ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงศ์ปลากระบอก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: be:Кефалевыя
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
| phylum = [[Chordate|Chordata]]
| phylum = [[Chordate|Chordata]]
| classis = [[Actinopterygii]]
| classis = [[Actinopterygii]]
| ordo = [[Mugiliformes]]
| ordo = '''[[Mugiliformes]]'''
| familia = [[Mugilidae]]
| familia = '''[[Mugilidae]]'''
| subdivision_ranks = [[Genus|สกุล]]
| subdivision_ranks = [[Genus|สกุล]]
| subdivision = <center>17 สกุล ดูในตาราง</center>
| subdivision = <center>17 สกุล ดูในตาราง</center>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:21, 10 พฤษภาคม 2555

วงศ์ปลากระบอก
ปลากระบอกในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Mugiliformes
วงศ์: Mugilidae
สกุล
17 สกุล ดูในตาราง

วงศ์ปลากระบอก (อังกฤษ: Mullet, วงศ์: Mugilidae (/มู-จิ-ลิ-ดี/)) เป็นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ที่อยู่ในอันดับ Mugiliformes นับเป็นวงศ์เดียวที่อยู่ในอันดับนี้[1]

ปลากระบอกมีรูปร่างโดยรวมเรียวยาวค่อนข้างกลมเป็นทรงกระบอก ปากเล็ก มีครีบหลัง 2 ตอน เป็นปลาที่พบได้ทั้งในน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล มีตาทรงกลมโต พบทั่วไปในทั้งในทวีปยุโรป, อเมริกาเหนือ และทวีปเอเชีย เช่น อินโด-แปซิฟิก, ฟิลิปปิน และออสเตรเลีย มีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูง มีความปราดเปรียวว่องไว เกล็ดโดยมากเป็นสีเงินเหลือบเขียวหรือเทาขนาดใหญ่

ปลากระบอก สามารถแบ่งออกได้เป็นสกุล 17 สกุล ประมาณ 80 ชนิด โดยมีชนิดที่สำคัญ ๆ เป็นที่รู้จักกันดี อาทิ ปลากระบอกท่อนใต้ (Liza vaigiensis), ปลากระบอกดำ (L. parsia), ปลากระบอกขาว (L. seheli) เป็นต้น

เป็นปลาที่เป็นที่นิยมในการตกปลา และเป็นปลาเศรษฐกิจ มีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ในในเชิงการประมง[2]

สกุล

โดยที่ปลากระบอก มีชื่อเรียกในภาษาไทยแตกต่างออกไปตามแต่ละท้องที่ อาทิ ในภาษาใต้จะเรียกว่า "กระเมาะ", "ละเมาะ", "ยมก" หรือ "มก" เป็นต้น [4]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น