ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไมเคิล เฟ็ลปส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 53: บรรทัด 53:
[[หมวดหมู่:นักกีฬาชาวอเมริกัน]]
[[หมวดหมู่:นักกีฬาชาวอเมริกัน]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากบอลทิมอร์]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากบอลทิมอร์]]
[[หมวดหมู่:ผู้เข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012]]
{{Link GA|en}}
{{Link GA|en}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:12, 5 สิงหาคม 2555

ไมเคิล เฟ็ลปส์
สถิติเหรียญโอลิมปิก
กีฬาว่ายน้ำชาย
ตัวแทนของ  สหรัฐ
กีฬาโอลิมปิก
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 ฟรีสไตล์ 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 ผีเสื้อ 100 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 ผีเสื้อ 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 เดี่ยวผสม 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 เดี่ยวผสม 400 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 ผลัดฟรีสไตล์ 4 x 100 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 ผลัดฟรีสไตล์ 4 x 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 ผลัดผสม 4 x 100 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเธนส์ 2004 ผีเสื้อ 100 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเธนส์ 2004 ผีเสื้อ 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเธนส์ 2004 เดี่ยวผสม 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเธนส์ 2004 เดี่ยวผสม 400 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเธนส์ 2004 ผลัดฟรีสไตล์ 4 x 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเธนส์ 2004 ผลัดผสม 4 x 100 เมตร
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 เอเธนส์ 2004 ฟรีสไตล์ 200 เมตร
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 เอเธนส์ 2004 ผลัดฟรีสไตล์ 4 x 100 เมตร

ไมเคิล เฟรด เฟ็ลปส์ (อังกฤษ: Michael Fred Phelps) (เกิด 30 มิถุนายน พ.ศ. 2528) นักกีฬาว่ายน้ำชาวอเมริกัน ได้รับเหรียญรางวัลโอลิมปิก 25 เหรียญ (21 เหรียญทอง 2 เหรีญเงิน และ 2 เหรียญทองแดง) โดยได้จากโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่ประเทศกรีก 8 เหรียญ (6 เหรียญทอง 2 เหรียญทองแดง) โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ประเทศจีน 8 เหรียญทอง และโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่สหราชอาณาจักร 3 เหรียญทอง และ 2 เหรียญเงิน[1] ซึ่งปัจจุบันเขาเป็นนักกีฬาที่ได้รับเหรียญทองโอลิมปิกมากที่สุดในโลก โดยลงแข่งขันได้เหรียญทองรวม 21 เหรียญ (ข้อมูล ณ วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2551)

เฟ็ลปส์ยังได้รับเลือกเป็นนักว่ายน้ำโลกประจำปี 2546, 2547, 2549, 2550 และนักว่ายน้ำอเมริกันประจำปี 2544, 2545, 2546, 2547, 2549, 2550

ชีวิตส่วนตัว

ไมเคิล เฟ็ลปส์ เกิดที่เมืองรอดเจอส์ฟอร์จ บริเวณชานเมืองของเมืองบอลทิมอร์ในรัฐแมริแลนด์ เขาเรียนจบระดับชั้นมัธยมที่ ทาวสัน ไฮสคูล เมื่อปี 2003 พ่อของเขาชื่อ เฟร็ด เฟ็ลปส์ เป็นตำรวจแห่งรัฐแมริแลนด์ และ เดบบี เดวิสสัน เฟ็ลปส์ แม่ของเขาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนประถม[2] ทั้งคู่หย่าร้างกันในปี ค.ศ. 1994 ไมเคิลมีชื่อเล่นว่า "เอ็มพี" มีพี่สาวอีกสองคนชื่อ วิทนีย์ และ ฮิลารี่ ซึ่งทั้งคู่เป็นนักว่ายน้ำเช่นกัน (โดยวิทนีย์ เกือบจะได้ลงแข่งว่ายน้ำให้กับทีมชาติสหรัฐอเมริกา ในโอลิมปิกเกมส์ 1996 แต่ต้องมาบาดเจ็บเสียก่อน)[3]

ในวัยเด็ก ไมเคิล เฟลป์ส เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) เขาเริ่มว่ายน้ำตั้งแต่อายุได้ 7 ปี ซึ่งเขาได้แรงบันดาลใจมาจากพี่สาวทั้ง 2 คน และเมื่ออายุ 10 ขวบ เขาก็สามารถทำลายสถิติระดับประเทศเมื่อเทียบกับเด็กอายุรุ่นเดียวกัน และในปี ค.ศ. 2000 ได้เข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ด้วยอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น[4]

เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004 ด้วยวัย 19 ปี เฟ็ลปส์ถูกจับในคดีเมาและขับ ที่เมืองซาลิสบิวรี่ รัฐแมริแลนด์ และต้องถูกปรับเงิน 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ และบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมเป็นเวลา 18 เดือน ด้วยการพูดรณรงค์ในเรื่องเมาไม่ขับตามโรงเรียนต่าง ๆ [5][6]

ระหว่างปี 2004 ถึงปี 2008 เฟ็ลปส์ ได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน โดยศึกษาด้านการตลาดและการจัดการด้านกีฬา โดยเฟ็ลปส์พูดว่าเขาจะกลับมาศึกษาต่อที่บัลติมอร์เพื่อเข้าคัดตัวไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 โดยร่วมกับบ็อบ บาวแมน เมื่อเขาออกจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนเขาพูดว่า "ผมไม่ได้ว่ายน้ำเพื่อใครอื่น ผมคิดว่าเราทั้งคู่ จะสามารถช่วยให้สโมสรนักกีฬาบัลติมอร์เหนือ (North Baltimore Athletic Club) ไปได้ไกลกว่านี้" โดยทางสโมสรออกมาประกาศว่า บาวแมนออกจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนเพื่อมาเป็นซีอีโอของสโมสร[7] เฟ็ลปส์ซื้อบ้านที่เฟลส์พอยต์ในบัลติมอร์ ที่ที่เขาจะกลับมาหลังจากโอลิมปิกฤดูร้อน 2008[8]

เพื่อนร่วมทีมของเฟ็ลปส์เรียกเขาว่า "โกเมอร์" เพราะเขาดูเหมือน โกเมอร์ ไพล์ ตัวละครในซิตคอมเรื่อง The Andy Griffith Show[9]

เขามีรายได้โดยประมาณ 5 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีในการโฆษณา บวกกับ 1 ล้านเหรียญจากบริษัทชุดว่ายน้ำสปีโดสำหรับชนะเหรียญทอง 8 เหรียญในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008[10]

อ้างอิง

  1. 2004 Olympic Games swimming results
  2. "USA Swimming — Michael Phelps". U.S. Olympic Committee. 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-06-26.
  3. "Life after Swimming", by Mo-Jo Isaac, Swimming World Magazine, November 2005.
  4. Paul McMullen, Amazing Pace: The Story of Olympic Champion Michael Phelps from Sydney to Athens to Beijing. New York: Rodale, Inc., 2006.
  5. "Olympic Champ Sentenced For DUI". CBS News. 2004-12-29. สืบค้นเมื่อ 2008-02-14.
  6. "Michael Phelps". Ask Men. สืบค้นเมื่อ 2008-05-25.
  7. Kevin Van Valkenburg (2008-05-11). "Phelps returns to attend NBAC fundraiser". The Baltimore Sun. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26. {{cite web}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  8. Kevin Van Valkenburg (2008-08-18). "Phelps to rest, reinvent". The Baltimore Sun. p. 1A. {{cite news}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  9. "Phelps's debut lives up to star-spangled expectation". NBC Sports. 2008-08-10.
  10. "Teammate's Final Stroke Keeps Phelps in Hunt for 8 Gold Medals". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link GA