ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มนุษย์นกฮูก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: vi:Người cú
EleferenBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: ru:Человек-сова
บรรทัด 50: บรรทัด 50:
[[lt:Žmogus-pelėda]]
[[lt:Žmogus-pelėda]]
[[ml:മൂങ്ങമനുഷ്യൻ]]
[[ml:മൂങ്ങമനുഷ്യൻ]]
[[ru:Человек-сова]]
[[sv:Ugglemannen]]
[[sv:Ugglemannen]]
[[vi:Người cú]]
[[vi:Người cú]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:55, 15 กรกฎาคม 2555

ไฟล์:Owlman.jpg
ภาพวาดมนุษย์นกฮูก โดย จูน เมลลิ่ง เด็กหญิงอายุ 12 ขวบ ผู้พบเห็นรายแรก

มนุษย์นกฮูก (อังกฤษ: Owlman) เป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับที่มีผู้อ้างว่าพบเห็นในประเทศอังกฤษ ในยุคทศวรรษที่ 70 ที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ผสมกับนกฮูกหรือนกเค้าแมวขนาดใหญ่

บางครั้ง มนุษย์นกฮูก ยังมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น มนุษย์นกฮูก คอร์นิช (Cornish Owlman) หรือ มนุษย์นกฮูกแห่งมิวนาน (The Owlman of Mawnan) เป็นต้น

การพบเห็นครั้งแรก

มนุษย์นกฮูก ถูกพบเห็นครั้งแรกในวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1976 โดยเด็กผู้หญิงอายุ 12 ที่ชื่อ จูน เมลลิ่ง (June Melling) และน้องสาวของเธออายุ 9 ขวบ วิคกี้ (Vicky) จากแลงคาสเตอร์ โดยทั้งหมดได้เดินทางท่องเที่ยวในวันหยุดที่มิวนาน สมิธ ซึ่งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตอนใต้ของมณฑลคอร์นวอลล์ ขณะเดินผ่านป่าใกล้โบสถ์มิวนาน พวกเธอเห็นสัตว์ปีกขนาดใหญ่โฉบเหนืออาคารโบสถ์ เด็ก ๆ กลัวและวิ่งไปหาพ่อทันที แต่แทนที่ ดอน เมลลิ่ง (Don Melling) พ่อของเด็ก ๆ จะนำความนี้ไปบอกแก่สื่อมวลชน เขากลับนำไปบอกแก่นักสืบสวนเรื่องลึกลับเหนือธรรมชาติ แอนโทนี 'ด็อก' ชิลด์ (Anthony 'Doc' Shiels) ซึ่งชิลด์ก็ได้นำเรื่องทั้งหมดนี้เขียนเป็นบันทึกและนำไปสู่การล่าหาสัตว์ประหลาดตัวนี้

แต่ก็มีคำถามหลายคำถามตามมาเกี่ยวกับกรณีนี้ คือ

  • ทำไมแทนที่ดอนจะนำความไปบอกแก่สื่อมวลชนหรือหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น แต่กลับไปบอกเล่าแก่นักสืบสวนเรื่องลึกลับเหนือธรรมชาติแทน
  • จุดที่เด็ก ๆ ทั้ง 2 กล่าวอ้างว่าได้พบเห็นนั้น เป็นจุดที่มีผู้คนใช้เดินเล่นและมักจะจูงสุนัขไปด้วย ไปมาอยู่เป็นประจำ ทำไมถึงไม่มีใครเห็น
  • ชิลด์กล่าวว่าครอบครัวเมลลิ่งขวัญผวาจากการพบเห็น จนยกเลิกวันหยุดก่อนกำหนด 3 วัน และดอนไม่อนุญาตให้ลูกสาวของเขาทั้ง 2 ให้สัมภาษณ์ ชิลด์มี แต่มีภาพสเก็ตในวันที่ 12 มิถุนายน ซึ่งชิลด์นั้นเป็นนักหลอกลวง อาจจะประกาศตัวเองเพื่อแกล้งทำภาพถ่ายจำนวนมากและถ่ายวีดีโอสร้างเรื่อง มนุษย์นกฮูก นี้ขึ้นมาเอง
  • ทำไมถึงไม่มีข้อมูลเพิ่มเติม

การพบเห็นครั้งที่ 2

โบสถ์มิวนาน สถานที่พบเห็น

วันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 2 เดือนหลังจากการพบเห็นครั้งแรก เด็กหญิงอายุ 14 ชื่อ เชลลี่ แชปแมน (Sally Chapman) ไปเข้าค่ายกับเพื่อน บาบาร่า เพอร์รี่ (Barbara Perry) ในป่าใกล้กับโบสถ์ ตามบันทึกของเธอ เธออ้างว่าขณะยืนอยู่นอกเต็นท์ เธอได้ยินเสียงร้องดังจึงหันไปดูและพบสิ่งที่เหมือนนกฮูกขนาดใหญ่แต่เป็นคนที่มีหูแหลมและดวงตาสีแดงก่ำ เธอบอกว่ามันบินขึ้นไปบนอากาศ และการพบเห็นสิ่งที่คล้ายคลึงกันนี้ ยังถูกรายงานอีก 2 ครั้ง ใน 2 ปีต่อมาในเดือนมิถุนายนและสิงหาคม ค.ศ. 1978 โดยทั้งหมดนี้พบเห็นในบริเวณเดียวกันด้วย คือ โบสถ์มิวนาน

ต่อมาเธอได้วาดภาพและบันทึกเรื่องราวทั้งหมดให้แก่ แอนโทนี่ ชิลด์ เช่นเดียวกับกรณีของครอบครัวเชลลิ่ง โดยเธอได้สเก็ตภาพก่อนจูนเสียอีก แต่เป็นไปได้ว่า เธออาจจะพบเห็นสิ่งอื่นแต่ถูกชิลด์โน้มน้าวให้เชื่อว่า สิ่งที่เธอพบเห็นนั้นเป็นสัตว์ประหลาด

ในปี ค.ศ. 1989 มีชายหนุ่มคนหนึ่งและแฟนสาวของเขา อ้างว่าพบเห็นสัตว์ชนิดหนึ่งสูงประมาณ 5 ฟุต มีเท้าสีดำขนาดใหญ่และนิ้วเท้าหัวแม่โป้งขนาดใหญ่ทั้ง 2 ข้าง ตามีสีเทาและสีน้ำตาล

ในปี ค.ศ. 1995 มีนักศึกษาหญิงรายหนึ่งจากชิคาโก รายงานว่าพบเห็น "มนุษย์นก" (Man-bird) ที่มีใบหน้าที่น่ากลัว ปากกว้าง ดวงตาสว่าง หูแหลม และมีปีกแหลมคมเป็นกรงเล็บ โดยเธอได้ส่งจดหมายเล่าความทั้งหมดนี้ส่งแก่ หนังสือพิมพ์ในเมืองทรูโร

การสันนิษฐาน

เจเน็ท และ โคลิน บอร์ด (Janet, Colin Bord) นักสืบสวนเรื่องเหนือธรรมชาติชาวอังกฤษ กล่าวว่า โบสถ์มิวนานนั้นได้ถูกสร้างมาก่อนหน้านั้นนานแล้ว จึงเชื่อว่า มนุษย์นกฮูกนั้นอาจจะเป็นการสำแดงกำลังหรืออิทธิฤทธิเหนือคริสต์จักรหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา แต่อย่างไรก็ดี ในปี ค.ศ. 1989 พวกเขาได้ส่งรายงานในหนังสือชื่อ Modern Mysteries of the World กล่าวว่า เชื่อว่ามนุษย์นกฮูกที่มีพยานพบเห็นหลายคนนั้นอาจจะเป็นนกขนาดใหญ่ที่หลุดจากกรงเลี้ยงมา

ในเรื่องนี้ คาร์ล ชูเกอร์ (Karl Shuker) นักสัตว์ประหลาดวิทยาชื่อดังชาวอังกฤษ กล่าวสนับสนุนข้อคิดดังกล่าว โดยเชื่อว่า มันอาจจะเป็นนกฮูกในสกุล นกเค้าเหยี่ยว (Bubo spp.) ซึ่งเป็นนกฮูกขนาดใหญ่ ขนาดเมื่อโตเต็มที่อาจสูงเกิน 2 ฟุต และกางปีกได้กว้างถึง 6 ฟุต และที่สำคัญนกเหล่านี้ได้อาศัยอยู่ในยอร์คเชียร์เหนือ และสามารถบินข้ามช่องแคบอังกฤษได้ด้วย

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

มนุษย์นกฮูกได้ถูกอ้างอิง ในวัฒนธรรมสมัยนิยมต่าง ๆ เช่น การเป็นตัวการ์ตูนที่ปรากฏในการ์ตูนชุด แบทแมน ของดีซีคอมิกส์ และในสารคดีของดิสคัฟเวอรี่ แชนนอล ในชุด Lost Tapes (นำมาออกอากาศในประเทศไทยช่วงกลางปี พ.ศ. 2552) ซึ่งเป็นสารคดีเกี่ยวเรื่องราวของสัตว์ประหลาดที่โจมตีใส่มนุษย์ชนิดต่าง ๆ ก็มีเรื่องของมนุษย์นกฮูกนี้ด้วย ในชื่อเรื่องว่า Death Raptor

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น