงามเป็นต้นกาฝากเกาะกินต้นไม้นั้นในเวลาต่อมา ในขณะที่นกเหล่านี้สอดจะงอยปากเข้าไปดูดกินน้ำหวานในกรวยดอกกาฝาก ละอองเกสรตัวผู้จะติดตามปากและขนบริเวณหน้าผากของนก เมื่อนกเหล่านี้สอดจะงอยปากเข้าไปดูดกินน้ำหวานในดอกกาฝากดอกอื่น ละอองเกสรตัวผู้จึงร่วงหล่นและผสมกับเกสรตัวเมียในดอกกาฝากดอกนั้น ทำให้กาฝากต้นนั้นติดผลได้ ในทางชีววิทยาถือว่าเป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างนกกับต้นกาฝากแบบชั่วคราว (mutualism without continuous contact)[3]


อ้างอิง