ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดราชบุรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 139: บรรทัด 139:
* [[ 1.ไทยพื้นถิ่นราชบุรี ]]
* [[ 1.ไทยพื้นถิ่นราชบุรี ]]
* [[ 2.จีนราชบุรี ]]
* [[ 2.จีนราชบุรี ]]
* [[ 3.ไทยยวนราชบุรี]],*[[ไทยวน]]อพยพจาก[[อำเภอเชียงแสน]] [[จังหวัดเชียงราย]]
* [[ 3.ไทยยวนราชบุรี]],*[[ไทยวน]]ซึ่งมาจาก[[ไทยโยนก]]ใน[[อำเภอเชียงแสน]]
และอพยพจาก[[อำเภอเชียงแสน]] [[จังหวัดเชียงราย]]
* [[ 4.มอญราชบุรี ]]
* [[ 4.มอญราชบุรี ]]
* [[ 5.เขมรราชบุรี ]]
* [[ 5.เขมรราชบุรี ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:52, 30 สิงหาคม 2555

จังหวัดราชบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Ratchaburi
คำขวัญ: 
คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร
วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน
เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี

ข้อผิดพลาด: ต้องระบุภาพในบรรทัดแรก

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดราชบุรีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2554)
พื้นที่
 • ทั้งหมด5,196.462 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 42
ประชากร
 (พ.ศ. 2554)
 • ทั้งหมด853,000 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 30
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 21
รหัส ISO 3166TH-70
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้โมกมัน
 • ดอกไม้กัลปพฤกษ์
ศาลากลางจังหวัด
 • โทรศัพท์0 3233 7890, 0 3232 7659
เว็บไซต์http://www.ratchaburi.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดราชบุรี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตก โดยเป็นศูนย์กลางในด้านอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร และการปศุสัตว์ของประเทศ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในด้านพลังงานของประเทศในปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง] โดยมีเมืองราชบุรีเป็นศูนย์กลางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการคมนาคมในภูมิภาค ทิศเหนือติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันออกติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดนครปฐม และทิศตะวันตกติดต่อประเทศพม่า

อาณาเขต[4]

ประวัติ

ราชบุรี ดินแดนวัฒนธรรมลุ่มน้ำแม่กลองและสายหมอกแห่งขุนเขาตะนาวศรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตกที่มีภูมิประเทศหลากหลาย จากพื้นที่ที่ราบต่ำ ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอันอุดม แหล่งเพาะปลูกพืชผักผลไม้เศรษฐกิจนานาชนิด สู่พื้นที่สูงทิวเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวทางทิศตะวันตกจรดชายแดนไทย-พม่า

จากตำนานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ราชบุรีเป็นหัวเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมากแห่งหนึ่งของแคว้นสุวรรณภูมิมาตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดียได้เผยแพร่พุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแถบนี้ เมื่อราวปี พ.ศ. 218 โดยแคว้นสุวรรณภูมินี้มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครปฐมหรือที่สมัยนั้นเรียกกันว่า "ทวารวดี” ราชบุรียังเป็นแหล่งพบปะของพ่อค้าวาณิชแต่ครั้งโบราณ ทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่านที่ติดต่อกับพม่า ราชบุรีจึงเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่สุดแห่งหนึ่ง

ห่างจากกรุงเทพมหานครเบื้องทิศตะวันตกราว 110 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของจังหวัดราชบุรี ดินแดนอันเป็นที่มาของโอ่งเคลือบลายมังกรและผ้าทอบ้านไร่หรือผ้าขาวม้าอันลือชื่อ สำหรับผู้ไม่ใช่ชาวบ้านพื้นถิ่นน้อยคนนักจะเข้าใจว่าอุตสาหกรรมเครื่องปั่นดินเผาและหัตถกรรมทอผ้าพื้นเมืองเป็นเป็นเพียงผลงานบางส่วนที่สะท้อนความหลากหลายของราชบุรีที่ฝากร่องรอยทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม

แท้จริงแล้วดินแดนแห่งนี้มิได้มีแค่เพียงสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติเท่านั้น โอ่งลายมังกรและผ้าตีนจกยังเป็นตัวแทนที่ให้ภาพเคลื่อนไหวของวิวัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงในสังคมราชบุรีด้วยในมุมมองหนึ่ง

ในพื้นที่อันกว้างขวางใหญ่ประมาณ 5,120 ตารางกิโลเมตรของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างนี้มีแม่น้ำแม่กลองตัดผ่าน เป็นสายใยเชื่อมโยงพื้นที่ด้านตะวันออกซึ่งติดกับเขตจังหวัดสมุทรสงคราม ต่อแดนฝั่งสมุทรอ่าวไทยเข้ากับพื้นที่ตอนในอันเป็นต้นแหล่งของสายน้ำแม่กลอง

ราชบุรีเป็นเมืองในเครือข่ายสัมพันธ์ของอารยธรรมชายฝั่งทะเลสยามโดยมีเมืองโบราณคูบัวเป็นเมืองท่าติดต่อทะเลด้ เช่นเดียวกับนครปฐมหรือเมืองนครชัยศรีโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 ลงมา กล่าวได้ว่า คูบัวโดดเด่นยิ่งกว่านครชัยศรีโบราณเสียอีก เพราะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกับเมืองเพชรบุรี (หรือพริบพรี)เลย ตลอดไปถึงเขตชะอำ (ในปัจจุบัน) อู่ทอง นครปฐม คูบัว เป็นเครือข่ายของเมืองท่าโบราณแต่ครั้งสมัยวัฒนธรรมทวารวดีเฟื่องฟู และเมืองคูบัวนั้นนับเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนามหายานที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาค

เมื่อย่างเข้าสมัยที่อาณาจักรขอมเรืองอำนาจและปรากฏศิลปะแบบลพบุรีในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นไป ตัวเมืองได้โยกย้ายศูนย์กลางจากคูบัวมาตั้งใหม่ที่ราชบุรีซึ่งอยู่ไม่ห่างกันมากนัก แต่สามารถตอบรับเงื่อนไขใหม่ในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนได้เหมาะสมและดีกว่า

อย่างน้อยที่สุดเมืองราชบุรีต้องเกิดขึ้นและกลายเป็นเมืองท่าชายทะเลที่สำคัญก่อนพุทธศตวรรษที่18-19 สันนิษฐานว่าคงเป็นประมาณพุทธศตวรรษที่15-16 เครื่องปั่นดินเผาห้าราชวงศ์และสมัยซ้องที่พบในท้องแม่น้ำแม่กลองและแหล่งชุมชนโบราณบางแห่ง ถือได้ว่าเป็นโบราณวัตถุที่เป็นสินค้าจากสังคมภายนอกภูมิภาค แต่บรรดาเครื่องปั่นดินเผาผลิตจากภายในพื้นภูมิภาคก็มีอยู่ไม่น้อย เช่น หม้อดินเผาคอสูง ซึ่งผู้บางท่านว่าเป็นศิลปะกรรมทวารวดีตอนปลายประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18[5]

ภูมิประเทศ

  1. พื้นที่ภูเขาสูง อยู่บริเวณชายแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศพม่า และด้านใต้ติดกับจังหวัดเพชรบุรี มีสภาพเป็นเทือกเขาสูง อุดมไปด้วยป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าไผ่ ในระดับความสูง ตั้งแต่ 200 เมตร ถึง 1,400 เมตร ในเขตอำเภอสวนผึ้ง กิ่งอำเภอบ้านคา และอำเภอปากท่อด้านตะวันตก
  2. พื้นที่ราบสูง ได้แก่บริเวณถัดจากเทือกเขามาทางด้านตะวันออก กลางของพื้นที่จังหวัดป็นที่ราบสูงและที่เนินลอนลาด มีแม่น้ำภาชี และลำห้วยสาขา เป็นสายน้ำหลัก สภาพเนื้อดิน เป็นดินปนทรายมีการชะล้างพังทลายของหน้าดินค่อนข้างสูงถึงปานกลาง อยู่ในเขตอำเภอสวนผึ้ง กิ่งอำเภอบ้านคา อำเภอจอมบึง และด้านตะวันตกของอำเภอปากท่อ อำเภอเมืองราชบุรี อำเภอโพธาราม และอำเภอบ้านโป่ง
  3. ที่ราบลุ่ม ได้แก่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง และด้านตะวันออกของพื้นที่จังหวัด เนื้อดินเป็นดินร่วนและดินร่วนปนดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ มีระบบชลประทานแม่กลอง ที่เป็นระบบชลประทานขนาดใหญ่มากด้วย
  4. ที่ราบลุ่มต่ำ ได้แก่ตอนปลายของแม่น้ำแม่กลองที่ติดต่อกับจังหวัดสมุทรสงคราม อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลกลางเพียง 1-2 เมตร ดินจะมีความสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำสวนผักผลไม้[6]

ภูมิอากาศ

จังหวัดราชบุรีตั้งอยู่ในเขตที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย แต่การที่มีเทือกเขาตะนาวศรีบังไว้อยู่ ทำให้เป็นที่อบฝน คือ อำเภอสวนผึ้ง อำเภอบ้านคา และอำเภอจอมบึง มีฝนตกน้อยและเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีฝนตกน้อยที่สุดในประเทศ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,000-1,250 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ27 องศาเซลเซียส สูงสุดเดือนเมษายน-พฤษภาคมประมาณ 36 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนธันวาคม-มกราคม ประมาณ 18 องศาเซลเซียส ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน โดยตกหนักที่สุดในเดือนกันยายน และทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนและสิงหาคมฝนส่วนใหญ่จะถูกพัดเลยไปตกในแถบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง และด้านตะวันออกของพื้นที่จังหวัดอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 13-38 องศาเซลเซียส แต่ในฤดูหนาวบริเวณเชิงเขาหรือหุบเขาในพื้นที่อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอบ้านคาจะมีสภาพอากาศหนาวมาก เฉลี่ย 8-15 องศาเซลเซียส [7] และเป็นจังหวัดที่มีปริมาณโอโซนมากที่สุดติดอันดับของโลก

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 104 ตำบล 935 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองราชบุรี
  2. อำเภอจอมบึง
  3. อำเภอสวนผึ้ง
  4. อำเภอดำเนินสะดวก
  5. อำเภอบ้านโป่ง
  1. อำเภอบางแพ
  2. อำเภอโพธาราม
  3. อำเภอปากท่อ
  4. อำเภอวัดเพลง
  5. อำเภอบ้านคา
 แผนที่

ตราประจำจังหวัด

 

ความหมายของตราประจำจังหวัด เครื่องราชกกุธภัณฑ์ 2 อย่างคือ

ทั้งนี้ก็เพราะชื่อจังหวัดราชบุรีแปลว่า เมืองของพระราชา

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกกัลปพฤกษ์ (Cassia bakeriana)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: โมกมัน (Wrightia tomentosa)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี


บุคคลที่มีชื่อเสียงในจังหวัดราชบุรี

ถิ่นอาศัยของคน 8 ชาติพันธ์ราชบุรี

ชาวไทยที่เป็นประชากรของราชบุรีตามกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ มีอยู่เป็นหย่อมย่าน ถ้ามีการรวมกลุ่มกันอย่างหนาแน่น ทำให้เกิดการแสดงออกทางประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อ ถ้าชุมชนที่มีกลุ่มคนตามวัฒนธรรมนั้นอยู่เบาบาง ก็ไม่สามารถแสดงออกทางวัฒนธรรมได้อย่างเต็มที่ บางครั้งก็ถูกกลุ่มวัฒนธรรมหลักชักนำหรือถูกกลืนกลายให้เสื่อมสูญไปจากสังคมก็มี ข้อมูลต่อไปนี้แสดงถึงพื้นที่อยู่อาศัยของผู้คนตามวัฒนธรรมต่างๆ

และอพยพจากอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

เศรษฐกิจ

ไฟล์:ราชบุรี1.jpg
ภาพเมืองราชบุรีจากเขาแก่นจันทร์ ตามแนวถนนศรีสุริยวงศ์

จังหวัดราชบุรี เป็นจังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก จากการประมาณในไตรมาสแรกในปี 2553 ของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ราชบุรีมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด(GPP) คิดเป็นมูลค่า 120,200 ล้านบาท[3] มากเป็นอันดับ 17 ของประเทศ และมีรายได้ต่อประชากร (GPP PER CAPITA) สูงถึง 144,062 บาท เป็นอันดับที่ 13 ของประเทศ จังหวัดราชบุรีมีการลงทุนทางอุตสาหกรรมถึง 1,100 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนมากกว่า 100,000 ล้านบาท เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคมีธุรกิจการค้าประเภทสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร เป็นโครงสร้างหลักทางเศรษฐกิจ โดยมีศูนย์กลางตลาดผักผลไม้ในภูมิภาค โดยเป็นหนึ่งในตลาดกลางสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุด แห่งหนึ่งของประเทศไทย นอกจากนั้นยังมีตลาดสดและตลาดนัดในท้องที่ต่าง ๆ ควบคู่กับการเลี้ยงปศุสัตว์ และโรงงานอาหารสัตว์ ที่มีมากในเขตอำเภอปากท่อ และอำเภอโพธาราม และยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้า และก๊าซธรรมชาติ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมน้ำตาล และอุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น โดยจังหวัดราชบุรีเป็น 1 ใน 14 จังหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศไทยศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญจะกระจายอยู่ใน พื้นที่เมืองใหญ่ ได้แก่ เมืองราชบุรี และเมืองบ้านโป่ง เป็นต้น โดยเป็นที่ตั้ง ศูนย์ และสำนักงานสาขาในเขตภูมิภาค ของบริษัทชั้นนำหลายๆ แห่ง เช่น ปตท. โตโยต้า เป็นต้น อีกทั้งเป็นจังหวัดที่มีเศรษฐกิจเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เฉลี่ยปีละประมาณ 5-6 % ทำให้มีการลงทุนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เช่น ศูนย์การค้า โครงการที่อยู่อาศัย บริษัท ห้างร้านต่างๆ เป็นต้น

..และจังหวัดราชบุรีมีอู่ต่อรถโดยสารมากประมาณ50กว่าอู่ มีชื่อเสียงมากในเรื่องการต่อรถโดยสาร เป็นที่แรกๆที่กำเนิดรถโดยสารของประเทศ...เป็นยนตกรรมทำด้วยมือก็ว่าได้

ของฝากจังหวัดราชบุรี

แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ

รีสอร์ท(อ.สวนผึ้ง)ยอดนิยม

การศึกษา

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ประกาศสานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. 3.0 3.1 http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=96
  4. จากหนังสือสารคดีเพื่อความเข้าใจในแผ่นดิน ราชบุรี หน้า 445 พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2541
  5. จากหนังสือสารคดี เพื่อความเข้าใจในแผ่นดิน ราชบุรี หน้า16-30 พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2541
  6. จากหนังสือสารคดีเพื่อความเข้าใจในแผ่นดิน ราชบุรี หน้า 447 พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2541
  7. หนังสือสารคดีเพื่อความเข้าใจในแผ่นดิน ราชบุรี หน้า 447 พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2541

^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553. ^ ประกาศสานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ^ จากหนังสือสารคดีเพื่อความเข้าใจในแผ่นดิน ราชบุรี หน้า 445 พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2541 ^ จากหนังสือสารคดี เพื่อความเข้าใจในแผ่นดิน ราชบุรี หน้า16-30 พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2541 ^ จากหนังสือสารคดีเพื่อความเข้าใจในแผ่นดิน ราชบุรี หน้า 447 พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2541 ^ หนังสือสารคดีเพื่อความเข้าใจในแผ่นดิน ราชบุรี หน้า 447 พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2541 ^ http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=96 ^ http://www.agoda.co.th/asia/thailand/suan_phung.html?type=1&site_id=1410012&url=http://www.agoda.co.th/asia/thailand/suan_phung.html&tag=0d460674-c7c6-4507-9d48-e867129fcd00&gclid=CJGRorSxsrACFcYc6wodq3R6Tg ^ http://www.oceansmile.com/K/Ratburi/Ratchaburi3.htm ^http://www.oceansmile.com/K/Ratburi/Ratchaburi5.htm ^ http://www.tourthai.com/ThaiLand-Travel/ratchaburi/id030.php ^ http://www.phuphaphung.com/about_ppp.html ^ http://www.facebook.com/lovehomecamp ^ http://rb-wisdom.blogspot.com/2009/12/8.html ^ http://www.poobpubtour.com/2010/12/yapbadambadooo.html

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°32′N 99°49′E / 13.54°N 99.82°E / 13.54; 99.82