ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พีชคณิตแบบบูล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JAnDbot (คุย | ส่วนร่วม)
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต แก้ไข: nl:Boolese algebra
บรรทัด 124: บรรทัด 124:
[[lt:Būlio algebra]]
[[lt:Būlio algebra]]
[[mk:Булова алгебра]]
[[mk:Булова алгебра]]
[[nl:Booleaanse algebra]]
[[nl:Boolese algebra]]
[[no:Boolsk algebra]]
[[no:Boolsk algebra]]
[[pl:Algebra Boole'a]]
[[pl:Algebra Boole'a]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:52, 13 กันยายน 2555

ใน คณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ พีชคณิตแบบบูล, พีชคณิตบูลีน หรือ แลตทิซแบบบูล (อังกฤษ: Boolean algebra) คือ โครงสร้างเชิงพีชคณิตซึ่งเป็นการรวบรวมแก่นความหมายของการดำเนินการทางตรรกศาสตร์ ทฤษฏีเซต โดยชื่อพีชคณิตแบบบูลนั้นตั้งตาม จอร์จ บูลผู้พัฒนาพีชคณิตแบบนี้

ประวัติ

จอร์จ บูล นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัย College Cork ผู้ที่นิยามพีชคณิตดังกล่าวขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางตรรกศาสตร์ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 พีชคณิตแบบบูลนำเทคนิคทางพีชคณิตมาใช้กับนิพจน์ในตรรกศาสตร์เชิงประพจน์ ในปัจจุบันพีชคณิตแบบบูลได้ถูกนำไปประยุกต์อย่างแพร่หลายในการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่นำไปใช้คนแรกคือคลาวด์ อี. แชนนอน นักวิทยาศาสตร์แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell Laboratory) ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยนำมาใช้ในการวิเคราะห์วงจรเน็ทเวิร์คที่ทำงานต่อกันหลาย ๆ ภาค เช่น วงจรของโทรศัพท์ เป็นต้น เมื่อมีการพัฒนาวงจร คอมพิวเตอร์ขึ้นก็ได้มีการนำเอาพีชคณิตบูลีนมาใช้ในการคำนวณ ออกแบบ และอธิบายสภาวะการทำงานของสถานะวงจรภายในระบบคอมพิวเตอร์ โดยพีชคณิตบูลีนเป็นพื้นฐานสำคัญในการออกแบบวงจรตรรกของระบบดิจิตอล

นิยาม

พีชคณิตแบบบูล คือ เซต A ที่ประกอบด้วยการดำเนินการทวิภาค คือ (AND) กับ (OR) , การดำเนินการเอกภาค คือ / ~ (NOT) และสมาชิกคือ 0 (FALSE) กับ 1 (TRUE) ซึ่งสำหรับสมาชิก a, b และ c ของเซต A จะมีคุณสมบัติเป็นไปตามสัจพจน์เหล่านี้

สมบัติของ สมบัติของ ชื่อเรียก
การเปลี่ยนหมู่
การสลับที่
absorption
การแจกแจง
ส่วนเติมเต็ม

สำหรับสมาชิก a และ b ใน A มันจะมีเอกลักษณ์ดังต่อไปนี้

สมบัติของ สมบัติของ ชื่อเรียก
นิจพล (idempotency)
มีขอบเขต (boundedness)
0 และ 1 เป็นส่วนเติมเต็มกัน
กฎเดอมอร์แกน (de Morgan's laws)
อวัตนาการ (involution)

ตัวดำเนินการของบูลในรูปแบบต่างๆ

ตัวดำเนินการของบูล
ตรรกศาสตร์ ทฤษฏีเซต วงจรดิจิตอล
(เอกภพสัมพัทธ์)
(เซตว่าง)

การนำไปใช้

  • เรานำพีชคณิตแบบบูลไปใช้ในตรรกศาสตร์ได้ โดยตีความให้ 0 หมายถึง เท็จ, 1 หมายถึง จริง, ∧ แทนคำว่า และ, ∨ แทนคำว่า หรือ, และ ¬ แทนคำว่า ไม่

แม่แบบ:Link GA