ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทัศน์สุดท้ายของอังกฤษ (บราวน์)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
Robbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: it:L'ultimo sguardo all'Inghilterra
บรรทัด 49: บรรทัด 49:
[[de:The Last of England (Gemälde)]]
[[de:The Last of England (Gemälde)]]
[[en:The Last of England (painting)]]
[[en:The Last of England (painting)]]
[[it:L'ultimo sguardo all'Inghilterra]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:43, 30 สิงหาคม 2555

ทัศน์สุดท้ายของอังกฤษ
ศิลปินฟอร์ด แมดด็อกซ บราวน์
ปีค.ศ. 1855
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนไม้
สถานที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะ, เบอร์มิงแฮม, สหราชอาณาจักร
ภาพศึกษาในหัวข้อเดียวกันอีกภาพหนึ่ง

ทัศน์สุดท้ายของอังกฤษ (อังกฤษ: The Last of England) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันบนไม้ที่เขียนโดยฟอร์ด แมดด็อกซ บราวน์ (Ford Madox Brown) จิตรกรสมัยพรีราฟาเอลไลท์ชาวอังกฤษ ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่เมืองเบอร์มิงแฮมในสหราชอาณาจักร

ฟอร์ด แมดด็อกซ บราวน์เขียนภาพ “ทัศน์สุดท้ายของอังกฤษ” ในปี ค.ศ. 1855 เป็นภาพของผู้อพยพสองคนที่กำลังออกจากอังกฤษเพื่อไปตั้งรกรากในต่างประเทศ

เบื้องหลัง

บราวน์เริ่มเขียนภาพนี้ในปี ค.ศ. 1852 หลังจากที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเพื่อนสนิททอมัส วูลเนอร์ (Thomas Woolner) ประติมากรพรีราฟาเอลไลท์ผู้เพิ่งออกเดินทางในเดือนกรกฎาคมในปีเดียวกันเพื่อไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในออสเตรเลีย การอพยพจากอังกฤษถึงจุดสูงสุดเมื่อประชากรกว่า 350,000 คนอพยพออกจากอังกฤษในปีนั้น บราวน์ผู้ถือตนเองว่าเป็นผู้อดทนและออกจะวิปริตเล็กน้อยก็ตรึกตรองว่าจะไปเริ่มชีวิตใหม่ในอินเดียอยู่เช่นกัน

ภาพเขียน

แม้ว่าฟอร์ด แมดด็อกซ บราวน์จะไม่เคยเป็นสมาชิกของกลุ่มพรีราฟาเอลไลท์ แต่ภาพ “ทัศน์สุดท้ายของอังกฤษ” ก็เช่นเดียวกับภาพเขียนอื่นๆ อีกหลายภาพของบราวน์ก็แสดงลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปะพรีราฟาเอลไลท์ ภาพเขียนเป็นภาพสามีภรรยาผู้กำลังจะเดินทางออกจากอังกฤษเป็นครั้งสุดท้าย บุคคลหลักสองคนในภาพเป็นภาพเหมือนของบราวน์เองและภรรยาเอ็มมาจ้องตรงไปข้างหน้าด้วยสายตาที่ปราศจากความรู้สึก ไม่ได้หันไปสนใจกับผาขาวแห่งโดเวอร์ (white cliffs of Dover) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สิ่งแรกที่เห็นที่เป็นอังกฤษที่เริ่มจะจะลับสายตาไปทางตอนบนขวาของภาพ จากการแต่งกายทำให้ทราบได้ว่าเป็นชนชั้นกลาง ฉะนั้นจึงไม่ได้อพยพจากอังกฤษด้วยเหตุผลที่กดดันทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกับชนชั้นแรงงานอื่นๆ บราวน์บรรยายว่า:

ผู้มีการศึกษามีความผูกมัดต่อประเทศด้วยเหตุผลที่ต่างไปจากผู้ขาดการศึกษา ผู้ความคำนึงหลักอยู่ที่ความอยู่รอดและความสบายกาย

เด็กผมสีอ่อนในฉากหลังข้างหลังไหล่ชายทีนั่งข้างหน้าชื่อแคทเธอรินเป็นลูกของบราวน์ ผู้ที่เกิดในปีค.ศ. 1850 ส่วนมือของทารกที่เอ็มมากุมอยู่เป็นมือของโอลิเวอร์ลูกคนที่สอง

เพื่อจะให้ภาพเขียนแสดงถึงสภาวะที่ตรากตรำบราวน์เขียนภาพนี้ในสวนนอกบ้าน ยิ่งอากาศไม่ดีเท่าไหร่บราวน์ก็ยิ่งมีความพอใจมาขึ้นเท่านั้น จนถึงกับบันทึกความรู้สึกเมื่อมือเย็นจนซีดขาว ที่บราวน์ต้องการจะให้ปรากฏในภาพ เพื่อนบ้านมีความเห็นว่าบราวน์เป็นคนที่ออกจะแปลกโดยเฉพาะเมื่อไปนั่งเขียนภาพนอกบ้านในสภาวะอากาศต่างๆ

ภาพนี้มีด้วยกันสองภาพๆ หนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่เมืองเบอร์มิงแฮม อีกภาพหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ฟิทซ์วิลเลียมที่เคมบริดจ์ ภาพเขียนสีน้ำที่เขียนจากภาพนี้ระหว่างปี ค.ศ. 1864–ค.ศ. 1866 อยู่ที่เททบริเตน นอกจากนั้นก็ยังมีภาพอื่นที่เป็นภาพศึกษาของภาพนี้ ภาพทุกภาพเป็นจิตรกรรมทรงกลมแบบที่นิยมเขียนกันในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา

อ้างอิง

  • Stephen Farthing (Ed.) (2006). 1001 Paintings You Must See Before You Die. London: Quintet Publishing Ltd. ISBN 1-84403-563-8.
  • "Greatest Painting Vote". BBC. สืบค้นเมื่อ 28 December. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessyear= ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=) (help)

ดูเพิ่ม