ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พูดคุย:พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช/พระราชทรัพย์"

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PandaReactor (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขการอ้างอิงที่เสีย
บรรทัด 3: บรรทัด 3:


พระองค์อุทิศพระราชทรัพย์ส่วนหนึ่ง ให้เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน บริหารงานโดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อ[[โครงการพระราชดำริ]]จำนวนกว่า 3,000 โครงการ/มูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อพัฒนาภายในประเทศในด้านกสิกรรม เกษตรกรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย การส่งเสริมอาชีพ สาธารณูปโภค และการศึกษา โครงการต่าง ๆ มีรายละเอียดใช้เป็นแหล่งอ้างอิงไปได้ทั่วโลก<ref>[http://kanchanapisek.or.th/index.en.html the Golden Jubilee Network,
พระองค์อุทิศพระราชทรัพย์ส่วนหนึ่ง ให้เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน บริหารงานโดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อ[[โครงการพระราชดำริ]]จำนวนกว่า 3,000 โครงการ/มูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อพัฒนาภายในประเทศในด้านกสิกรรม เกษตรกรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย การส่งเสริมอาชีพ สาธารณูปโภค และการศึกษา โครงการต่าง ๆ มีรายละเอียดใช้เป็นแหล่งอ้างอิงไปได้ทั่วโลก<ref>[http://kanchanapisek.or.th/index.en.html the Golden Jubilee Network,
an online mass-educational project]</ref> และพบได้ในสื่อวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศไทย<ref name="ChannelNewsAsia"/>
an online mass-educational project]</ref> และพบได้ในสื่อวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศไทย<ref name="ChannelNewsAsia">Channel News Asia, [http://www.channelnewsasia.com/stories/southeastasia/view/1074777/1/.html Thais celebrate Queen's birthday as govt investigates monarchy threat], 12 August</ref>


== ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ==
== ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:29, 14 เมษายน 2555

พระราชทรัพย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แบ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479[1] ในกลุ่มนี้ ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษีอากร ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2477[2]

พระองค์อุทิศพระราชทรัพย์ส่วนหนึ่ง ให้เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน บริหารงานโดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อโครงการพระราชดำริจำนวนกว่า 3,000 โครงการ/มูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อพัฒนาภายในประเทศในด้านกสิกรรม เกษตรกรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย การส่งเสริมอาชีพ สาธารณูปโภค และการศึกษา โครงการต่าง ๆ มีรายละเอียดใช้เป็นแหล่งอ้างอิงไปได้ทั่วโลก[3] และพบได้ในสื่อวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศไทย[4]

ทรัพย์สินส่วนพระองค์

ทรัพย์สินส่วนพระองค์ หมายความว่า ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้า ฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใดนอกจากที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ รวมทั้งดอกผลที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้นด้วย[1] ทรัพย์สินส่วนนี้ยังคงต้องชำระภาษีอากร[2]

มูลนิธิอานันทมหิดล อ้างว่า พระองค์ได้พระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์จำนวนมากแก่ โครงการพระราชดำริ มูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ ตลอดจนการกุสล และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์[5]

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงถือหุ้นบริษัทมหาชนหลายแห่ง ในพระนามของพระองค์เอง ข้อมูลเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555 มีดังต่อไปนี้

  1. ใน บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 197,414,850 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 43.87[6]
  2. ใน บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 72,470,861 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 2.21[7]
  3. ใน บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 3,526,567 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 18.56[8]
  4. ใน บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 1,383,770 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.51[9]
  5. ใน บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 69,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.23[10] (ปัจจุบันเทเวศประกันภัยถูกเพิกถอน มิให้ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์)[11]

ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง[1] ทรัพย์สินส่วนนี้ได้รับการยกเว้นภาษีอากร[2]

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้ว[1] ทรัพย์สินส่วนนี้ได้รับการยกเว้นภาษีอากร[2]

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ไม่ใช่ทรัพย์สินของส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[12] ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวจะถูกบริหารงานในรูปแบบองค์กรนิติบุคคลภายใต้ชื่อ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ดูแล ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง ทรัพย์สินส่วนใหญ่ ได้แก่ ที่ดินและหุ้น โดยปัจจุบันมีผู้เช่าที่ดินทั่วประเทศมากกว่า 3 หมื่นสัญญา[13] โดยแปลงสำคัญ ๆ ประกอบด้วย ที่ดินโรงแรมโฟร์ซีซั่น ที่ดินสยามพารากอน ที่ดินเซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า ที่ดินองค์การสะพานปลา และที่ดินริมถนนพระรามที่ 4 ฝั่งเหนือ จากสวนลุมไนท์บาร์ซาร์ ยาวจรดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[ต้องการอ้างอิง] ทั้งนี้บริษัทซีบีริชาร์ดเอลลิส บริษัทโบรกเกอร์ด้านอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของโลก ได้เคยประมาณการตัวเลขพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่ที่ 32,500 ไร่ โดยในบางพื้นที่มีมูลค่าสูงกว่า 380 ล้านบาทต่อไร่[14] ทั้งนี้ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ยังได้ลงทุนในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ อีกด้วย โดยถ้านับรวมทั้งหมด หุ้นที่สำนักงานทรัพย์สินฯ มีอยู่ทั้งหมดคิดเป็น 7.5% ของมูลค่าตลาดรวมของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย[14]

ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้พระองค์ทรงได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บ ให้เป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก อันดับที่ 5[15] ทำให้กลุ่มผู้ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ นำไปใช้เป็นเครื่องมือโจมตีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังเช่นบทความที่ปรากฏในเว็บไซต์ "เสื้อแดงสังคมนิยม"[16] ในขณะที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ชี้แจงถึงการจัดอันดับดังกล่าวว่า "มีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เนื่องจากในความเป็นจริง ทรัพย์สินที่นับมาประเมินนั้นเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน มิใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์"[12]

ทั้งนี้ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์สินของราชการ เป็นของแผ่นดิน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทำหน้าที่ดูแล ซึ่งกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อสถาบันพยายามนำมาบิดเบือน รวมเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 พระราชบัญญัติว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2477
  3. [http://kanchanapisek.or.th/index.en.html the Golden Jubilee Network, an online mass-educational project]
  4. Channel News Asia, Thais celebrate Queen's birthday as govt investigates monarchy threat, 12 August
  5. มูลนิธิอานันทมหิดล
  6. รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) : SAMCO ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรียกข้อมูลวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555
  7. รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) : MINT ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรียกข้อมูลวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555
  8. รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) : TIC ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรียกข้อมูลวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555
  9. รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) : TIC ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรียกข้อมูลวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555
  10. http://www.deves.co.th/Content/View/50
  11. รายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ถูกเพิกถอน ปี 2518 - ปัจจุบัน
  12. 12.0 12.1 บทความพิเศษของนิตยสารฟอร์บ เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุด จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
  13. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (www.crownproperty.or.th) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  14. 14.0 14.1 Thai King Strengthens Grip on Stocks as Nation's No. 1 Investor (www.bloomberg.com) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  15. The World's Richest Royals. No. 5, King Bhumibol Adulyadej (www.forbes.com) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  16. บทบาทแท้ของนายภูมิพล และสถาบันกษัตริย์ไทย นิยายและความจริง