ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุหนัต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Buddhaamaatya (คุย | ส่วนร่วม)
Buddhaamaatya ย้ายหน้า สุนัต ไปยัง สุหนัต ทับหน้าเปลี่ยนทาง: พจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:50, 20 มิถุนายน 2555

คีตาน (อาหรับ: ختان) คนไทยมักเรียกว่า สุหนัต (สุ-หนัด) หมายถึง การขริบหนังหุ้มปลายองคชาต คำว่า สุหนัต เป็นคำที่ยืมจากภาษามลายู ซูนัต ซึ่งมีความหมายเดียวกัน ยืมมาจากภาษาอาหรับ ซุนนะหฺ แปลว่า แนวทางศาสนทูต

บ่อยครั้งที่เรียกว่า เข้าสุนัต ซึ่งเป็นการยืมจากคำแรกของวลี มาซุก ญาวี (แปลว่า เข้าญาวี) ในภาษามลายู หมายถึง เข้า (ศาสนาของ) คนญาวี (มลายูมุสลิม) ด้วยการขริบหนังที่ปลายอวัยวะเพศ

การขริบหนังองคชาตเป็นประเพณีของชาวมุสลิม ชาวยิว และคริสต์ศาสนิกชนบางนิกาย เช่นเดียวกับเผ่าหลายเผ่าในแอฟริกา ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นนิยมขริบเนื่องจากเหตุผลทางสุขภาพ

ประโยชน์ของสุนัต

การขริบหนังหุ้มปลายองคชาตช่วยลดโรคติดต่อทางเพศ ล่าสุดมีการวิจัยพบว่า ผู้ที่ทำสุนัตแล้วสามารถลดการติดเอดส์ได้ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ องค์การอนามัยโลกและสหประชาชาติ ได้แนะนำให้ผู้คนในประเทศที่มีผู้ติดเอดส์มาก ขริบปลายหนังองคชาต [1]

อ้างอิง

  1. http://www.metro.se/se/article/2007/03/28/15/5056-45/index.xml