ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jirapong CH (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 57: บรรทัด 57:
* [[รายชื่อประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (อำนาจซื้อ)]]
* [[รายชื่อประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (อำนาจซื้อ)]]
* [[รายชื่อประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด)]]
* [[รายชื่อประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด)]]

* [[รายชื่อประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (ราคาตลาด)]]
{{โครงเศรษฐศาสตร์}}
{{โครงเศรษฐศาสตร์}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:26, 8 พฤษภาคม 2555

เปรียบเทียบ ดัชนี GDP และ PPP

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (อังกฤษ: gross domestic product: GDP) หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ถูกผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด ซึ่งถูกคิดค้นโดย Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศนั้นๆ

อย่างไรก็ตาม จีดีพี เป็นดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ แต่ไม่สามารถชี้วัดคุณภาพชีวิตที่แท้จริงได้

การวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

การวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ สามารถวัดได้ 2 วิธี ได้แก่

1. การวัดรายจ่าย (Expenditure Approach) ที่จ่ายให้สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย

GDP = รายจ่ายเพื่อบริโภค + รายจ่ายเพื่อการลงทุน + รายจ่ายของรัฐบาล + รายจ่ายสุทธิของต่างประเทศที่ซื้อสินค้าผลิตในประเทศ

หรือ GDP = Consumption + Investment + Government spending + (exports – imports)

2. การวัดรายได้ (Resource Cost - Income Approach) ที่ได้จากการขายสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย

GDP = ค่าจ้างและเงินเดือนลูกจ้าง + รายได้เจ้าของธุรกิจส่วนตัว + กำไรของบริษัท (รายได้ผู้ถือหุ้น) + ดอกเบี้ย (รายได้เจ้าหนี้) + ค่าเช่า (รายได้เจ้าของสินทรัพย์) + ภาษีธุรกิจทางอ้อม + ค่าเสื่อมราคา + รายได้สุทธิของคนต่างชาติในประเทศ

หมายเหตุ: ภาษีทางอ้อมคือภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าหรือบริการโดยผู้ที่มีหน้าที่ชำระภาษีโดยตรง (ผู้เสียภาษีคนแรก) สามารถผลักภาระภาษีไปให้บุคคลอื่นได้ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เนื่องจากวิธีการวัด GDP ด้วยรายจ่ายเป็นวิธีที่พื้นฐานที่สุดในการวัดและเข้าใจ GDP ดังนั้น จะอธิบายตัวแปรในสมการที่คำนวณ GDP ด้วยการวัดรายจ่ายเท่านั้น ดังต่อไปนี้

GDP = C + I + G + NE

Consumption (C) หมายถึง การบริโภคภาคเอกชน (Private consumption) ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลแทบทั้งหมดเช่น อาหาร ค่าเช่า ค่ายา แต่ไม่รวมการซื้อบ้านหลังใหม่

Investment (I) หมายถึง การลงทุนของธุรกิจในสินค้าทุน เช่น การก่อสร้างเหมืองแร่ใหม่ การซื้อซอฟต์แวร์ การซื้ออุปกรณ์เครื่องจักรสำหรับโรงงาน เป็นต้น การใช้จ่ายโดยครัวเรือนเพื่อซื้อบ้านหลังใหม่ถูกรวมไว้ในการลงทุนเช่นกัน ทว่า การซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินเช่น การซื้อหุ้นสามัญหรือหุ้นกู้ ไม่ถูกจัดว่าเป็นการลงทุนแต่เป็นการออม (Saving) จึงไม่ถูกรวมใน GDP เพราะเป็นเพียงการสับเปลี่ยนเอกสารทางกฎหมายเท่านั้น ซึ่งเงินนั้นไม่ได้ถูกแปลงให้กลายเป็นสินค้าหรือบริการ จึงไม่เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจที่แท้จริง และถูกจัดให้เป็นรายจ่ายประเภทเงินโอน (Transfer payment)

หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสุทธิของภาคการเงินเท่านั้นที่ถูกมองว่าเป็นการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่ม จึงถูกรวมไว้ใน GDP

Government Spending (G) หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาลที่ใช้ซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ซึ่งรวมถึงเงินเดือนของข้าราชการ การซื้ออาวุธทางทหาร และค่าใช้จ่ายลงทุนของรัฐ แต่ไม่รวมรายจ่ายประเภทโอนเงินอย่างเช่น สวัสดิการสังคมหรือผลประโยชน์จากการว่างงาน

Net Exports (NE) หมายถึง การส่งออกสุทธิ หรือการส่งออก (X) ลบด้วยการนำเข้า (M) นั่นเอง ที่ต้องลบการนำเข้าเพราะตัวเลขการบริโภคสินค้าและบริการที่ถูกนำเข้ามาบริโภคจะถูกรวมไว้ใน C, I, และ G แล้ว

สิ่งที่ไม่นับรวมใน GDP

  1. ไม่นับสินค้าก่อนสินค้าขั้นสุดท้าย (intermediate goods) เพราะจะทำให้เกิดการนับซ้ำ
  2. ไม่นับการซื้อขายสินค้ามือสอง เพราะไม่ได้เป็นการเพิ่มผลผลิตปัจจุบัน แต่นับค่าคอมมิชชั่นจากการขาย เพราะเป็นการให้บริการในช่วงเวลาปัจจุบัน
  3. ไม่นับรายการทางการเงินและการโอนเงิน เช่น การซื้อขายหุ้น น้าโอนเงินให้หลาน เพราะไม่เป็นการผลิต

ข้อจำกัดของ GDP

  1. ไม่นับการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนในตลาด เช่น ในอดีตทำกับข้าวทานเองในบ้าน จึงไม่ถูกนับรวม แต่ปัจจุบันเนื่องจากไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไปทำให้ต้องทานข้าวนอกบ้าน จึงถูกนับรวม ซึ่งทำให้การเปรียบเทียบ GDP ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันให้มีความหมายลดลง
  2. ไม่รวมผลผลิตที่ไม่ถูกรายงาน (underground economy) เช่น เป็นการค้าขายที่เป็นเงินสดโดยไม่มีการแจ้งให้ทางการรับทราบ เช่น บ๋อยรับทิปเป็นเงินสด คนงานทำงานโดยรับเงินสดเพื่อเลี่ยงภาษี
  3. ไม่รวมการพักผ่อนและต้นทุนมนุษย์ GDP สนใจแต่ผลผลิต ไม่ใส่ใจว่าคนทำงานหนักหรือนานขนาดไหนในการสร้างผลผลิต
  4. ไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพสินค้าและการเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
  5. ไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านลบที่เกิดจากการผลิต บริโภค และการกระทำด้านลบของคนและธรรมชาติ

อ้างอิง

  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. "หน่วยที่ 9 รายได้ประชาชาติและการวัดรายได้ประชาชาติ". เอกสารการสอนชุดวิชาหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น หน่วยที่ 9-15. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553. หน้า 1–35. ISBN 974-614-549-5

ดูเพิ่ม

แม่แบบ:Link GA