ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัศมีวานเดอร์วาลส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 35: บรรทัด 35:


* [[van der Waals constant]]
* [[van der Waals constant]]
* สมการวานเดอร์วาลส์ (ภาษาอังกฤษ) [http://en.wikipedia.org/wiki/Van_der_Waals_equation]
* [[สมการวานเดอร์วาลส์]]
* แรงวานเดอร์วาลส์ (ภาษาอังกฤษ)[http://en.wikipedia.org/wiki/Van_der_Waals_force]
* [[แรงวานเดอร์วาลส์]]
* ศักยภาพวานเดอร์วาลส์ (ภาษาอังกฤษ)[http://en.wikipedia.org/wiki/Van_der_Waals_potential]
* [[ศักยภาพวานเดอร์วาลส์]]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:21, 19 มิถุนายน 2555

ธาตุ รัศมี (Å)
ไฮโดรเจน 1.20
คาร์บอน 1.7
ไนโตรเจน 1.55
ออกซิเจน 1.52
ฟลูออรีน 1.35
ฟอสฟอรัส 1.9
กำมะถัน 1.85
คลอรีน 1.8

รัศมีวานเดอร์วาลส์ (อังกฤษ: Van der Waals radius)ของอะตอม คือรัศมีของทรงกลมแข็งในจินตนาการที่สามารถนำมาใช้เป็นรูปจำลองของอะตอมได้หลายวัตถุประสงค์ รัศมีวานเดอร์วาลส์กำหนดโดยการวัดที่ว่างระหว่างคู่ของอะตอมที่ไม่เชื่อมติดกันของแก้วเจียรไน

รัศมีวานเดอร์วาลส์เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามชื่อของโยฮันเนส ดิเดอริก วานเดอร์วาลส์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เมื่อ พ.ศ. 2453

แก๊สจริงจะไม่มีพฤติกรรมตรงตามการทำนาย ในบางกรณี การเบี่ยงเบนอาจเกิดขึ้นได้มาก ตัวอย่าง เช่น แก๊สอุดมคติอาจไม่มีทางเป็นของเหลวหรือของแข็งได้เลยไม่ว่าถูกทำให้เย็นหรือถูกอัดแน่นอย่างไร ดังนั้นการปรับเปลี่ยนกฎแก๊สอุดมคติ , จึงเกิดขึ้น โดยเฉพาะสมการแห่งสถานภาพของวานเดอร์วาลส์ที่มีประโยชน์และเป็นที่รู้จักกันดี สมการแห่งสถานภาพของวานเดอร์วาลส์: , ซึ่ง a และ b คือตัวแปรเสริมที่ปรับได้ ที่ได้จากการทดลองการวัดที่ทำกับแก๊สจริง ค่าของมันจะผันแปรต่างกันไปตามชนิดของแก๊ส

สมการวานเดอร์วาลส์ยังมีผลในการแปลความหมายทางจุลภาคอีกด้วย โมเลกุลมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ปฏิสัมพันธ์จะผลักกันแรงมากที่ระยะไกล้กันมาก และจะอ่อนแรงลงที่ระยะกลางและจะหมดไปในระยะที่ยาวขึ้น จะต้องทำการแก้กฏแก๊สอุดมคติเมื่อนำแรงดึงดูดและแรงผลักมาร่วมพิจารณา ตัวอย่างเช่น การผลักซึ่งกันและกันระหว่างโมเลกุลจะมีผลต่อการแยกโมเลกุลอื่นๆ โดยรอบออกไปจากเขตแดนเป็นระยะที่แน่นอนระยะหนึ่งรอบๆ โมเลกุลนั้น ดังนั้น เศษส่วนของที่ว่างทั้งหมดจะไม่มีที่ไว้ให้สำหรับแต่ละโมเลกุลในขณะที่มันเคลื่อนไหวอย่างไม่เป็นระบบ ในสมการสถานภาพ ปริมาตรแห่งการแยกตัว (nb) นี้ควรเอาไปลบออกจากปริมาตรของภาชนะ (V)ดังนั้น: (V - nb) เงื่อนไขอีกข้อหนึ่งที่นำมาใช้ในสมการวานเดอร์วาลส์คือ , ซึ่งเป็นการพรรณาถึงแรงดึงดูดที่แผ่วระหว่างโมเลกุลต่างๆ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเมื่อค่าของ n เพิ่มขึ้น หรือค่าของ V ลดลงและเมื่อโมเลกุลเริ่มเกาะกลุ่มกันหนาแน่นขึ้น

ปริมาตรวานเดอร์วาลส์

ปริมาตรวานเดอร์วาลส์ของ โมเลกุล หรือระบบของโมเลกุล คือ ผลรวมของยูเนียนของทรงกลมอะตอมของวานเดอร์วาลส์ในระบบ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • L. Pauling, The Nature of the Chemical Bond, Cornell University Press, USA, 1945.

แหล่งข้อมูลอื่น