ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดช็อลลาใต้"

พิกัด: 34°45′N 127°0′E / 34.750°N 127.000°E / 34.750; 127.000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
Aristitleism ย้ายหน้า มณฑลจอลลาใต้ ไปยัง จังหวัดจ็อลลาใต้
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:07, 27 สิงหาคม 2555

34°45′N 127°0′E / 34.750°N 127.000°E / 34.750; 127.000

มณฑลจอลลาใต้
(ฮันกึล 전라남도
ฮันจา 全羅南道)
ตราประจำจังหวัดมณฑลจอลลาใต้
ตราประจำจังหวัดมณฑลจอลลาใต้
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อภาษาไทยมณฑลจอลลาใต้
ชื่อภาษาเกาหลีฮันกึล 전라남도
ฮันจา 全羅南道
เมืองเอกมูอัน
ภูมิภาคโฮนัม
ผู้ว่าราชการพัก จุนยอง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่12,247 ตร.กม. (อันดับ 3)
ประชากร1,741,499 คน (2553) (อันดับ 6)
ความหนาแน่น142 คน/ตร.กม.
เว็บไซต์jeonnam.go.kr (อังกฤษ)
แผนที่
แผนที่ประเทศเกาหลีใต้เน้นแผนที่ประเทศเกาหลีใต้ เน้นมณฑลจอลลาใต้

มณฑลจอลลาใต้ หรือ จอลลานัม-โด เป็นมณฑลในเกาหลีใต้ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีฐานะเป็นมณฑลตั้งแต่ปี 2439 โดยแยกออกจากมณฑลจอลลาเดิมทางด้านใต้ และยังคงเป็นจังหวัดของเกาหลีจนกระทั่งมีการแบ่งเกาหลีในปี 2488 และหลังจากนั้นก็หลายเป็นส่วนหนึ่งของเกาหลีใต้ โดยมีกวางจูเป็นเมืองเอกของมณฑล จนกระทั่งมีการย้ายศาลากลางมณฑลไปยังตอนใต้ของหมู่บ้านนามัก เมืองชนบทมูอัน ในปี 2548

ภูมิศาสตร์

มณฑลนี้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคโฮนัม โดยมีพรมแดนทางด้านทิศตะวันตกติดกับทะเลเหลือง, ทางทิศเหนือติดกับมณฑลจอลลาเหนือ ทางทิศใต้ติดกับช่องแคบเชจู ทางด้านทิศตะวันออกติดกับมณฑลคยองซังเหนือ

จอลลานัม-โดมีเกาะมากกว่า 2,000 เกาะตลอดแนวชายฝั่ง ประมาณสามในสี่ส่วนเป็นเกาะที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ และจังหวัดยังมีชายฝั่งยาวประมาณ 6,100 กิโลเมตร ผลิตผลทางทะเลที่สำคัญของจังหวัด เช่น หอยนางรม และสาหร่ายทะเล โดยเฉพาะอย่างหลังมีการพัฒนาพื้นที่เพาะเลี้ยงอย่างมาก

มณฑลนี้มีภูเขาเพียงบางส่วนเท่านั้น พื้นที่ราบตลอดบริเวณแม่น้ำซอมจิน,ยองซันและทัมจิน เป็นอู่ข้าวอู่น้ำขนาดใหญ่ของประเทศ และเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุก ซึ่งมีส่วนช่วยเหลือทางด้านการเกษตร และจังหวัดนี้ยังเป็นสถานที่ที่อบอุ่นที่สุดในคาบสมุทร ซึ่งช่วยให้เกิดผลิตผลทางการเกษตรอย่างมากมายเช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ เมล็ดพืชที่สามารถรับประทานได้และมันฝรั่ง ผัก ฝ้าย และผลไม้ ก็เจริญเติบโตได้ดีเช่นเดียวกัน

ถึงแม้จะมีการขุดทองและถ่านหิน จำนวนน้อยจากจังหวัดนี้ แต่อุตสาหกรรมในจังหวัดก็พัฒนาอย่างมาก

มณฑลพี่น้อง

อ้างอิง

  1. "Background Brief on International Trade" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2008-07-21.

ข้อมูลเพิ่มเติม