ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ย้อนการแก้ไขที่ 3964136 สร้างโดย 134.91.97.156 (พูดคุย)
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
|ชื่อนายกเทศมนตรี= นายสำราญ เอื้อจิรวาณิชย์|รหัสiso=6599
|ชื่อนายกเทศมนตรี= นายสำราญ เอื้อจิรวาณิชย์|รหัสiso=6599
|พื้นที่= 13.49
|พื้นที่= 13.49
|ประชากร=33,687<!--รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบล ณ ธันวาคม พ.ศ. 2554 กรมการปกครอง-->
|ประชากร=43,945<!--รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบล ณ สิงหาคม พ.ศ. 2554 กรมการปกครอง-->
|ปีสำรวจประชากร= 2554
|ปีสำรวจประชากร= 2554
|ความหนาแน่น= 2,497
|ความหนาแน่น= 3,257.6
<!-- ข้อมูลสำหรับติดต่อ (ข้อมูลเพิ่มเติม) -->
<!-- ข้อมูลสำหรับติดต่อ (ข้อมูลเพิ่มเติม) -->
|สำนักงาน= เลขที่ 1 ถนนประชานิมิตร <br> ตำบลท่าอิฐ [[อำเภอเมืองอุตรดิตถ์|อำเภอเมือง]] <br>[[จังหวัดอุตรดิตถ์]] 53000
|สำนักงาน= เลขที่ 1 ถนนประชานิมิตร <br> ตำบลท่าอิฐ [[อำเภอเมืองอุตรดิตถ์|อำเภอเมือง]] <br>[[จังหวัดอุตรดิตถ์]] 53000
บรรทัด 50: บรรทัด 50:


== ประชากร ==
== ประชากร ==

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 มีประชากรทั้งสิ้น 33,687 คน ความหนาแน่นประชากร 2,497 คน ต่อตารางกิโลเมตร จำนวนบ้าน 13,540 หลังคาเรือน
มีประชากรทั้งสิ้น 43,945 คน (ข้อมูล ณ 1 สิงหาคม 2554) ความหนาแน่นประชากร 3,257.6 คน ต่อตารางกิโลเมตร


== การศึกษา ==
== การศึกษา ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:56, 14 พฤษภาคม 2555

เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Uttaradit Town Municipality
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
ตรา
คำขวัญ: 
โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ประชาชน วางตนเหมาะสม
ประเทศ ไทย
จังหวัด[[จังหวัด{{{province}}}|{{{province}}}]]
อำเภอ{{{district}}}
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนายสำราญ เอื้อจิรวาณิชย์
พื้นที่
 • ทั้งหมด13.49 ตร.กม. (5.21 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2554)
 • ทั้งหมด43,945 คน
 • ความหนาแน่น3,257.6 คน/ตร.กม. (8,437 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 1 ถนนประชานิมิตร
ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง
จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
โทรศัพท์0 5541 1212
โทรสาร0 5544 4384, 0 5541 2218
เว็บไซต์http://www.uttaraditcity.com/ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ หรือ เมืองอุตรดิตถ์ อยู่ในภาคเหนือ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและคมนาคมของจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นที่ตั้งของของหน่วยงานราชการระดับจังหวัด ระดับภาค และสถานศึกษาที่สำคัญทั้งของรัฐและเอกชนตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา

สัญลักษณ์ประจำเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์

ตราสัญลักษณ์ประจำเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์

วิมาน หมายถึง พระแท่นศิลาอาสน์สัญลักษณ์ของเมืองอุตรดิตถ์เป็นสถานที่เชื่อกันว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับในสมัยพุทธกาลเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนจนถึงปัจจุบัน

ช้างเอราวัณ หมายถึง พลังแห่งความยั่งยืนสถาพรซึ่งรองรับการดำรงอยู่ของพระแท่นศิลาอาสน์เปรียบเสมือนความยั่งยืนของศรัทธาความสามัคคีในการปกปักรักษาไว้ ซึ่งสิ่งอันเป็นที่เคารพเทิดทูน

รัศมีที่ปลายยอด หมายถึง การมีชื่อเสี่ยงขจรขจายไปทุกทิศทาง ประกาศเกียรติคุณความดี

คำขวัญเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์

โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ประชาชน วางตนเหมาะสม

ที่ตั้งและอาณาเขต

ไฟล์:Tessabanuttaradit.gif
ภาพถ่ายดาวเทียม เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์

ตัวเทศบาลเป็นที่ราบริมฝั่งน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าอิฐทั้งตำบล โดยมีย่านความเจริญอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำน่าน มีพื้นที่ทั้งสิ้น 13.49 ตารางกิโลเมตร (8,431.25 ไร่) โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเทศบาลตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเทศบาลตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเทศบาลตำบลคุ้งตะเภาและองค์การบริหารส่วนตำบลป่าเซ่า อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ โดยมีแม่น้ำน่านเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และเทศบาลตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

ประชากร

มีประชากรทั้งสิ้น 43,945 คน (ข้อมูล ณ 1 สิงหาคม 2554) ความหนาแน่นประชากร 3,257.6 คน ต่อตารางกิโลเมตร

การศึกษา

เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์จัดเป็นแหล่งศูนย์กลางการศึกษาที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วยสถานศึกษาที่เป็นของรัฐและเอกชน ในระดับต่างๆ ดังนี้

  • ระดับอนุบาลและประถมศึกษา
  1. โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์
  2. โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
  3. โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์
  4. โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม
  5. โรงเรียนเทศบาลวัดไผ่ล้อม
  6. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
  7. โรงเรียนเซนต์แมรี่
  • ระดับมัธยมศึกษา
  1. โรงเรียนอุตรดิตถ์ [1]
  2. โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี
  3. โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์
  4. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
  5. โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
  6. โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์
  7. โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด
  8. โรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา
  • ระดับอาชีวศึกษา
  1. วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์
  2. วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์
  3. วิทยาลัยสารพัดช่างอุตรดิตถ์
  4. โรงเรียนอุตรดิตถ์เทคโนโลยี
  • ระดับอุดมศึกษา
  1. โรงเรียนอุตรดิตถ์บริรักษ์
  2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โครงการบริการวิชาการโรงเนียนอนุบาลอุตรดิตถ์ และโรงเรียนทุ่งกะโล่วิทยา
  3. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  4. มหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์วิทยบริการ จังหวัดอุตรดิตถ์ (โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี)
  5. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศูนย์บริการการศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์ (โรงเรียนอุตรดิตถ์)
  6. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการจังหวัดอุตรดิตถ์ (วัดหมอนไม้)
  7. มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศูนย์การศึกษาอุตรดิตถ์ (วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์)
  8. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดอุตรดิตถ์ (โรงพยาบาลอุตรดิตถ์)
  9. ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ (สถาบันร่วมผลิตแพทย์ แห่ง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

การสาธารณสุข

ในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์มีหน่วยงานบริการด้านสาธารณสุขประกอบด้วย โรงพยาบาลรัฐบาล สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ขนาด 576 เตียง จำนวน 1 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 2 แห่ง และคลินิกเอกชน จำนวน 60 แห่ง

การคมนาคม

เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์มีถนน 30 สาย แบ่งตามประเภทของถนนได้แก่

  • ถนนลาดยาง 12 สาย
  • ถนนคอนกรีต 18 สาย
  • สะพาน 11 แห่ง
  • สะพานลอยคนข้าม 4 แห่ง
  • แม่น้ำ 1 แห่ง

สถานที่ที่น่าสนใจในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์

หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน

หลวงพ่อเพชรวัดท่าถนน จังหวัดอุตรดิตถ์

หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หน้าตักกว้าง 32 นิ้ว มีพุทธลักษณะงดงามมาก ชาวอุตรดิตถ์นับถือว่า เป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองอุตรดิตถ์ มีงานนมัสการประจำปีในวันกลางเดือนสี่ของทุกปี

ดูเพิ่มได้ที่ หลวงพ่อเพ็ชร (วัดท่าถนน)

อนุสาวรีย์รัชกาลที่ 5

ไฟล์:อนุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์.jpg
อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่ ณ ลานอเนกประสงค์แม่น้ำน่าน ถนนมุขศาลา อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นอนุสาวรีย์ที่ประชาชนชาวอุตรดิตถ์ได้สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงการเสด็จ พระราชดำเนิน มาที่อุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2444 ปัจจุบันลานอเนกประสงค์ได้ใช้ในการจัดกิจกรรม วันปิยมหาราช และเป็นสถานที่พักผ่อนออกกำลังกายของประชาชน


อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอเมือง สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเกียรติในเรื่องความ องอาจ กล้าหาญ รักชาติ และเสียสละของท่าน และในบริเวณอนุสาวรีย์ยังมี "พิพิธภัณฑ์ดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก" อีกด้วย

หอวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์

(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น