ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลื่อน พงษ์โสภณ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 4273878 สร้างโดย 223.204.33.209 (พูดคุย)
2T (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 71: บรรทัด 71:
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:11, 15 กันยายน 2555

นาวาอากาศเอกเลื่อน พงษ์โสภณ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 2 สมัย และ ส.ส.นครราชสีมา 6 สมัย

ประวัติเบื้องต้น

เป็นบุตรของ ขุนเชี่ยวหัสดิน (เถา) และ นางแฉ่ง เกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 ตรงกับปีจอ เดือน ๖ แรม ๔ ค่ำ บิดามารดามีอาชีพค้าขายเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือนซึ่งเรียกกันว่า "ร้านจำหน่ายของสยาม" และเป็นเจ้าของโรงเลื่อย

เมื่อยังเด็ก เริ่มเรียนหนังสือเมื่ออายุได้ 6 ขวบที่โรงเรียนใกล้ ๆ บ้าน คือ โรงเรียนอรพินท์ เมื่อจบประถม มารดา นำไปฝากเรียนที่วัดรังษี เพื่อให้พระช่วยอบรมสั่งสอนในเรื่องศีลธรรมจรรยา เนื่องจากดื้อมากถูกบิดาเฆี่ยนตีทุกวันแต่ไม่เข็ดหลาบ ต่อมามารดาได้ตั้งใจว่าจะให้เรียนกฎหมาย แต่ น.อ.เลื่อน อยากจะเป็นทหาร จึงได้ไปสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อใกล้จะสำเร็จการศึกษาพอดีเกิด สงครามโลกครั้งที่ 1 ทางราชการได้ประกาศรับสมัครทหารอาสาไปทำการรบที่ประเทศฝรั่งเศส ด้วยความกระตือรือร้นอยากจะไปแสวงหาความรู้ในต่างประเทศจึงลาออกจากโรงเรียนนายร้อยไปสมัครเป็นทหารอาสายศเป็นสิบโทและได้เดินทางไปประเทศฝรั่งเศส สมความปรารถนาระหว่างนั้นทางราชการได้ประกาศให้ทุนผู้สนใจเข้าศึกษาวิชาเครื่องยนต์ต่อที่ปารีส จึงสมัครสอบปรากฏว่าสอบได้ที่ 1 ได้รับทุนเรียนด้านเครื่องยนต์จนจบหลักสูตรที่และได้กลับมาเปิดสอนวิชาเครื่องยนต์ในเมืองไทยเป็นคนแรก

ศึกษาต่อต่างประเทศและการบิน

เมื่อปี พ.ศ. 2473 ได้รับพระราชทานทุนส่วนพระองค์จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไปศึกษาวิชาการบินที่ Parks Ais College ใน East St.Louis รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 3 ปี และในระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้น น.อ. เลื่อนได้รับจ้างแสดงการผาดโผนต่าง ๆ บนเครื่องบินที่กำลังบินอยู่ เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมจึงได้เดินทางไปแสดงในรัฐต่าง ๆ หลายแห่งสามารถเก็บเงินซื้อเครื่องบินส่วนตัวได้ 1 เครื่อง ในราคา 6,000 บาท ให้ชื่อว่าเครื่องบินนางสาวสยาม หรือ Miss Siam ซึ่งเมื่อกลับเมืองไทยได้พยายามใช้เป็นพาหนะบินกลับมาด้วยตนเอง

ก่อนที่จะได้ทำงานใน Aerial Transport Company น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ ต้องว่างงานอยู่ 1 ปีเต็ม เนื่องจากหน่วยบินต่าง ๆ ยังไม่เชื่อความสามารถ จึงมีความคิดว่าจะต้องพิสูจน์ให้ดูก่อนโดยขอพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว บินไปเชื่อมความสัมพันธ์ที่ประเทศจีนซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนฝูงช่วยกันเรี่ยไรเงินให้เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางครั้งนี้ 2,000 บาท เริ่มออกเดินทาง เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ด้วยเครื่องบินนางสาวสยาม ซึ่งเป็นเครื่องบินปีกสองชั้น ในระหว่างการเดินทาง ไปประเทศจีนนั้น ได้พบอุปสรรคมากมาย เช่น เครื่องบินเสียต้องร่อนลงซ่อมเครื่องเองแวะลงที่ไหนก็ถูกทหารเมืองนั้นจับกุมมีความลำบากในเรื่องอาหารการกินและที่พักหลับนอน บางแห่งไม่มีสนามบินต้องร่อนลงที่โล่งกว้าง เช่น สนามฟุตบอลแทน ในช่วงที่บินผ่านมณฑลกวางตุ้งถูกเรือรบใช้ปืนยิงเครื่องบินทะลุ เพราะเข้าใจว่าเป็นเครื่องบินของฝ่ายตรงข้ามที่กำลังทำสงครามแย่งอำนาจกันอยู่ในขณะนั้น จึงต้องร่อนลงที่ชายหาดและใช้ปฏิภาณตลอดจนความรู้เรื่องช่างเครื่องยนต์มาแก้ปัญหา เอาตัวรอดมาได้อย่าหวุดหวัดจนบินไปถึงซัวเถา แวะพัก 2 คืน ไม่สามารถบินต่อไปจนถึงเซี่ยงไฮ้ได้ เนื่องจากมีการสู้รบระหว่างจีนกับญี่ปุ่นที่เซี่ยงไฮ้ จึงต้องบินเดินทางกลับ

เมื่อกลับถึงไทยแล้ว น.อ.เลื่อนได้ขนเครื่องบินนางสาวสยามจากดอนเมืองกลับไปไว้ที่บ้านบางขุนพรหม เพราะไม่มีเงินเสียค่าจอดในโรงเก็บเดือนละ 50 บาท และจะบินไปไหนก็ไม่ได้ถ้าจะทำการบินต้องขออนุญาตทุกครั้งไป และจะบินให้ไกลกว่า 50 ไมล์ ก็ไม่ได้ จะบินได้ก็รอบ ๆ สนามบินเท่านั้น เมื่อมีเรื่องยุ่งยาก ดังนี้จึงไม่คิดจะบินอีกต่อไป

การเมือง

น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ ได้เข้าทำงานในบริษัท Aerial Transport Companyในปีต่อมา ระหว่างที่ทำงานอยู่บริษัท Aerial Transport Companyที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นระยะของการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้คุยกับเพื่อน ๆ เรื่องการเมืองจึงเกิดมีความสนใน เพราะคิดวาจะได้มีโอกาสช่วยประเทศชาติในด้านนี้จึง คิดสมัครผู้แทนซึ่งสมัครโดยไม่ตั้งใจเพราะมีทุนรอนน้อย แต่บังเอิญได้รับเลือกตั้งในเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดนครราชสีมาจึงได้เปลี่ยนวิถีชีวิตมาเล่นการเมือง โดยลาออกจากงานตั้งแต่นั้นมาและได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ถึง 6 สมัย เป็นเวลาประมาณ 25 ปี โดยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ในเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2490 น.อ.เลื่อน ได้ร่วมกับคณะนายทหารทำการรัฐประหารด้วย

เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 2 สมัย ในรัฐบาลพันตรีควง อภัยวงศ์ และ สมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม

นอกจากนี้ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการองค์การน้ำตาลไทย เป็นเวลา 10 ปี ได้รับพระราชทานยศเป็น นาวาอากาศเอก เมื่อปี พ.ศ. 2500

บั้นปลายชีวิต

หลังจากครบเกษียณอายุราชการแล้ว น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ ได้ใช้เวลาว่างเดินทางไปต่างประเทศเป็นครั้งคราว และได้ไปศึกษาวิชาการพิมพ์ลายผ้าที่สหรัฐอเมริกาจนจบหลักสูตร มีความตั้งใจจะทำโรงพิมพ์ผ้าลายไทยในประเทศไทย แต่สุขภาพไม่เอื้ออำนวยจึงยุติไป

น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ เสียชีวิตอย่างสงบในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมอายุได้ 80 ปี จากโรคแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่อมลูกหมาก คือ เส้นเลือดในสมองตีบ

ชีวิตส่วนตัว เป็นผู้ที่มีบุคคลิกพูดตรงไปตรงมา อาจทำให้ดูขวานผ่าซาก แต่เป็นผู้ที่มีความจริงใจกับคนรอบด้าน ชอบช่วยเหลือบุคคลรอบด้านที่ทุกข์ยาก ชอบเครื่องยนตร์กลไลทุกชนิด ชีวิตครอบครัว สมรสกับ คุณหญิงสุเนตร (นามสกุลเดิม บุญญสิทธิ์ ) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 มีบุตร ธิดารวมกัน 3 คน คือ

1. นางสาว ทิพยาภรณ์ พงษ์โสภณ 2. นางผานิต พูนศิริวงศ์ สมรสกับ นายวาริณ พูนศิริวงษ์ 3. นายเลิศชาย พงษ์โสภณ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น