ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รำวงมาตรฐาน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Akkhaporn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 55: บรรทัด 55:
=== เพลงบูชานักรบ ===
=== เพลงบูชานักรบ ===
'''ท่ารำ''' :<br />
'''ท่ารำ''' :<br />
::''เที่ยวที่ 1'' หญิง ขัดจางนาง , ชาย จันทร์ทรงกรด<br />
::''เที่ยวที่ 1'' หญิง ขัดจางนาง , ชาย จันทร์ทรงกลด<br />
::''เที่ยวที่ 2'' หญิง ล่อแก้ว , ชาย ขอแก้ว<br />
::''เที่ยวที่ 2'' หญิง ล่อแก้ว , ชาย ขอแก้ว<br />



รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:52, 8 กันยายน 2555

รำวงมาตรฐาน หมายถึง ศิลปะแห่งการฟ้อนรำให้เข้ากับจังหวะหน้าทับ ใช้ท่ารำที่เป็นแบบฉบับมาตรฐานโดยรำเป็นวงกลม หันหน้าทวนเข็มนาฬิกา การรำวงมาตรฐานเป็นการรำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยการดูแลของกรมศิลปากรร่วมกับ กรมประชาสัมพันธ์ช่วยกันจัดทำขึ้น เพื่อให้เป็นแบบแผนในการใช้ท่ารำให้งดงามถูกต้องตามหลักนาฏศิลป์ไทย

ในปัจจุบันนี้เป็นศิลปะแห่งการรำวงที่งดงาม ซึ่งในสมัยก่อนยังมิได้มีคำว่า "มาตรฐาน" จะเรียกกันเพียงว่า "รำวง" เท่านั้น การรำวงนี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งที่บ่อบอกถึงความสนุกสนาน การเล่นรำวงนั้นสืบเนื่องมาจากการเล่นรำโทน นั้นเพราะในสมัยก่อนเครื่องดนตรีหลักที่ใช้ประกอบจังหวะก็คือ โทน ฉิ่ง และกรับ


การแต่งกาย

การแต่งกายมีการกำหนดการแต่งกายของผู้แสดง ให้มีระเบียบด้วยการใช้ชุดไทย และชุดสากลนิยมโดยแต่งเป็นคู่ ๆ รับกันทั้งชายและหญิง สามารถแต่งได้ 4 แบบ คือ

แบบที่ 1 แบบชาวบ้าน

ชาย : นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อคอพวงมาลัย เอวคาดผ้าห้อยชายด้านหน้า
หญิง : นุ่งโจงกระเบน ห่มผ้าสไบอัดจีบ ปล่อยผม ประดับดอกไม้ที่ผมด้านซ้าย คาดเข็มขัดใส่เครื่องประดับ

แบบที่ 2 แบบราชกาลที่ 5

ชาย นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อคด ราชปะแตน ใส่ถุงเท้า รองเท้า
หญิง นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อลูกไม้ สไบพาดบ่าผูกเป็นโบว์ ทิ้งชายไว้ข้างลำตัวด้านซ้าย ใส่เครื่องประดับมุก

แบบที่ 3 แบบสากลนิยม

ชาย นุ่งกางเกง สวมสูท ผูกไท้
หญิง นุ่งกระโบรงป้ายข้าง ยาวกรอมเท้า ใส่เสื้อคอกลม แขนกระบอก

แบบที 4 แบราตรีสโมสร

ชาย นุ่งกางเกง สวมเสื้อพระราชทาน ผ้าคาดห้อยจากด้านหน้า
หญิง นุ่งกระโปรงยาวจีบหน้านาง ใส่เสื้อจับเดรป ชายผ้าห้อยจากบ่าลงไป ทางด้านหลัง เปิดไหล่ขวา ศีรษะทำผมเกล้าเป็นมวยสูง ใส่เกียว และ เครื่องประดับ

เพลงมาตรฐาน

เพลงงามแสงเดือน

ท่ารำ : สอดสร้อยมาลา (ช/ญ)

เพลงชาวไทย

ท่ารำ : ท่าชักแป้งผลัดหน้า (ช/ญ)

เพลงรำมาซิมารำ

ท่ารำ : รำส่าย (ช/ญ)

เพลงคืนเดือนหงาย

ท่ารำ : สอดสร้อยมาลาแปลง (ช/ญ)

เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ

ท่ารำ : แขกเต้าเข้ารัง , ผาลาเพียงไหล่ (ช/ญ)

เพลงดอกไม้ของชาติ

ท่ารำ : รำยั่ว (ช/ญ)

เพลงหญิงไทยใจงาม

ท่ารำ : พรหมสี่หน้า , ยูงฟ้อนหาง (ช/ญ)
ท่าเชื่อม : มือทั้งสองจีบคว่ำระดับวงกลาง

เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า

ท่ารำ : ช้างประสานงา , จันทร์ทรงกลดแปลง (ช/ญ)

เพลงยอดชายใจหาญ

ท่ารำ : หญิง ชะนีร่ายไม้ ชาย จ่อเพลิงกาฬ

เพลงบูชานักรบ

ท่ารำ :

เที่ยวที่ 1 หญิง ขัดจางนาง , ชาย จันทร์ทรงกลด
เที่ยวที่ 2 หญิง ล่อแก้ว , ชาย ขอแก้ว

ดูเพิ่ม