ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การผังเมือง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Lsd.architecture (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''การผังเมือง''' หรือ '''การวางแผนชุมชนเมือง''' เป็นศาสตร์หนึ่ง เกี่ยวข้องกับสหสาขาวิชา เช่น การวางแผน [[กฎหมาย]] [[สถาปัตยกรรม]] [[สังคมศาสตร์]] [[เศรษฐศาสตร์]] [[สิ่งแวดล้อม]] [[วิศวกรรมจราจร]] เพื่อเป็นการกำหนดนโยบาย กฎหมาย เกณฑ์ ระเบียบ การจัดวางผังและแผนการใช้พื้นที่ของเมือง ชุมชน โครงข่ายการจราจร
'''การผังเมือง''' หรือ '''การวางแผนชุมชนเมือง''' ({{lang-en|Urban planning}}) เป็นศาสตร์หนึ่ง เกี่ยวข้องกับสหสาขาวิชา เช่น การวางแผน [[กฎหมาย]] [[สถาปัตยกรรม]] [[สังคมศาสตร์]] [[เศรษฐศาสตร์]] [[สิ่งแวดล้อม]] [[วิศวกรรมจราจร]] เพื่อเป็นการกำหนดนโยบาย กฎหมาย เกณฑ์ ระเบียบ การจัดวางผังและแผนการใช้พื้นที่ของเมือง ชุมชน โครงข่ายการจราจร


ผู้จัดทำผังเมือง เรียกว่า [[นักผังเมือง]] การวางผังเมืองมีหลายระดับ ตั้งแต่ [[ผังชุมชน]] [[ผังเมืองเฉพาะ]] [[ผังเมืองรวม]] [[ผังภาค]] จนถึง[[ผังประเทศ]] โดยมีความละเอียดของการวางแผนที่ต่างกัน จากการออกแบบกายภาพ การใช้ที่ดิน(กำหนดโดยการใช้สี เช่น สีแดง หมายถึงย่านพานิชยกรรม สีเหลือง หมายถึงที่พักอาศัยหนาแน่นน้อย เป็นต้น) ความหนาแน่น โครงข่าย/[[ระบบจราจรและขนส่ง]] หรือพื้นที่สีเขียว/[[สวนสาธารณะ]] มักมีประกาศกฎเกณฑ์ประกอบแผนในรูปกฎหมายประกอบอยู่ด้วย
ผู้จัดทำผังเมือง เรียกว่า [[นักผังเมือง]] การวางผังเมืองมีหลายระดับ ตั้งแต่ [[ผังชุมชน]] [[ผังเมืองเฉพาะ]] [[ผังเมืองรวม]] [[ผังภาค]] จนถึง[[ผังประเทศ]] โดยมีความละเอียดของการวางแผนที่ต่างกัน จากการออกแบบกายภาพ การใช้ที่ดิน(กำหนดโดยการใช้สี เช่น สีแดง หมายถึงย่านพานิชยกรรม สีเหลือง หมายถึงที่พักอาศัยหนาแน่นน้อย เป็นต้น) ความหนาแน่น โครงข่าย/[[ระบบจราจรและขนส่ง]] หรือพื้นที่สีเขียว/[[สวนสาธารณะ]] มักมีประกาศกฎเกณฑ์ประกอบแผนในรูปกฎหมายประกอบอยู่ด้วย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:42, 3 กันยายน 2555

การผังเมือง หรือ การวางแผนชุมชนเมือง (อังกฤษ: Urban planning) เป็นศาสตร์หนึ่ง เกี่ยวข้องกับสหสาขาวิชา เช่น การวางแผน กฎหมาย สถาปัตยกรรม สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมจราจร เพื่อเป็นการกำหนดนโยบาย กฎหมาย เกณฑ์ ระเบียบ การจัดวางผังและแผนการใช้พื้นที่ของเมือง ชุมชน โครงข่ายการจราจร

ผู้จัดทำผังเมือง เรียกว่า นักผังเมือง การวางผังเมืองมีหลายระดับ ตั้งแต่ ผังชุมชน ผังเมืองเฉพาะ ผังเมืองรวม ผังภาค จนถึงผังประเทศ โดยมีความละเอียดของการวางแผนที่ต่างกัน จากการออกแบบกายภาพ การใช้ที่ดิน(กำหนดโดยการใช้สี เช่น สีแดง หมายถึงย่านพานิชยกรรม สีเหลือง หมายถึงที่พักอาศัยหนาแน่นน้อย เป็นต้น) ความหนาแน่น โครงข่าย/ระบบจราจรและขนส่ง หรือพื้นที่สีเขียว/สวนสาธารณะ มักมีประกาศกฎเกณฑ์ประกอบแผนในรูปกฎหมายประกอบอยู่ด้วย

ในประเทศไทยหน่วยงานของรัฐฯที่เป็นองค์กรหลักในการจัดทำผังเมืองคือ กรมโยธาธิการและผังเมือง ส่วนกรุงเทพมหานครได้รับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กำหนดให้มีหน่วยงานที่ดูแลจัดทำผังเมืองของตนเอง คือ สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร

ได้มีการกำหนดให้วันที่ 8 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น "วันผังเมืองโลก" (World Town Planning Day) โดยมีองค์กรหลักที่เกี่ยวข้องคือ The International Society of City and Regional Planners (IsoCaRP) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ The America Institute of Certified Planners (AICP) เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการวางผังเมืองนานาชาติ

ผังเมืองในประเทศไทย

นักผังเมือง ในประเทศไทย ขึ้นอยู่กับ 2 สมาคมวิชาชีพ คือ สมาคมนักผังเมืองไทย(Thai City Planners Society-TCPS) และสมาคมสถาปนิกชุมชนเมืองไทย (Association of Thai Urban Designers - TUDA) ปัจจุบันสมาคมสถาปนิกชุมชนเมืองไทยเป็นส่วนหนึ่งของสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ในสภาสถาปนิก วิชาชีพผังเมืองจึงเป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัติสถาปนิก ดังจะเห็นได้จาก กฎกระทรวงว่าด้วยวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมฯ ปี 2549[1])ที่ระบุว่างานสถาปัตยกรรมผังเมืองควบคุมได้แก่ พื้นที่ที่มีการบังคับใช้ผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ, งานจัดรูปที่ดิน, การจัดสรรที่ดิน, งานอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม, งานในพื้นที่เขตเพลิงไหม้และเขตภัยพิบัติ, นิคมอุตสาหกรรม, กลุ่มอาคารขนาดใหญ่-ใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะ อาคารสูง อาคารพิเศษ พื้นที่รวมกัน 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป

เดิมวิชาผังเมืองเปิดเป็นหลักสูตรสอนในระดับปริญญาโท (บัณฑิตวิทยาลัย) เริ่มครั้งแรกที่ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เน้นการวางแผนและนโยบายในภาพกว้างบัณฑิตจากทุกสาขาสามารถเข้าเรียนได้ และ ต่อมา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เปิดสอนที่หลักสูตรปริญญาโท สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีสถาปัตยกรรมและการออกแบบกายภาพอื่นๆ ที่ ภาควิชาการออกแบบชุมชนเมือง และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน สาขาวิชาการผังเมืองโดยได้รับปริญญาการผังเมืองมหาบัณฑิตโดยตรง ในปัจจุบันมีหลักสูตรการออกแบบชุมชนเมืองปัจจุบันได้ทำการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีในหลายมหาวิทยาลัยอาทิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน สาขาวิชาการผังเมืองโดยได้รับปริญญาการผังเมืองบัณฑิตโดยตรง และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเมืองและชุมชนด้วย และในเร็ว ๆ นี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะดำเนินการเปิดสอนในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาการผังเมืองโดยตรงอีกด้วย

อ้างอิง

  • Urban Development: The Logic Of Making Plans, Lewis D. Hopkins, Island Press, 2001. ISBN 1-55963-853-2
  • Readings in Planning Theory, Susan Fainstein and Scott Campbell, Oxford, England and Malden, Massachusetts: Blackwell Publishers, 2003.
  • Urban Planning Theory since 1945, Nigel Taylor, London, Sage, 2007

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA