ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พูดคุย:พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช/พระราชทรัพย์"

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PandaReactor (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: == พระราชทรัพย์ == พระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:27, 13 เมษายน 2555

พระราชทรัพย์

พระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของที่ดินและหุ้น โดยแบ่งออกได้เป็นส่วน ๆ ได้โดยสังเขป คือทรัพย์สินส่วนพระองค์ พระคลังข้างที่ และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระองค์อุทิศพระราชทรัพย์ส่วนหนึ่งเพื่อโครงการพระราชดำริจำนวนกว่า 3,000 โครงการ มูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อพัฒนาภายในประเทศในด้านกสิกรรม เกษตรกรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย การส่งเสริมอาชีพ สาธารณูปโภค และการศึกษา โครงการต่างๆมีรายละเอียดใช้เป็นแหล่งอ้างอิงไปได้ทั่วโลก[1] และพบได้ในสื่อวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศไทย[2]

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ไม่ใช่ทรัพย์สินของส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[3] และได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย[4] ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวจะถูกบริหารงานในรูปแบบองค์กรนิติบุคคลภายใต้ชื่อ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ดูแล ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง ทรัพย์สินส่วนใหญ่ ได้แก่ ที่ดินและหุ้น โดยปัจจุบันมีผู้เช่าที่ดินทั่วประเทศมากกว่า 3 หมื่นสัญญา[4] โดยแปลงสำคัญ ๆ ประกอบด้วย ที่ดินโรงแรมโฟร์ซีซั่น ที่ดินสยามพารากอน ที่ดินเซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า ที่ดินองค์การสะพานปลา และที่ดินริมถนนพระรามที่ 4 ฝั่งเหนือ จากสวนลุมไนท์บาร์ซาร์ ยาวจรดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[ต้องการอ้างอิง] ทั้งนี้บริษัทซีบีริชาร์ดเอลลิส บริษัทโบรกเกอร์ด้านอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของโลก ได้เคยประมาณการตัวเลขพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่ที่ 32,500 ไร่ โดยในบางพื้นที่มีมูลค่าสูงกว่า 380 ล้านบาทต่อไร่[5] ทั้งนี้ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ยังได้ลงทุนในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ อีกด้วย โดยถ้านับรวมทั้งหมด หุ้นที่สำนักงานทรัพย์สินฯ มีอยู่ทั้งหมดคิดเป็น 7.5% ของมูลค่าตลาดรวมของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย[5] ทำให้พระองค์ทรงได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บ ให้เป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก[6] แต่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ชี้แจงถึงบทความดังกล่าวว่า "มีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เนื่องจากในความเป็นจริง ทรัพย์สินที่นับมาประเมินนั้นเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน มิใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์"[3] โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทำหน้าที่ดูแลทรัพย์สินส่วนนี้ ซึ่งกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อสถาบัน พยายามบิดเบือนให้ประชาชนเข้าใจผิด ว่าเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์

ทรัพย์สินส่วนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีการลงทุนส่วนพระองค์เอง โดยไม่ผ่านสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยการเป็นผู้ถือหุ้นใน บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) 43.87%[7] บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 18.56%[8] และบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) 2.04%[9] เป็นต้น

ทรัพย์สินส่วนพระองค์นี้ยังหมายรวมถึง เงินทูลเกล้าถวายฯ ตามพระราชอัธยาศัยต่าง ๆ ซึ่งทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้นไม่ได้รับการยกเว้นเรื่องภาษี และต้องเสียภาษีอากรตามปกติ[4]

มูลนิธิอานันทมหิดล อ้างว่า พระองค์ได้พระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์จำนวนมากแก่ โครงการพระราชดำริ มูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ ตลอดจนการกุสล และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์[10]

การถือหุ้น

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทเอกชนหลายแห่ง ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 มีดังต่อไปนี้

  1. ใน บริษัทสัมมากร จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 197,414,850 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 43.870[11]
  2. ใน บริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 72,470,861 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 2.22[12]
  3. ใน บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 360,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 30.00[13]
  4. ใน บริษัทไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 3,526,567 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 18.56[14]
  5. ใน บริษัทธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 722,941,958 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 21.31[15]
  6. ใน บริษัทซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 1,383,770 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.51[16]
  7. ใน บริษัทเทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 27,600 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.23[17]
  1. [http://kanchanapisek.or.th/index.en.html the Golden Jubilee Network, an online mass-educational project]
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ChannelNewsAsia
  3. 3.0 3.1 บทความพิเศษของนิตยสารฟอร์บ เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุด จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
  4. 4.0 4.1 4.2 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (www.crownproperty.or.th) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  5. 5.0 5.1 Thai King Strengthens Grip on Stocks as Nation's No. 1 Investor (www.bloomberg.com) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  6. The World's Richest Royals. No. 5, King Bhumibol Adulyadej (www.forbes.com) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  7. รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) : SAMCO (www.set.or.th) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  8. รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) : TIC (www.set.or.th) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  9. รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) : MINT (www.set.or.th) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  10. มูลนิธิอานันทมหิดล
  11. http://www.sammakorn.co.th/investor_th.html
  12. http://www.settrade.com/C04_05_stock_majorshareholder_p1.jsp?txtSymbol=MINT&selectPage=5
  13. http://www.siamcement.com/th/04investor_governance/04_shareholder_services.php
  14. http://www.thaiins.com/org/home/investor.php
  15. http://www.set.or.th/set/companyholder.do?symbol=SCB&language=th&country=TH
  16. http://singer-th.listedcompany.com/shareholding.html
  17. http://www.deves.co.th/company_profile/shareholders/shareholder04.asp