ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผ้าจกไทยวน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 44: บรรทัด 44:
[[หมวดหมู่:ผ้าไทย]]
[[หมวดหมู่:ผ้าไทย]]
{{โครงศิลปะ}}
{{โครงศิลปะ}}
*[[อักษรธรรมล้านนา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:43, 30 สิงหาคม 2555

ผ้าจกไทยวน เป็นผ้าจกที่พบในหมู่ช่างทอผ้าชาวไทยวน ในจังหวัดราชบุรี มีแหล่งกำเนิดแตกต่างกัน โดยแบ่งตามลักษณะของลวดลายได้เป็น 3 ตระกูล คือ ผ้าตระกูลคูบัว ผ้าตระกูลดอนแร่ และผ้าจกตระกูลหนองโพ-บางกระโด

ผ้าจกไทยวนแบ่งตามตระกูล

ผ้าจกตระกูลคูบัว
เป็นผ้าจกที่มีลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง เช่น ลายดอกเซีย ลายหักนกคู่ ลายโก้งเก้ง ลายหน้าหมอน และลายนกคู่กินน้ำฮ่วมเต้า ผ้าจกตระกูลคูบัวจะพบมากใน ตำบลคูบัว ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เพราะมีชุมชนไท-ยวนอาศัยอยู่ โดยในการจกจะใช้เส้นด้ายยืนสีดำ พุ่งดำ โดยไม่มีลายประกอบมากลาย พื้นผ้าเว้นพื้นต่ำไว้มากตามแบบของลวดลาย เพื่อจกให้เห็นลายชัดเจน ส่วนสีสันของเส้นใยที่ใช้ทอ จะใช้เส้นใยที่มีสีสันหลากหลาย เช่น จะใช้พุ่งต่ำดำจกแดง แซมเหลืองหรือเขียว เป็นต้น โดยตีนซิ่นจะมีความกว้างประมาณ 9-11 นิ้ว
ผ้าจกตระกูลหนองโพ-บางกะโด
เป็นผ้าจกที่มีลวดลายขนาดและสีสันที่มีความใกล้เคียงกับจกตระกูลคูบัว เป็นผ้าจกที่ได้จากชุมชนไท-ยวน ในตำบลหนองโพ-บางกะโด อำเภอโพธาราม โดยผ้าจกตระกูลหนองโพ-บางกะโด จะมีความแตกต่างจากผ้าจกตระกูลคูบัวตรงที่ ชายของตีนซิ่น ซึ่งผ้าจกตระกูลหนองโพ-บางกะโด จะมีการเว้นพื้นที่ต่ำระหว่างลายซะเปา ถึงเล็บเหลืองไว้กว้างมากกว่าผ้าจกตระกูลคูบัว และผ้าจกตระกูลหนองโพ-บางกะโดจะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับลายนกของผ้าไท-พวนในภาคเหนือ คือ ลักษณะของนกคู่กินฮ่วมเต้าของผ้าจกตระกูลหนองโพ-บางกะโด จะมีหางที่ยาวมากกว่าผ้าจกตระกูลคูบัว
ผ้าจกตระกูลดอนแร่
เป็นผ้าจกที่มีลายที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เช่น ลายกาบ ลายกาบดอกแก้ว และลายนกคู่กินน้ำฮ่วมเต้า พบมาในชุมชนไท-ยวน ตำบลดอนแร่ ตำบลห้วยไผ่ ตำบลหนองปลาหมอและตำบลรางบัว โดยลักษณะของการจก จะประกอบด้วยหลากหลายของลวดลาย และจะมีการจกลายแน่นเต็มผืนผ้า มีการเว้ยพื้นต่ำไว้น้อย ทำให้ลดความเด่นชัดของลายหลักลงไป โดยจะคงสีสันของเส้นใยเป็นสีแดงเป็นหลัก จะไม่นิยมใช้เส้นใยหลายสี และตีนจกจะมีความกว้างประมาณ 14-15 นิ้ว

ประเภทผ้าซิ่น

ของชาวไทย – ยวน ราชบุรี สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ซึ่งขึ้นอยู่กับโอกาส และลักษณะที่นำไปใช้ ซึ่งแบ่งได้ ดังนี้คือ

  1. ผ้าซิ่นตีนจก
  2. ซิ่นตา
  3. ซิ่นซิ่ว
  4. ซิ่นแล่
ผ้าซิ่นตีนจก
ผ้าซิ่นตีนจก คือซิ่นที่มีตีนประกอบด้วยส่วนที่เป็นผ้า ลวดลายทอด้วยวิธีจก หรือ ควักเส้นด้ายพิเศษมาผูกมัดขัดกับเส้นอื่นเป็นลวดลายแบบต่างๆ ซึ่งซิ่นตีนจกมีโครงสร้าง ประกอบด้วยผ้า 3 ส่วน คือ หัวซิ่น ตัวซิ่น และ ตีนซิ่น ซิ่นตีนจกที่พบในลักษณะการแต่งกายของสตรีชาวไท-ยวน ราชบุรี มี 3 ลักษณะ คือ
  1. ซิ่นตีนจก จกเฉพาะตีน ตัวซิ่นเป็นผ้าพื้นสีดำ หรือ สีคราม ซิ่นบางผืนมีตัวซิ่นทอด้วยวิธียกมุกหัวซิ่น ใช้ผ้าขาวผ้าแดงเย็บต่อกันแล้วจึงเย็บต่อกันกับตัวซิ่น
  2. ซิ่นตีนจก จกทั้งตัว ซึ่งลักษณะนี้จะมีตัวซิ่นและตีนซิ่นทอด้วยวิธีจก แต่ทอเป็นผ้าคนละชิ้น แล้วนำมาเย็บต่อเป็นผืนเดียวกัน ตัวซิ่นส่วนมากจะทอด้วยลายกูด ลายนก ลายมะลิเลื้อย เป็นลายพันรอบตัวซิ่นตีนซิ่นทอลายหลักทั้ง 9 ลาย หัวซิ่นมีลักษณะเดียวกับซิ่นตีนจกจึงถือได้ว่า ซิ่นชนิดนี้เป็นผลงานทางศิลปหัตถกรรมชั้นสูงของ ไท-ยวน ราชบุรี
  3. ซิ่นตีนจก ตัวยกมุกสลับมัดหมี่ ตีนซิ่นทอด้วยวิธีจกเหมือนตัวซิ่นตีนจกทั่วไป ตัวซิ่นทอด้วยวิธียกมุกสลับด้วยการทอแบบมัดหมี่ ถือได้ว่าเป็นเทคนิคของภาคอีสาน ตัวซิ่นใช้เส้นใยประเภทไหม เป็นวัสดุทอ พบไม่มากในผ้าซิ่นตีนจกของไท-ยวน ราชบุรี
ซิ่นตา
ถือได้ว่าเป็นศิลปะการทอรองจากซิ่นตีนจก ซึ่งมี 2 ชนิด คือ
  1. ซิ่นตาผ้าพื้น เป็นการทอแถบสีต่างๆพันรอบตัว เช่น สีดำ,สีเหลือง,สีเขียว ส่วนตีนซิ่นจะมีเล็บเหลือบ และ แถบผ้าเป็นสีดำ
  2. ซิ่นตาหมู่ แตกต่างจากชนิดแรก ตรงที่ส่วนตัวซิ่นมีการจกลายประกอบเป็นหมู่ๆ พันรอบตัวซิ่นเว้นระยะเป็นช่วงๆ ส่วนมากจะใช้ลายหักขอเหลียว มะลิเลื้อย ดอกจัน ในการทำลายจกเป็นซิ่นที่มีศิลปะการทอสูงรองมาจากซิ่นตีนจก ปัจจุบันจะทอซิ่นตาหมู่ที่มีลายประกอบไม่มากและเป็นลายที่ทอง่าย ๆ
ซิ่นซิ่ว
เป็นซิ่นที่ทอสำหรับนุ่งทำงานอยู่กับบ้าน ตีนซิ่นเป็นผ้าพื้นสีดำ ตัวซิ่นเป็นพื้นสีเขียว จะจกลายประกอบระหว่างรอยต่อตีนกับตัว และตัวกับหัวซิ่น
ซิ่นแล่
เป็นซิ่นที่ทอสำหรับนุ่งทำงานอยู่กับบ้าน หรือนอกบ้าน เป็นซิ่นที่ถือว่าทำการทอไม่ยาก และโดยส่วนมาก ผู้หญิง ไท- ยวน ในสมัยก่อนจะมีซิ่นแล่ไว้นุ่งกันทุกคน

อ้างอิง

  • ศูนย์ส่งเสริมอาชีพการทอผ้าจกบ้านใต้ หมู่ 4 ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000