ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xpanderz (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
== เมื่อทรงพระเยาว์ ==
== เมื่อทรงพระเยาว์ ==
เมื่อพำนักในกรุงเทพฯ พระองค์มีสถานะเป็นพระราชบุตรบุญธรรมของกษัตริย์สยาม ทรงผนวชใน[[ธรรมยุติกนิกาย]] 1 พรรษา เมื่อสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดีขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชาแล้ว พระองค์ได้ส่งพระราชโอรส คือ นักองค์ราชาวดี เข้ามาทำราชการที่[[กรุงเทพมหานคร]]ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ต่อมา ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดีมีใบบอกเข้ามายังกรุงเทพมหานครว่า "ตนมีชนมายุเจริญล่วงมากไปแล้ว ขอพระราชทานให้พระเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงตั้งนักพระองค์ราชาวดี บุตรผู้ใหญ่เป็นมหาอุปราช [[นักพระองค์ศรีสวัสดิ์]]บุตรที่ 2 เป็นพระแก้วฟ้า ออกไปช่วยรักษาเมืองเขมร" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงแต่งตั้งพระราชบุตรของพระเจ้ากรุงกัมพูชาตามที่ขอมา<ref>ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๑, สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี โปรดเกล้า ฯ ให้ตีพิมพ์ ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑, กรุงเทพบรรณาการ, สี่กั๊กพระยาศรี, พระนคร</ref> เมื่อ พ.ศ. 2400
เมื่อพำนักในกรุงเทพฯ พระองค์มีสถานะเป็นพระราชบุตรบุญธรรมของกษัตริย์สยาม ทรงผนวชใน[[ธรรมยุติกนิกาย]] 1 พรรษา เมื่อสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดีขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชาแล้ว พระองค์ได้ส่งพระราชโอรส คือ นักองค์ราชาวดี เข้ามาทำราชการที่[[กรุงเทพมหานคร]]ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ต่อมา ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดีมีใบบอกเข้ามายังกรุงเทพมหานครว่า "ตนมีชนมายุเจริญล่วงมากไปแล้ว ขอพระราชทานให้พระเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงตั้งนักพระองค์ราชาวดี บุตรผู้ใหญ่เป็นมหาอุปราช [[นักพระองค์ศรีสวัสดิ์]]บุตรที่ 2 เป็นพระแก้วฟ้า ออกไปช่วยรักษาเมืองเขมร" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงแต่งตั้งพระราชบุตรของพระเจ้ากรุงกัมพูชาตามที่ขอมา<ref>ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๑, สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี โปรดเกล้า ฯ ให้ตีพิมพ์ ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑, กรุงเทพบรรณาการ, สี่กั๊กพระยาศรี, พระนคร</ref> เมื่อ พ.ศ. 2400
สวัสดีคับ(เติ้ล)จัดทำโดย ด.ช สุรศัดิ์ มัธยมานันท์


== ความยุ่งยากก่อนขึ้นครองราชย์ ==
== ความยุ่งยากก่อนขึ้นครองราชย์ ==
บรรทัด 31: บรรทัด 30:


เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นในกัมพูชา สยามได้เรียกตัวพระสีวัตถาเข้ากรุงเทพฯ ในขณะเดียวกัน นักองค์ราชาวดี ก็เดินทางเจชข้าสู่กรุงเทพฯเมื่อ 24 มกราคม พ.ศ. 2405 สยามได้ตัดสินใจสนับสนุนให้นักองค์ราชาวดีขึ้นเป็นกษัตริย์ และจัดทัพทางเรือไปส่งนักองค์ราชาวดีที่เมือง[[กำปอด]] และเดินทัพทางบกไปยังเมืองอุดงมีไชย ในระหว่างนี้ เกิดการกบฏอีก ออกญาสุทศ (บา) ได้รวบรวมกองทัพตั้งมั่นที่[[โพธิสัตว์]] สยามจึงส่งทัพจากเสียมเรียบและ[[จันทบุรี]]ไปปราบ นักองค์ราชาวดีจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ มีพระนามว่า "สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์"
เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นในกัมพูชา สยามได้เรียกตัวพระสีวัตถาเข้ากรุงเทพฯ ในขณะเดียวกัน นักองค์ราชาวดี ก็เดินทางเจชข้าสู่กรุงเทพฯเมื่อ 24 มกราคม พ.ศ. 2405 สยามได้ตัดสินใจสนับสนุนให้นักองค์ราชาวดีขึ้นเป็นกษัตริย์ และจัดทัพทางเรือไปส่งนักองค์ราชาวดีที่เมือง[[กำปอด]] และเดินทัพทางบกไปยังเมืองอุดงมีไชย ในระหว่างนี้ เกิดการกบฏอีก ออกญาสุทศ (บา) ได้รวบรวมกองทัพตั้งมั่นที่[[โพธิสัตว์]] สยามจึงส่งทัพจากเสียมเรียบและ[[จันทบุรี]]ไปปราบ นักองค์ราชาวดีจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ มีพระนามว่า "สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์"
สวัสดีคับ(เติ้ล)จัดทำโดย ด.ช สุรศักดิ์ มัธยมานันท์ 704


== ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสและการเข้าเป็นรัฐในอารักขา ==
== ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสและการเข้าเป็นรัฐในอารักขา ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:47, 22 กรกฎาคม 2555

พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร

พระบาทสมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์
พระกรุณา พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม พรหมบริรักษ์ พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
ครองราชย์กันยายน พ.ศ. 2403 - 24 เมษายน พ.ศ. 2447
รัชสมัย44 ปี
ราชาภิเษกปี พ.ศ. 2498พระบรมมหาราชวังเขมรินทร์ พระที่นั่งเทวาวินิจฉัย กรุงพนมเปญ
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี
รัชกาลถัดไปพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์
ประสูติกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2377
อังกอร์โบเร เสียมเรียบ
สวรรคต24 เมษายน พ.ศ. 2447 (70 ปี)
พระราชบุตรพระองค์ยุคนธร
สมเด็จกรมพระนโรดมสุทธารส
พระองค์เจ้านโรดมพงางาม
พระกรุณา พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม พรหมบริรักษ์ พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี
ราชวงศ์ราชวงศ์นโรดม
พระราชบิดาสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี
พระราชมารดาพระปิโยพระบรมท้าวธิดา (นักนางแป้น)

สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ หรือ นักองค์ราชาวดี เขมร: ព្រះបាទនរោត្តម เสด็จพระราชสมภพเมี่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2377 ที่อังกอร์โบเร (เสียมราฐ) [1][2] และเสด็จสวรรคตเมี่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2447 [3] ทรงเป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชาองค์ที่ 2 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาทรงเป็นพระราชโอรสของ สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี (นักองค์ด้วง) กษัตริย์แห่งกัมพูชาองค์ที่ 1 และเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดาของ พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ (นักองค์สีสุวัตถิ์) กษัตริย์แห่งกัมพูชาองค์ที่ 3 ซึ่งทรงขึ้นครองราชย์เมี่อ พ.ศ. 2447 สืบต่อจากพระองค์

เมื่อทรงพระเยาว์

เมื่อพำนักในกรุงเทพฯ พระองค์มีสถานะเป็นพระราชบุตรบุญธรรมของกษัตริย์สยาม ทรงผนวชในธรรมยุติกนิกาย 1 พรรษา เมื่อสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดีขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชาแล้ว พระองค์ได้ส่งพระราชโอรส คือ นักองค์ราชาวดี เข้ามาทำราชการที่กรุงเทพมหานครในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดีมีใบบอกเข้ามายังกรุงเทพมหานครว่า "ตนมีชนมายุเจริญล่วงมากไปแล้ว ขอพระราชทานให้พระเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงตั้งนักพระองค์ราชาวดี บุตรผู้ใหญ่เป็นมหาอุปราช นักพระองค์ศรีสวัสดิ์บุตรที่ 2 เป็นพระแก้วฟ้า ออกไปช่วยรักษาเมืองเขมร" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงแต่งตั้งพระราชบุตรของพระเจ้ากรุงกัมพูชาตามที่ขอมา[4] เมื่อ พ.ศ. 2400

ความยุ่งยากก่อนขึ้นครองราชย์

พระนโรดม

หลังจากสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดีเสด็จสวรรคตลง เมื่อ พ.ศ. 2403 ได้เกิดความยุ่งยากในการสืบราชสมบัติของกัมพูชา เมื่อพระสีวัตถา พระอนุชาของนักองค์ราชาวดี พระมหาอุปราช ซึ่งอยู่ที่กรุงเทพฯได้ขอกลับไปถวายบังคมพระบรมศพ เมื่อมาถึงกัมพูชา พระสีวัตถาแสดงความต้องการที่จะขึ้นเป็นกษัตริย์และได้รับการสนับสนุนจากสนองโสหรือสนองสู ผู้เป็นลุง ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายของพระสีวัตถากับนักองค์ราชาวดี

ในระหว่างความขัดแย้งนั้น สนองโสได้รวบรวมขุนนางไปตั้งมั่นที่กัมพูชาตะวันออกแล้วยกทัพเข้ามายึดพนมเปญและเมืองอุดงมีไชยได้ นักองค์ราชาวดีหนีไปพระตะบองซึ่งขณะนั้นอยูในพระราชอาณาเขตสยาม ขุนนางฝ่ายตรงข้ามของสนองโสได้รวบรวมกำลังเข้าต่อต้าน และเป็นฝ่ายชนะ จับตัวสนองโสได้ แต่สนองโสหลบหนีไปสู่อินโดจีนฝรั่งเศสได้ในที่สุด

เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นในกัมพูชา สยามได้เรียกตัวพระสีวัตถาเข้ากรุงเทพฯ ในขณะเดียวกัน นักองค์ราชาวดี ก็เดินทางเจชข้าสู่กรุงเทพฯเมื่อ 24 มกราคม พ.ศ. 2405 สยามได้ตัดสินใจสนับสนุนให้นักองค์ราชาวดีขึ้นเป็นกษัตริย์ และจัดทัพทางเรือไปส่งนักองค์ราชาวดีที่เมืองกำปอด และเดินทัพทางบกไปยังเมืองอุดงมีไชย ในระหว่างนี้ เกิดการกบฏอีก ออกญาสุทศ (บา) ได้รวบรวมกองทัพตั้งมั่นที่โพธิสัตว์ สยามจึงส่งทัพจากเสียมเรียบและจันทบุรีไปปราบ นักองค์ราชาวดีจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ มีพระนามว่า "สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์"

ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสและการเข้าเป็นรัฐในอารักขา

ไฟล์:King Ang Doung and King Norodom.jpg
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระนโรดม หริรักษ์รามาธิบดี(ซ้าย)และพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์(ขวา)
การขยายตัวของอินโดจีนฝรั่งเศส

หลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน ฝรั่งเศสได้เข้ามาขอให้ทำสนธิสัญญาเข้าเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส ซึ่งพระนโรดมยินยอมที่จะเข้าเป็นรัฐในอารักขา ปัญหาที่ตามมาคือพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์ซึ่งต้องใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่กรุงเทพฯ สยามกำหนดให้พระองค์ไปทำพิธีบรมราชาภิเษกที่กรุงเทพฯ แต่ฝรั่งเศสไม่ยอม สุดท้ายจึงตกลงกัน โดยสยามอัญเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ไปอภิเษกพระนโรดมร่วมกับฝ่ายฝรั่งเศสที่กัมพูชา

ในช่วงแรกของการเข้าเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสค่อนข้างราบรื่น แต่เมื่อฝรั่งเศสเปลี่ยนนโยบายการปกครองให้เข้มงวดขึ้นจึงเกิดปัญหาขัดแย้งกับข้าหลวงฝรั่งเศส พระองค์ถูกบังคับให้ลงนามในการปฏิรูปกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2427 ทำให้เกิดกบฏชาวนาที่ยืดเยื้อตามมา กบฏยุติลงเมื่อ พ.ศ. 2430 เมื่อฝรั่งเศสเจรจากับพระองค์สำเร็จ พระองค์จึงประกาศให้ยุติการกบฏและประกาศนิรโทษกรรม

ปลายรัชกาล

เจดีย์ที่อุดงกับรูปปั้นพระนโรดมขี่ม้า

ในช่วงนี้ ฝรั่งเศสพยายามจะลิดรอนอำนาจของกษัตริย์กัมพูชาและเพิ่มอำนาจให้ผู้ว่าการสูงสุดของฝรั่งเศส แต่พระองค์ไม่ยินยอม พระโอรสของพระองค์คือพระยุคนธรได้เดินทางไปยังฝรั่งเศสเพื่อคัดค้านนโยบายนี้จนถูกถอดจากบรรดาศักดิ์และต้องลี้ภัยไปสยาม พระองค์เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2447 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ มีขึ้นที่กรุงพนมเปญ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2449 ปัจจุบันมีพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ขี่ม้าอยู่ในวัดอุดง

อ้างอิง

  1. จาก สกุลไทย ฉบับที่ 2605 ปีที่ 50 21 กันยายน 2547 โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์ ระบุว่าพระราชสมภพที่ กรุงเทพ
  2. ธำรงศักดิ์,2552 ระบุว่าพระราชสมภพที่กรุงเทพฯเช่นกัน
  3. http://freepages.genealogy.rootsweb.ancestry.com/~royalty/cambodia/i134.html#I134
  4. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๑, สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี โปรดเกล้า ฯ ให้ตีพิมพ์ ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑, กรุงเทพบรรณาการ, สี่กั๊กพระยาศรี, พระนคร
  • ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. สยามประเทศไทยกับดินแดนในกัมพูชาและลาว. กทม. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์. 2552 หน้า 31-38