ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท้าวซายคำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Poonyo (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{กล่องข้อมูล เชื้อพระวงศ์
{{กล่องข้อมูล เชื้อพระวงศ์
| สีพิเศษ = #ffcc00
| สีพิเศษ = #ffcc00
บรรทัด 35: บรรทัด 34:
แต่หลังพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้ไม่นานก็ถูกลอบปลงพระชนม์ ดังตำนานพระธาตุหริภุญชัยได้กล่าวไว้ว่า ''"...พระยาซายคำถือเมืองได้ ๖ ปี มีลูกหญิงก็หลาย มีลูกชายก็มาก เถิงปีก่าดหม้า เดือน ๑๑ แรมค่ำ ๑ วันอาทิตย์ ไทยระวายยี'' ([[พ.ศ. 2086]]) ''ชาวดาบเรือนหื้อเสียชีวิตในคุ้มน้อยทั้งมวนแล..."''<ref>'''ตำนานพระธาตุหริภุญชัย'''. หน้า 31</ref> แสดงว่าท้าวซายคำได้ถูกเหล่าขุนนางลอบปลงพระชนม์ในคุ้มพร้อมด้วยครอบครัว โดยตำนานเมืองเชียงใหม่ได้ให้เหตุผลไว้ว่า ''"...เสวยเมืองบ่ชอบสราชธัมม์ เสนาอามาตย์พร้อมกัน ข้าพ่อท้าวชายเสียในปลีก่าเหม้า สก ๙๐๕ ตัว..."''<ref name="ตำนาน"/> แต่อย่างไรก็ตามหลักฐานเกี่ยวกับการลอบปลงพระชนม์ก็มีน้อยมากกว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับเหตุการณ์ครั้งนี้
แต่หลังพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้ไม่นานก็ถูกลอบปลงพระชนม์ ดังตำนานพระธาตุหริภุญชัยได้กล่าวไว้ว่า ''"...พระยาซายคำถือเมืองได้ ๖ ปี มีลูกหญิงก็หลาย มีลูกชายก็มาก เถิงปีก่าดหม้า เดือน ๑๑ แรมค่ำ ๑ วันอาทิตย์ ไทยระวายยี'' ([[พ.ศ. 2086]]) ''ชาวดาบเรือนหื้อเสียชีวิตในคุ้มน้อยทั้งมวนแล..."''<ref>'''ตำนานพระธาตุหริภุญชัย'''. หน้า 31</ref> แสดงว่าท้าวซายคำได้ถูกเหล่าขุนนางลอบปลงพระชนม์ในคุ้มพร้อมด้วยครอบครัว โดยตำนานเมืองเชียงใหม่ได้ให้เหตุผลไว้ว่า ''"...เสวยเมืองบ่ชอบสราชธัมม์ เสนาอามาตย์พร้อมกัน ข้าพ่อท้าวชายเสียในปลีก่าเหม้า สก ๙๐๕ ตัว..."''<ref name="ตำนาน"/> แต่อย่างไรก็ตามหลักฐานเกี่ยวกับการลอบปลงพระชนม์ก็มีน้อยมากกว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับเหตุการณ์ครั้งนี้


==เหตุการณ์ภายหลังการลอบปลงพระชนม์ ==
== เหตุการณ์ภายหลังการลอบปลงพระชนม์ ==
หลังจากลอบปลงพระชนม์แล้ว ก็ได้นำ[[พระเมืองเกษเกล้า]]พระราชบิดากลับมาครองราชย์โดยครองราชย์ไม่ถึงสองปี ก็ถูกแสนคราวเหล่าขุนนาง[[ไทใหญ่]]ลอบปลงพระชนม์ในปี [[พ.ศ. 2088]] แผ่นดินล้านนาจึงว่างกษัตริย์และเกิดความแตกแยกถึงขั้นสงครามกลางเมือง ก่อนที่ยก[[พระนางจิรประภามหาเทวี]] พระอัครมเหสีในพระเมืองเกษเกล้า และพระราชมารดาในท้าวซายคำ ขึ้นเป็นกษัตรีย์พระองค์แรกในแผ่นดินล้านนา
หลังจากลอบปลงพระชนม์แล้ว ก็ได้นำ[[พระเมืองเกษเกล้า]]พระราชบิดากลับมาครองราชย์โดยครองราชย์ไม่ถึงสองปี ก็ถูกแสนคราวเหล่าขุนนาง[[ไทใหญ่]]ลอบปลงพระชนม์ในปี [[พ.ศ. 2088]] แผ่นดินล้านนาจึงว่างกษัตริย์และเกิดความแตกแยกถึงขั้นสงครามกลางเมือง ก่อนที่ยก[[พระนางจิรประภามหาเทวี]] พระอัครมเหสีในพระเมืองเกษเกล้า และพระราชมารดาในท้าวซายคำ ขึ้นเป็นกษัตรีย์พระองค์แรกในแผ่นดินล้านนา


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
*'''ตำนานพระธาตุหริภุญไชย'''. พิมพ์เป็นอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์), 29 พฤษภาคม 2502
* '''ตำนานพระธาตุหริภุญไชย'''. พิมพ์เป็นอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์), 29 พฤษภาคม 2502
*'''ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี'''. เชียงใหม่:ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฎเชียงใหม่, 2538
* '''ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี'''. เชียงใหม่:ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฎเชียงใหม่, 2538
* [[สรัสวดี อ๋องสกุล]]. '''ประวัติศาสตร์ล้านนา'''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 175-176 ISBN 978-974-8132-15-0
* [[สรัสวดี อ๋องสกุล]]. '''ประวัติศาสตร์ล้านนา'''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 175-176 ISBN 978-974-8132-15-0
{{จบอ้างอิง}}


{{เริ่มกล่อง}}
{{เริ่มกล่อง}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:24, 21 พฤษภาคม 2555

ท้าวซายคำ
กษัตริย์แห่งล้านนา
ครองราชย์พ.ศ. 2081-2086
รัชกาลก่อนหน้าพระเมืองเกษเกล้า (ครั้งที่ 1)
รัชกาลถัดไปพระเมืองเกษเกล้า (ครั้งที่ 2)
ประสูติพ.ศ. 2051
สวรรคตพ.ศ. 2086
พระราชบุตรพระตนคำ
พระตนทิพ
ราชวงศ์มังราย
พระราชบิดาพระเมืองเกษเกล้า
พระราชมารดาพระนางจิรประภามหาเทวี

ท้าวซายคำ ทรงเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์มังราย แห่งอาณาจักรล้านนา ทรงครองราชย์ในปี พ.ศ. 2081 - 2086 รวมระยะเวลา 5 ปี พระองค์ทรงยึดอำนาจจากพระญาเมืองเกษเกล้า ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์ เมื่อพระองค์ครองราชย์ได้แค่ 5 ปี พระองค์ก็ถูกปลงพระชนม์เนื่องจากพระองค์ไม่อยู่ในทศพิธราชธรรม และเหล่าขุนนางก็อัญเชิญพระญาเมืองเกษเกล้าขึ้นครองต่อ ในสมัยของท้าวซายคำนี้ มีเหตุความวุ่นวายมากมาย เกิดการจลาจล และขุนนางต่างๆแยกออกเป็นกลุ่มๆ ต่อสู้ช่วงชิงอำนาจกัน

ครองราชย์

พระราชบิดาของท้าวซายคำ คือ พระเมืองเกษเกล้าได้เกิดข้อขัดแย้งกับเหล่าบรรดาขุนนางในปี พ.ศ. 2078 ขุนนางลำปางได้เป็นแกนนำการก่อกบฏ ดังข้อความตอนหนึ่งว่า "...เสนาทังหลาย เปนต้นว่า หมื่นสามล้านกินนคร ๑ ลูกหมื่นสามล้านเชื่อว่าหมื่นหลวงชั้นนอก ๑ หมื่นยี่อ้าย ๑ จักกะทำคดแก่เจ้าพระญาเกสเชฏฐราชะ พระเปนเจ้ารู้ จิ่งหื้อเอาหมื่นส้อยสามล้านไพข้าเสียวันนั้นแล..."[1] แสดงว่าขุนนางตามภูมิภาค ต่างไม่พอใจพระมหากษัตริย์ และเกิดความขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้น จนในที่สุด พ.ศ. 2081 ขุนนางมีอำนาจเหนือกษัตริย์และได้ร่วมกันปลดพระเมืองเกษเกล้าออก แล้วส่งไปครองเมืองน้อย

หลังจากเหตุการณ์นั้น เหล่าขุนนางจึงได้อัญเชิญท้าวซายคำขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แทนพระราชบิดา ท้าวซายคำครองราชย์ในปี พ.ศ. 2081 ขณะมีพระชนมายุ 24 พรรษา

ถูกลอบปลงพระชนม์

แต่หลังพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้ไม่นานก็ถูกลอบปลงพระชนม์ ดังตำนานพระธาตุหริภุญชัยได้กล่าวไว้ว่า "...พระยาซายคำถือเมืองได้ ๖ ปี มีลูกหญิงก็หลาย มีลูกชายก็มาก เถิงปีก่าดหม้า เดือน ๑๑ แรมค่ำ ๑ วันอาทิตย์ ไทยระวายยี (พ.ศ. 2086) ชาวดาบเรือนหื้อเสียชีวิตในคุ้มน้อยทั้งมวนแล..."[2] แสดงว่าท้าวซายคำได้ถูกเหล่าขุนนางลอบปลงพระชนม์ในคุ้มพร้อมด้วยครอบครัว โดยตำนานเมืองเชียงใหม่ได้ให้เหตุผลไว้ว่า "...เสวยเมืองบ่ชอบสราชธัมม์ เสนาอามาตย์พร้อมกัน ข้าพ่อท้าวชายเสียในปลีก่าเหม้า สก ๙๐๕ ตัว..."[1] แต่อย่างไรก็ตามหลักฐานเกี่ยวกับการลอบปลงพระชนม์ก็มีน้อยมากกว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับเหตุการณ์ครั้งนี้

เหตุการณ์ภายหลังการลอบปลงพระชนม์

หลังจากลอบปลงพระชนม์แล้ว ก็ได้นำพระเมืองเกษเกล้าพระราชบิดากลับมาครองราชย์โดยครองราชย์ไม่ถึงสองปี ก็ถูกแสนคราวเหล่าขุนนางไทใหญ่ลอบปลงพระชนม์ในปี พ.ศ. 2088 แผ่นดินล้านนาจึงว่างกษัตริย์และเกิดความแตกแยกถึงขั้นสงครามกลางเมือง ก่อนที่ยกพระนางจิรประภามหาเทวี พระอัครมเหสีในพระเมืองเกษเกล้า และพระราชมารดาในท้าวซายคำ ขึ้นเป็นกษัตรีย์พระองค์แรกในแผ่นดินล้านนา

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ตำนานเมืองเชียงใหม่. หน้า 87
  2. ตำนานพระธาตุหริภุญชัย. หน้า 31
  • ตำนานพระธาตุหริภุญไชย. พิมพ์เป็นอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์), 29 พฤษภาคม 2502
  • ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่:ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฎเชียงใหม่, 2538
  • สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 175-176 ISBN 978-974-8132-15-0
ก่อนหน้า ท้าวซายคำ ถัดไป
พระเมืองเกษเกล้า (ครั้งที่ 1)
กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา
(พ.ศ. 2081 - พ.ศ. 2086)
พระเมืองเกษเกล้า (ครั้งที่ 2)