ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จื๋อโกว๊กหงือ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
RedBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต แก้ไข: ko:꾸옥응으
Minsbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต แก้ไข: simple:Vietnamese alphabet
บรรทัด 101: บรรทัด 101:
[[pl:Alfabet wietnamski]]
[[pl:Alfabet wietnamski]]
[[ru:Куокнгы]]
[[ru:Куокнгы]]
[[simple:Quốc Ngữ]]
[[simple:Vietnamese alphabet]]
[[sl:Vietnamska abeceda]]
[[sl:Vietnamska abeceda]]
[[sv:Quoc ngu]]
[[sv:Quoc ngu]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:29, 11 กันยายน 2555

อักษรโกว๊กหงือ (เวียดนาม: Quốc Ngữ) หรืออักษรประจำชาติ ใช้ในการเขียนภาษาเวียดนามอย่างเป็นทางการ อักษรโกว๊กหงือเป็นอักษรละตินที่เพิ่มเติมเครื่องหมายต่างๆ เข้ามาเพื่อให้มีอักษรเพียงพอที่จะใช้เขียนภาษา อักษรดังกล่าวถูกคิดค้นขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยอาเลกซ็องดร์ เดอ โรดส์ ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนา โดยมีรากฐานมาจากระบบที่มิชชันนารีชาวโปรตุเกสคิดไว้ก่อนหน้านั้น ในระหว่างที่เวียดนามยังเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสนั้น อักษรโกว๊กหงือได้เป็นอักษรราชการของอาณานิคม ซึ่งได้ทำให้อักษรดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ

อักษรโกว๊กหงือในปัจจุบันมีรูปแบบการเขียนที่อ้างอิงการออกเสียงของภาษาถิ่นเวียดนามกลาง ซึ่งสระและพยัญชนะท้ายจะคล้ายคลึงกับภาษาถิ่นเหนือ ส่วนพยัญชนะต้นจะคล้ายกับภาษาถิ่นใต้

ก่อนที่ฝรั่งเศสจะเข้ามายังเวียดนามนั้น ภาษาเวียดนามมีระบบการขียนสองแบบ ซึ่งทั้งสองแบบก็มีที่มาจากอักษรจีนเช่นเดียวกัน คือ

อักษร

  • a ~ /-า/
  • â ~ /เ-อะ/
  • ă ~ /ะ/
  • b ~ /บ/
  • c ~ /ก/
  • ch ~ /จ/
  • d ~ /ซ/
  • đ ~ /ด/
  • e ~ /แ-/
  • ê ~ /เ-/
  • g (gh) ~ /ก/เสียงหนัก
  • i ~ /-ิ/
  • k ~ /ก/
  • kh ~ /ค/ หรือ /ฅ/ ในภาษาไทยโบราณ
  • l ~ /ล/
  • m ~ /ม/
  • n ~ /น/
  • ng (ngh) ~ /ง/
  • nh ~ /ย+ง/ หรือ /ญ/ ในภาษาไทยโบราณ ไทยถิ่นเหนือหรืออีสาน
  • o ~ /-อ/
  • ô ~ /โ-/
  • ơ ~ /เ-อ/
  • p ~ /ป/
  • ph ~ /ฟ/
  • q ~ /ก/ ใช้คู่กับ u เป็น qu ออกเสียงคล้าย /กว-/
  • r ~ /ซ'+ร์/ (คล้าย /ซ/ เสียงหนักม้วนลิ้นควบกับเสียงคล้าย /r/ ในภาษาอังกฤษ)
  • s ~ /ซ/ ม้วนลิ้น คล้ายเสียง sh ในภาษาจีน
  • t ~ /ต/
  • th ~ /ท/
  • u ~ /-ู/
  • ư ~ /-ือ/
  • v ~ /ว+ฟ/ คล้ายเสียง /v/ ในภาษาอังกฤษ
  • x ~ /ซ/
  • y ~ /ย/

อักษรโกว๊กหงือที่ใช้ส่วนใหญ่ ออกเสียงคล้ายในภาษาอังกฤษ ยกเว้นอักษรต่อไปนี้

  • "ph" คล้าย "ฟ"
  • ชนบทภาคใต้ "v" ออกเสียงคล้าย "ย" (สำเนียงฮานอย และภาคใต้มาตรฐาน "v" ออกเสียงเหมือน "v" ในภาษาอังกฤษ)
  • "đ" คล้ายเสียง /d/ ในภาษาฝรั่งเศสหรือสเปน คล้าย "ด" ส่วน อักษร "d" คล้าย "ซ"
  • "t" คล้ายเสียง "ต"
  • "th" ออกเสียง "ท, ถ"
  • "x" ออกเสียงคล้าย "ส"
  • สำเนียงฮานอย อักษร "d" ออกเสียงคล้าย "z" ในภาษาอังกฤษ แต่สำเนียงไซง่อน ออกเสียงคล้าย "ย"
  • "ch" คล้าย "จ"
  • "nh" คล้าย "ญ" ในภาษาถิ่นเหนือ หรืออีสาน
  • "c" คล้าย "ค"
  • "kh" คล้าย "ch" ในภาษาสกอตหรือเยอรมัน หรือ "kh" ในภาษาอาหรับหรือเปอร์เซีย
  • "g" คล้าย "g" ภาษาดัตช์ หรือ กรีกปัจจุบัน "gh" (Γ)
  • สำหรับ "gi" ของเวียดนามนั้น สำเนียงฮานอย ออกเสียงคล้าย "z" ในภาษาอังกฤษ แต่สำเนียงไซ่ง่อน ออกเสียงคล้าย "จ"
  • "ng" ออกเสียงคล้าย " ง"
  • "tr" คล้าย "จ" หรือ "ทร"
  • "s" ออกเสียงคล้าย "sh" ในภาษาอังกฤษ (สำเนียงฮานอย "s" ออกเสียงคล้าย "ส")
  • "qu" สำเนียงไซ่งอน ออกเสียงคล้าย "ว" (สำเนียงฮานอย "qu" ออกเสียง "คว")
  • "r" สำเนียงไซ่ง่อน ออกเสียงหลากหลาย เช่น
    • 1) "j" ในภาษาฝรั่งเศส หรือ
    • 2) "r" ในภาษาสเปน หรือ
    • 3) "rr" (ร รัวลิ้น) ในภาษาสเปน (สำเนียงฮานอย "r" เหมือนกับ "z" ในภาษาอังกฤษ)

การเทียบเสียงนี้ เป็นการเทียบโดยประมาณเท่านั้น และไม่อาจเทียบกับเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ โดยเฉพาะสำเนียงทางใต้

วรรณยุกต์

  • – คล้ายเสียงสามัญ (ไม่เติมเครื่องหมาย)
  • á คล้ายเสียงตรีหรือจัตวา
  • à คล้ายเสียงเอก
  • ã คล้ายเสียงตรีโดยแบ่งเสียงเป็น 2 ช่วง
  • ả คล้ายเสียงจัตวาต่ำ
  • ạ คล้ายเสียงเอก เสียงสั้น