ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลเมืองบุรีรัมย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.buriram (คุย | ส่วนร่วม)
Mr.buriram (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 306: บรรทัด 306:
{{commonscat|Transport in Buriram|การเดินทางในบุรีรัมย์}}
{{commonscat|Transport in Buriram|การเดินทางในบุรีรัมย์}}
===รถโดยสารประจำทาง===
===รถโดยสารประจำทาง===
[[ไฟล์:รูปภาพ1312.jpg|thumbnail|สายบุรีรัมย์-พุทไธสง]]
[[ไฟล์:Niwas Street 03.jpg|thumb|รถสองแถวสีชมพู สาย 1 ตลาดเทศบาล-เขากระโดง]]
[[ไฟล์:Niwas Street 03.jpg|thumb|รถสองแถวสีชมพู สาย 1 ตลาดเทศบาล-เขากระโดง]]
[[ไฟล์:Songthaew in Buriram.jpg|thumb|รถสองแถวสีชมพู สาย 2 สถานีขนส่ง-บ้านบัว]]
[[ไฟล์:Songthaew in Buriram.jpg|thumb|รถสองแถวสีชมพู สาย 2 สถานีขนส่ง-บ้านบัว]]
[[ไฟล์:รูปภาพ1315.jpg|thumbnail|รถสองแถวสีชมพู]]


[[เทศบาลเมืองบุรีรัมย์]] สามารถเดินทางติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงและติดต่อกันภายในจังหวัดได้สะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางเครื่องบิน ในเขตเทศบาลมีถนนเป็นเส้นทางคมนาคมหลักโดยส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และถนนแอสฟัลท์ติก
[[เทศบาลเมืองบุรีรัมย์]] สามารถเดินทางติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงและติดต่อกันภายในจังหวัดได้สะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางเครื่องบิน ในเขตเทศบาลมีถนนเป็นเส้นทางคมนาคมหลักโดยส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และถนนแอสฟัลท์ติก

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:35, 30 สิงหาคม 2555

เทศบาลเมืองบุรีรัมย์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Buri Ram Town Municipality
เมืองบุรีรัมย์ มองจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
เมืองบุรีรัมย์ มองจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
คำขวัญ: 
คูเมืองโบราณ ตำนานเล่าขาน อาหารเลิศรส งามงดประเพณี คนดีมีน้ำใจ
ประเทศ ไทย
จังหวัด[[จังหวัด{{{province}}}|{{{province}}}]]
อำเภอ{{{district}}}
พื้นที่
 • ทั้งหมด6 ตร.กม. (2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2551)
 • ทั้งหมด28,222 คน
 • ความหนาแน่น4,704 คน/ตร.กม. (12,180 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
เว็บไซต์http://www.buriramcity.go.th/index.php เทศบาลเมืองบุรีรัมย์
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร สถานศึกษา สถานพยาบาลและสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ทั้งหมด 6.0 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,750 ไร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 384 กิโลเมตร ทางรถไฟประมาณ 376 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ประวัติเทศบาล

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ไฟล์:สำนักงานเทศบาลเมืองบุรีรัมย์หลังใหม่.jpg
สำนักงานเทศบาลเมืองบุรีรัมย์
ไฟล์:หอนาฬิกาบุรีรัมย์ nightshot.jpg
หอนาฬิกาเมืองบุรีรัมย์

เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศักราช 2479 ซึ่งได้ตราขึ้นไว้ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2479 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ซึ่งมี พ.อ.พหลพลหยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 62 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2479

ต่อมาเมื่อท้องถิ่นเจริญขึ้น มีชุมชนอยู่หนาแน่นทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาลที่ต่อเนื่องกันสมควรปรับปรุงเขตเทศบาลเสียใหม่ เพื่อขยายเขตให้เทศบาลได้ปกครองและทะนุบำรุงท้องถิ่น จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2504 ลงวันที่ 30 เมษายน 2504 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการปัจจุบัน มีจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 78 ตอนที่ 40 วันที่ 9 พฤษภาคม 2504 มีเนื้อที่รวม 6.0 ตารางกิโลเมตร สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งหมดของอำเภอเมืองบุรีรัมย์

ตราสัญลักษณ์

เทศบาลเมืองบุรีรัมย์มีตราประจำเทศบาลเป็นรูปศีรษะช้าง และพานรัฐธรรมนูญซึ่งมีความหมายดังนี้ รูปศีรษะช้างชูพานรัฐธรรมนูญ เพราะในสมัยก่อนจังหวัดบุรีรัมย์เป็นป่าส่วนใหญ่ มีช้างเป็นจำนวนมาก และราษฎรได้จับช้างมาใช้ในงาน ช้างจึงเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญแก่ท้องถิ่นมาก ส่วนพานรัฐธรรมนูญ แสดงถึงเทศบาลเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ด้วยเหตุนี้เทศบาลจึงกำหนดดวงตราเป็นรูปศีรษะช้างชูพานรัฐธรรมนูญ

อาณาเขต

เทศบาลเมืองบุรีรัมย์มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียง ดังนี้

ด้านเหนือ

ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือห่างจากทางรถไฟสายอุบลราชธานี - นครราชสีมา ตรงหลัก กม.ที่ 375 ตามแนวเส้นตั้งฉาก 450 เมตร เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนพุทไธสงฟากตะวันออก ห่างจากทางรถไฟสายอุบลราชธานี - นครราชสีมา 650 เมตร

ด้านตะวันออก

จากหลักเขตที่ 2 เลียบตามถนนพุทไธสงฟางตะวันออกไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ 3 ?ซึ่งตั้งอยู่ริมทางรถไฟสายอุบลราชธานี - นครราชสีมา ฟากเหนือ จากหลักเขตที่ 3 เลียบตามทางรถไฟสายอุบลราชธานี - นครราชสีมา ฟากเหนือไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินสายบุรีรัมย์ - สตึก 380 เมตร จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางเข้าวัดอิสาณฟากใต้ ห่างจากคลองละลม ฝั่งตะวันออก 40 เมตร จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นขนานกับคลองละลมฝั่งตะวันออกไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากคลองละลมฝั่งใต้ไปทางทิศใต้ 40 เมตร

ด้านใต้

จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นขนานกับคลองละลมฝั่งใต้ไปทางทิศตะวันตก ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากคลองละลมฝั่งใต้ 40 เมตร จากหลักเขตที่ 7 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินสายบุรีรัมย์ - ประโคนชัย ฟากตะวันออก ตรงหลัก กม.ที่ 640 จากหลักเขตที่ 8 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตก ถึงหลักเขตที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางรถไฟสายบุรีรัมย์ - เขากระโดง ฟากตะวันตก ตรงริมลำห้วยจรเข้มาก ฝั่งเหนือ

ด้านตะวันตก

จากหลักเขตที่ 9 เลียบตามทางรถไฟสายบุรีรัมย์ - เขากระโดงฟากตะวันตก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 10 ซึ่งตั้งอยู่ตรงหลัก กม.ที่ 1 จากหลักเขตที่ 10 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 11 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางรถไฟสายอุบลราชธานี - นครราชสีมา ฟากเหนือ ตรงหลัก กม.ที่ 375 จากหลักเขตที่ 11 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจนบรรจบหลักเขตที่ 1

การแบ่งเขตการปกครอง

ชุมชน

ชุมชนหน้าสถานีรถไฟ

ชุมชนในเขตเทศบาล จำนวน 18 ชุมชน ดังนี้

  1. ชุมเห็ด
  2. หลักสถานีรถไฟ
  3. หนองปรือ
  4. ประปาเก่า
  5. หน้าสถานีรถไฟ
  6. บุลำดวนเหนือ
  7. ตลาด บ.ข.ส.
  8. หลังเทศบาล
  9. เทศบาล
  1. ตลาดสด
  2. วัดอิสาณ
  3. บุลำดวนใต้
  4. หลังราชภัฏ
  5. ต้นสัก
  6. หลักเมือง
  7. สะพานยาว
  8. โคกกลาง
  9. ฝั่งละลม

ภูมิประเทศ

ไฟล์:ภาพมุมสูงเมืองบุรีรัมย์2.jpg
ตัวเมืองบุรีรัมย์

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบมีความลาดเอียงเล็กน้อย จากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก และจากทิศเหนือไปทางทิศใต้ มีความสูงของพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 163 เมตร

ภูมิอากาศ

สภาพอากาศทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ฤดู

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป จนถึงกลางเดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป จนถึงเดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป จนถึงเดือนกุมภาพันธ์
ข้อมูลภูมิอากาศของบุรีรัมย์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 35.7
(96.3)
36.0
(96.8)
38.0
(100.4)
39.0
(102.2)
40.0
(104)
37.0
(98.6)
37.0
(98.6)
36.6
(97.9)
36.1
(97)
35.0
(95)
34.8
(94.6)
32.0
(89.6)
36.43
(97.58)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 11.7
(53.1)
14.8
(58.6)
19.2
(66.6)
22.5
(72.5)
23.5
(74.3)
23.2
(73.8)
23.2
(73.8)
23.0
(73.4)
23.1
(73.6)
20.5
(68.9)
16.5
(61.7)
13.0
(55.4)
19.52
(67.13)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 32.5
(1.28)
52.5
(2.067)
42.8
(1.685)
37.0
(1.457)
87.9
(3.461)
186.8
(7.354)
67.6
(2.661)
243.5
(9.587)
289.0
(11.378)
121.5
(4.783)
37.8
(1.488)
36.1
(1.421)
1,235
(48.622)
แหล่งที่มา: http://www.buriram.go.th/

ประชากร

อาคารทำการมูลนิธิสว่างจรรยาธรรม ศูนย์รวมเชื้อสายจีนประจำจังหวัดบุรีรัมย์

จำนวนประชากรตามสถิติการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 30 เมษายน 2553 แบ่งเป็น ชาย จำนวน 13,555 คน หญิง จำนวน 14,620 คน รวม 28,283 คน ความหนาแน่นของประชากร 4,695.84 คนต่อตารางกิโลเมตร จำนวน 6,097 ครอบครัว[1]

เศรษฐกิจ

โทรคมนาคมและการสื่อสาร

หอส่งสัญญาณของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)
  • ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง
  • องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)
  • การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)
  • สถานีวิทยุกระจายเสียง/สถานีวิทย์โทรทัศน์ในพื้นที่
    1. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ระบบ เอ.เอ็ม. ตั้งอยู่ที่ถนนนิวาส ข้างโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
    2. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ระบบ เอฟ.เอ็ม. ตั้งอยู่ที่ถนนจิระตรงข้ามมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
    3. ระบบเสียงตามสาย/หอกระจายข่าวในพื้นที่ให้บริการได้ครอบคลุมร้อยละ 80 ของพื้นที่

การประปา

เทศบาลเมืองบุรีรัมย์อยู่ในเขตบริการน้ำประปาของสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลฯ ประปาในเขตเทศบาลฯ ประมาณ 6,097 ครัวเรือน ผลิตน้ำประปาได้ 18,000 - 19,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และใช้น้ำประปาเฉลี่ย 17,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน มีห้วยจระเข้มากเป็นแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาและมีห้วยตลาดเป็นแหล่งน้ำดิบสำรอง

ไฟฟ้า

ในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ มีจำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าประมาณ 6,097 ครัวเรือน คิดเป็น พื้นที่ที่ให้บริการไฟฟ้า 100% ของพื้นที่ทั้งหมด

ไฟล์:จุดพลุเมืองบุรีรัมย์.jpg
ตัวเมืองบุรีรัมย์ยามค่ำคืน

การศึกษา

ไฟล์:อาคาร 15.jpg
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ไฟล์:ป้ายทางเข้าราชภัฏบุรีรัมย์.jpg
ป้ายทางเข้ามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ไฟล์:บรรยากาศในมรภ.บุรีรัมย์.jpg
บรรยากาศในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

การจัดการศึกษาในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ มีตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา

ระดับก่อนประถมศึกษา 2 แห่ง
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ (ชุมชนหนองปรือ)
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนพยาบาลบุรีรัมย์
ระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา 5 แห่ง
ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา (โรงเรียนขยายโอกาส) 3 แห่ง
ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1 แห่ง
ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 1 แห่ง
ระดับวิทยาลัยมีสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2 แห่ง
ระดับมหาวิทยาลัย 1 แห่ง
โรงเรียนพระปริยัติธรรม 3 แห่ง

สาธารณสุข

ไฟล์:กลุ่มอาคารในโรงพยาบาลบุรีรัมย์.jpg
โรงพยาบาลบุรีรัมย์

การสาธารณสุขในเทศบาลบุรีรัมย์ มีดังนี้

  • โรงพยาบาลในเขตพื้นที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง เตียงคนไข้ จำนวน 750 เตียง[2]
  • ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จำนวน 1 แห่ง
  • คลินิกเอกชน จำนวน 65 แห่ง[3]
  • ศูนย์บริการแพทย์แผนไทย 1 แห่ง[3]
  • คลินิกบริการสาธารณสุขของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จำนวน1 แห่ง[3]

ศาสนสถาน

ไฟล์:วัดอิสาณ.jpg
วัดอิสาณ
ไฟล์:มัสยิดอันวาลุสลาม.jpg
มัสยิดอันวาลุสลาม

พุทธ

อิสลาม

คริสต์

สถานที่สำคัญ

กีฬา นันทนาการ พักผ่อน

สระว่ายน้ำ อบจ.บุรีรัมย์
  • สระว่ายน้ำ จำนวน 1 แห่ง
  • ห้องสมุดประชาชน จำนวน 1 แห่ง
  • สวนสาธารณะ จำนวน 4 แห่ง
  • สวนหย่อม จำนวน 3 แห่ง
  • เกาะกลางถนนและพื้นที่สีเขียว จำนวน 5 แห่ง

แหล่งน้ำ

  • คลองละลม ตั้งอยู่กลางเมืองบุรีรัมย์มีลักษณะเป็นรูปวงรี แบ่งเป็น 6 ส่วนหรือ 6 ลูก
  • สระน้ำ (ละลม) วัดกลาง
  • สระหนองปรือ

ห้างสรรพสินค้า

ทวีกิจพลาซ่า

ร้านหนังสือ

  • ซีเอ็ด
  • ดอกหญ้า
  • ร้านนายอินทร์

อื่นๆ

  • สถานีบริการน้ำมัน 6 แห่ง
  • สถานีแก๊ส - แห่ง
  • ตลาดสด 1 แห่ง
  • ตลาดนัด 1 แห่ง
  • ตลาดค้าปลีกและค้าส่ง 1 แห่ง
  • ธนาคาร 12 แห่ง
  • สถานธนานุบาล 3 แห่ง
  • โรงฆ่าสัตว์ 1 แห่ง
  • โรงแรม 12 แห่ง
  • โรงภาพยนต์ 1 แห่ง
  • ร้านขายอาหารทั่ว ๆ ไป 260 แห่ง
  • ร้านอาหารระดับภัตตาคาร 1 แห่ง
  • อ้างอิง[4]

การเดินทาง

รถโดยสารประจำทาง

ไฟล์:รูปภาพ1312.jpg
สายบุรีรัมย์-พุทไธสง
รถสองแถวสีชมพู สาย 1 ตลาดเทศบาล-เขากระโดง
รถสองแถวสีชมพู สาย 2 สถานีขนส่ง-บ้านบัว
รถสองแถวสีชมพู

เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ สามารถเดินทางติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงและติดต่อกันภายในจังหวัดได้สะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางเครื่องบิน ในเขตเทศบาลมีถนนเป็นเส้นทางคมนาคมหลักโดยส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และถนนแอสฟัลท์ติก

สายกรุงเทพ-บุรีรัมย์

ขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) (หมอชิต) มาลงที่สถานีขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ มีบริการทั้งกิจการทัวร์, บริษัทขนส่ง จำกัด,ศิริรัตนพลทัวร์

อัตราค่าโดยสารดังนี้

  • รถปรับอากาศชั้น 1
    • กิจการทัวร์ ราคา 227 บาท
    • ศิริรัตนพลทัวร์ ราคา 227 บาท
  • รถปรับอากาศชั้น 2
    • บริษัทขนส่ง จำกัด ราคา 178 บาท
    • ศิริรัตนพลทัวร์ ราคา 186 บาท
สายที่ผ่านบุรีรัมย์

เป็นรถกรุงเทพ-อุบลราชธานี, กรุงเทพ-สุรินทร์ และกรุงเทพ-ศรีสะเกษ แวะจอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ มีทั้งรถปรับอากาศชั้น 1 และ 2

อัตราค่าโดยสารดังนี้

  • รถปรับอากาศชั้น 1
    • กิจการทัวร์ ราคา 227 บาท
    • ศิริรัตนพลทัวร์ ราคา 227 บาท
  • รถปรับอากาศชั้น 2
    • ศิริรัตนพลทัวร์ ราคา 178 บาท
สายไปจังหวัดใกล้เคียง
  • บุรีรัมย์-นครราชสีมา ใช้เวลาเดินทาง 2.40 ชั่วโมง ค่าโดยสารรถประจำทาง(พัดลม) 90 บาท ค่าโดยสารรถประจำทาง(ป2) 110 บาท ค่าโดยสารรถประจำทาง(ป1) 120 บาท
  • บุรีรัมย์-สุรินทร์ ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง ค่าโดยสาร 21 บาท
  • บุรีรัมย์-ขอนแก่น ใช้เวลาเดินทาง 5 ชั่วโมง ค่าโดยสาร 93 บาท
สายไปต่างอำเภอ และผ่านที่เที่ยว
สายรถโดยสารในตัวเมือง
  • สายตลาดเทศบาล-เขากระโดง (สาย 1) ขึ้นรถได้ที่สถานีรถไฟบุรีรัมย์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ และสถานีขนส่ง
    • เวลาบริการ 06.00 - 17.00 น.
    • จุดหมายปลายทางที่ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ (6 บาท) วนอุทยานเขากระโดง (6 บาท)
  • สายบ้านบัว (สาย 2) ขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่ง
    • เวลาบริการ 06.00 - 17.00 น.
    • จุดหมายปลายทางที่อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก (5 บาท)

รถไฟ

ไฟล์:Buriram Railway Station 2236.jpg
สถานีรถไฟบุรีรัมย์
ซุ้มทางเข้าสถานีบุรีรัมย์
ขบวนรถด่วนพิเศษ

มีขบวนรถไฟสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี เป็นรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 ทั้งขบวน อัตราค่าโดยสาร 335 บาท

ขบวนรถด่วน

มีขบวนรถไฟสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี, กรุงเทพ-ศรีสะเกษ และกรุงเทพ-ศีขรภูมิ แบ่งได้ดังนี้

  • สายกรุงเทพ-อุบลราชธานี
    • รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่ 1 ราคา 1,386 บาท
    • รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่ 2 ราคา 535 บาท
    • รถนั่งและนอนชั้นที่ 2 ราคา 355 บาท
    • รถนั่งชั้นที่ 2 ราคา 205 บาท
  • สายกรุงเทพ-ศรีสะเกษ และกรุงเทพ-ศีขรภูมิ
    • รถนั่งปรับอากาศชั้นที่ 2 ราคา 265 บาท
    • รถนั่งชั้นที่ 3 ราคา 174 บาท
ขบวนรถเร็ว

มีขบวนรถไฟสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี รวมทั้งสิ้น 5 ขบวน ราคาดังนี้

  • รถนั่งและนอนชั้นที่ 2 ราคา 235 บาท
  • รถนั่งชั้นที่ 2 ราคา 85 บาท
  • รถนั่งชั้นที่ 3 ราคา 54 บาท
ขบวนรถธรรมดา

มีขบวนรถไฟสายกรุงเทพ-สุรินทร์ เป็นรถไฟฟรี ไม่ต้องจ่ายเงิน

ขบวนรถท้องถิ่น

มีขบวนรถไฟสายนครราชสีมา-อุบลราชธานี รวมทั้งสิ้น 3 ขบวน เป็นรถไฟฟรี ไม่ต้องจ่ายเงิน

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. สำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลเมืองบุรีรัมย์
  2. ที่มา:โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  3. 3.0 3.1 3.2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์
  4. กองคลัง,กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

แหล่งข้อมูลอื่น