ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาสตราจารย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 44: บรรทัด 44:
== จำนวนศาสตราจารย์ในประเทศไทย ==
== จำนวนศาสตราจารย์ในประเทศไทย ==
ข้อมูลจำนวนผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง "ศาสตราจารย์" ของประเทศไทย ณ วันที่ [[6 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2547]] รวม 290 คน ดังต่อไปนี้
ข้อมูลจำนวนผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง "ศาสตราจารย์" ของประเทศไทย ณ วันที่ [[6 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2547]] รวม 290 คน ดังต่อไปนี้
# [[มหาวิทยาลัยมหิดล]] 119 คน
# [[มหาวิทยาลัยมหิดล]] 132 คน
# [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] 64 คน
# [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] 64 คน
# [[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]] 29 คน
# [[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]] 29 คน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:48, 16 กุมภาพันธ์ 2550

ศาสตราจารย์ หรือใช้อักษรย่อว่า ศ. เป็นตำแหน่งสูงสุดทางวิชาการ ต่อมาจากตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตามลำดับ โดยต้องมีผลงานวิจัยดีเด่น หรือตีพิมพ์หนังสือเรียนและเป็นที่ยอมรับ ตำแหน่งศาสตราจารย์แสดงถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการในสาขานั้น โดยมีหน้าที่หลัก 4 ประการในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาชั้นสูง คือ ทำการสอน ทำการวิจัย ทำประโยชน์แก่สาธารณะ และทำการฝึกนักวิชาการในด้านวิชาการและเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

ในประเทศไทย ตำแหน่งศาสตราจารย์ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ ที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความรู้สูงสุด และมีผลงานด้านการศึกษาของบุคคลนั้น ซึ่ง ตำแหน่งศาสตราจารย์จะต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินผลงานอย่างเคร่งครัดและเข้มงวดในความถูกต้องของวิชา เมื่อผ่านการประเมินแล้วจึงจะได้รับการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ศาสตราจารย์ประเภทอื่นอาจผ่านเพียงการแต่งตั้งของสภามหาวิทยาลัยนั้นตามประเภทของศาสตราจารย์

ประเภทของตำแหน่งศาสตราจารย์

ตำแหน่งศาตราจารย์ประจำ

ศาสตราจารย์ที่ต้องทำผลงานวิจัยและ/หรือแต่งตำรา

โดยต้องผ่านกระบวนการทาง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย จะมีผู้อ่านผลงานวิจัย/ตำราว่าได้มาตรฐานตามเกณฑ์หรือไม่ ทางคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ แล้วการแต่งตั้งก็นำเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อผ่านไปโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น “ศาสตราจารย์” และ ต้องปรับฐานเงินเดือนให้เข้าสู่ตำแหน่งใหม่นั้นด้วย ศาสตราจารย์ประเภทนี้ เป็นศาสตราจารย์ที่เป็นพื้นฐานหลักของมหาวิทยาลัย เป็นตำแหน่งประจำ เช่น เป็นข้าราชการ หรือพนักงานมหาวิทยาลัย (รวมทั้ง มหาวิทยาลัยเอกชน) ที่สอนประจำอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือ สถาบันอุดมศึกษา และมีผลงานทางวิชาการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม.กำหนด

ศาสตราจารย์คลินิก

จะแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ทางด้านการสอนและการค้นคว้าวิจัยในภาคปฏิบัติ เช่น แพทย์เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ที่สอนนักศึกษาแพทย์ด้านคลีนิก มีการค้นคว้าทดลองวิธีการรักษา หรือค้นพบสิ่งใหม่ในทางปฏิบัติ ได้นำผลนั้นมาเผยแพร่และสอนทางปฏิบัติที่มีคุณค่าทางวิชาการ แต่มีรูปแบบของผลงานไม่เข้าเกณฑ์ที่ใช้ขอตำแหน่งตามปกติ

ในต่างประเทศ มีการตั้งตำแหน่ง "ศาสตราจารย์ปฏิบัติวิชาชีพ" (professor of practice) สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถสูงเป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพนั้นๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนสาขาวิชาชีพ เช่น สาขาการออกแบบวางแผน หรือการบัญชีเชิญมาเป็นอาจารย์สอนประจำแบบไม่เต็มเวลา หรือไม่ครบ 4 องค์ประกอบหลัก บางครั้งเรียก "adjunct professor"

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ หรือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ

แต่งตั้งจาก "อาจารย์ประจำ" ผู้เคยเป็นศาสตราจารย์มาแล้วจากการวิจัยและ/หรือแต่งตำราของมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญ หรือชำนาญพิเศษได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงในสาขาวิชานั้นมาก่อน และเกษียณอายุราชการแล้ว ที่สถาบันอุดมศึกษา เห็นสมควรแต่งตั้งเพื่อให้สร้างคุณประโยชน์ด้านการศึกษาให้แก่ภาคหรือสาขาวิชานั้นต่อไป โดยถือว่าผู้ได้รับการแต่งตั้งยังคงมีสิทธิ์ใช้ชื่อศาสตราจารย์นำหน้า และยังสามารถบ่งบอกสังกัดตนได้ต่อไปจนถึงแก่กรรมหรือเมื่อทำความผิดร้ายแรง ตำแหน่งนี้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "professor emeritus" ซึ่งธรรมเนียมการใช้ชื่อในภาษาอังกฤษจะใช้โยงกับสาขาวิชา เช่น Professor Emeritus of Mathematics Isaac Newton หรือ Isaac Newton, Professor Emeritus of Mathematics เป็นต้น

อนึ่ง การใช้ชื่อ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ หรือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยกำหนด เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้ "กิตติคุณ" ส่วนมหาวิทยาลัยมหิดล ใช้ "เกียรติคุณ" เป็นต้น ซึ่งความเป็นอาจารย์ประจำในกรณีนี้ หมายถึง การผูกพันเป็นการประจำกับคณะที่ขอแต่งตั้ง ต่างกับศาสตราจารย์เกษียณอายุที่ได้รับการต่ออายุราชการถึง 65 ปี ซึ่งถือเป็นการทำงานประจำเต็มเวลาปกติเหมือนอาจารย์ประจำทั่วไป

ในประเทศไทยยังมีผู้เข้าใจว่าศาสตราจารย์เกียรติคุณ หรือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบุคคลภายนอกทั่วไปเพื่อเป็นเกียรติเท่านั้น โดยไม่ต้องเป็นศาสตราจารย์มาก่อนซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

ตำแหน่งศาสตราจารย์ที่แต่งตั้งโดยวิธีอื่น

มหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งบุคคลภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญยิ่งในสาขาวิชาที่เป็นผู้นำและเป็นตัวอย่างที่ดีของนักวิชาการชั้นเยี่ยม มีมาตรฐานสูงทางคุณธรรม จริยธรรม และมีความซื่อตรงต่อวิชาชีพ ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น โดยมหาวิทยาลัยกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนหรือเงินตอบแทนจากทุนต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ปฏิบัติภารกิจที่เป็นงานทางวิชาการ โดย

ศาสตราจารย์พิเศษ

แต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย หรือสถาบันนั้น โดยต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ทางด้านวิชาการ ที่อาจจะเป็นอาจารย์พิเศษทรงคุณวุฒิสูง และทำหน้าที่สอนให้มหาวิทยาลัยมานาน หรือเป็นบุคคลที่ได้อุทิศตัว มีความรู้มีประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านการประเมิน โดยการกลั่นกรองจากสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้พิจารณาเสนอ การแต่งตั้งจะต้องได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ

ศาสตราภิชาน

เป็นตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มีชื่อผู้อุปถัมภ์ประจำอยู่ ภาษาอังกฤษใช้ว่า chair professor หมายถึง เก้าอี้หรือตำแหน่งเฉพาะที่ตั้งไว้สำหรับศาสตราจารย์เฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่งที่มีผู้มาตั้งไว้พร้อมทั้งเงินตอบแทนหรือเงินเดือน เป็นตำแหน่งที่ตั้งไว้สำหรับผู้มีความรู้ความชำนาญสูงสุดเป็นที่ยอมรับในหมู่ปราชญ์สาขาเดียวกันที่มหาวิทยาลัยเชิญมา ในต่างประเทศ ตำแหน่งศาสตราจารย์ในกลุ่มนี้ เช่น Lucasian professor of mathematics ซึ่งเป็นตำแหน่งศาสตราภิชานที่เรียกเต็มว่า "Lucasian Chair of Mathematics" เป็นตำแหน่งที่ เฮนรี ลูคัส ตั้งไว้ที่ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อ พ.ศ. 2206 และได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าชาร์ล ที่ 2 ในปีถัดมา(ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) นับถึงปัจจุบันมีผู้ได้รับตำแหน่งนี้เพียง 17 คน ในจำนวนนี้ ไอแซก นิวตันอยู่ในลำดับที่ 2 และสตีเฟน ฮอว์คิงซึ่งได้รับตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2523 จนถึงปัจจุบัน

ตำแหน่งศาสตราภิชานที่มีเกียรติสูงเป็นตำแหน่งเฉพาะสาขาวิชา มีตำแหน่งเดียวและมักเป็นตำแหน่งตลอดชีพ จะว่างเมื่อผู้ครองตำแหน่งถึงแก่กรรม ไร้ความสามารถ หรือลาออก

ศาสตราจารย์กิตติเมธี

ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร หากแปลตามชื่อจะได้ว่าเป็นนักปราชญ์หรือนักวิจัยผู้มีชื่อเสียง ซึ่งอาจตรงกับ research professor ของบางประเทศ มีการตั้งศาสตราจารย์ประเภทนี้แพร่หลายขึ้นในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยของภาครัฐและภาคเอกชน

อย่างไรก็ดี ทั้งตำแหน่งศาสตราภิชาน และศาสตราจารย์กิตติเมธีอาจมีเงื่อนไขในการดำรงตำแหน่งไม่เหมือนกัน เช่น ศาสตราภิชานของไทยมีวาระเพียงปีเดียว

ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์

การตั้งศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์จากผู้ไม่มีความรู้แต่ทำประโยชน์ เช่น บริจาคเงินแก่มหาวิทยาลัย ซึ่งจำนวนศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์นั้นมีน้อยมาก หรือเรียกว่า ไม่มี ก็ว่าได้

ส่วนใหญ่เมื่อขึ้นชื่อว่าศาสตราจารย์แล้ว จะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการสอน การวิจัย การทำประโยชน์และการฝึกบัณฑิตเป็นอย่างสูงที่ผ่านการประเมินเฉพาะสาขาวิชานั้นๆ มาแล้วเท่านั้น ศาสตราจารย์ที่ไม่ต้องทำผลงานวิจัย หมายถึง ผู้ที่แต่งตำราในระดับดีมากหลายเล่มเพียงแต่ขณะขอรับการพิจารณาไม่มีงานวิจัยมากพอ โดยทั่วไป ถือกันว่าตำราระดับดีมากเป็นหลักฐานที่บ่งบอกถึงความรู้ความสามารถทางวิชาการในระดับเทียบเท่าหรือสูงกว่างานวิจัยได้ในบางกรณี งานวิจัยที่ได้รับการยอมรับว่าดีกว่าตำราระดับดีมาก ได้แก่ งานวิจัยที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติหรือระดับชาติ เช่น รางวัลโนเบล รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

จำนวนศาสตราจารย์ในประเทศไทย

ข้อมูลจำนวนผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง "ศาสตราจารย์" ของประเทศไทย ณ วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 รวม 290 คน ดังต่อไปนี้

  1. มหาวิทยาลัยมหิดล 132 คน
  2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 64 คน
  3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 29 คน
  4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 23 คน
  5. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 18 คน
  6. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 11 คน
  7. มหาวิทยาลัยศิลปากร 10 คน
  8. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 8 คน
  9. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 5 คน
  10. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 3 คน
  11. มหาวิทยาลัยนเรศวร 3 คน


หากคิดสัดส่วนต่อจำนวนประชากร 65 ล้านคน ประเทศไทยมีศาสตราจารย์ 1 คนต่อประชากร 224,000 คน

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น