ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กามสูตร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: xmf:კამა სუტრა
Thijs!bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: sa:कामसूत्रम्
บรรทัด 81: บรรทัด 81:
[[ro:Kama Sutra]]
[[ro:Kama Sutra]]
[[ru:Камасутра]]
[[ru:Камасутра]]
[[sa:कामसूत्रम्]]
[[sh:Kama sutra]]
[[sh:Kama sutra]]
[[simple:Kama Sutra]]
[[simple:Kama Sutra]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:31, 31 กรกฎาคม 2555

กามสูตร (สันสกฤต: कामसूत्र, กามสูตฺร) เป็นคัมภีร์อินเดียสมัยโบราณ ว่าด้วยเพศศึกษา หรือพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์ ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นผลงานมาตรฐานว่าด้วยความรัก ในวรรณคดีสันสกฤต เขียนโดยวาตสยายน (วาต-สยา-ยะ-นะ) โดยมีชื่อเต็มว่า "วาตฺสฺยายน กาม สูตฺร" (คัมภีร์ว่าด้วยความรักของวาตสยายน) นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในด้านสังคมวิทยา และแพทยศาสตร์ ด้วย

เชื่อกันว่า วาตสยายน ผู้เขียนคัมภีร์เล่มนี้ มีชีวิตอยู่ในราว คริสต์ศตวรรษ ที่ 1 - 6 อาจจะอยู่ในสมัยคุปตะ ของอินเดีย แต่ไม่สามารถระบุเวลาได้แน่ชัด

คัมภีร์กามสูตรประกอบด้วยโศลก 1,250 บท แบ่งเป็น 7 อธิกรณ์ (ภาค), 14 ปกรณ์ (ตอน) และ 36 อธยายะ (บท) ดังนี้

  1. สาธารณะ (साधारण Sadharna) (5 บท) ว่าด้วยความรัก การจำแนกประเภทของสตรี
  2. สัมปรโยคิกะ (सांप्रयोगिक Samparayogika) (10 บท) ว่าด้วยการจูบ การเล้าโลม การแสดงท่าร่วมรัก
  3. กันยาสัมปรยุกตกะ (कन्यासंप्रयुक्तक Kanya Samprayuktaka) (5 บท) ว่าด้วยการเลือกหาภรรยา การเกี้ยวพาราสี และการแต่งงาน
  4. ภารยาธิการิกะ (भार्याधिकारिक Bharyadhikarika) (2 บท) ว่าด้วยการประพฤติตัวอย่างเหมาะสมของภรรยา
  5. ปารทาริก (पारदारिक Paradika) (6 บท) ว่าด้วยการแอบมีชู้กับภรรยาคนอื่น หลักศีลธรรม
  6. ไวศิกะ (वैशिक Vaishika) (6 บท) ว่าด้วยหญิงคณิกา โสเภณี
  7. เอาปนิษทิกะ (औपनिषदिक Aupaniṣadika) (2 บท) ว่าด้วยการสร้างเสน่ห์ให้ตนเอง

กามสูตรกล่าวถึงท่าทางการร่วมเพศ 64 ท่า โดยเป็นการรวมวิธีร่วมรัก 8 วิธี และท่าเฉพาะของแต่ละวิธี 8 ท่า รวมทั้งหมด 64 ท่า ในคัมภีร์นี้เรียกว่า ศิลปะทั้ง 64 วาตสยายนเชื่อว่าเรื่องเพศนั้นไม่ใช่สิ่งผิด แต่การกระทำที่ผิดศีลธรรมเท่านั้นที่เป็นบาป

คัมภีร์กามสูตร เป็นคำสอนสำหรับหญิงชายที่ให้ความรู้ด้านเพศศึกษาอย่างครบถ้วน และละเอียด อย่างน่าพิศวง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงศีลธรรมและการปฏิบัติทางเพศในอินเดียสมัยนั้นด้วย

คัมภีร์เรื่องนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในภาษาอังกฤษ ที่เซอร์ ริชาร์ด ฟรานซิส เบอร์ตัน เมื่อ ค.ศ. 1883

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA