ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่ตูร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
AvocatoBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: sh:Bitka kod Poitiersa
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต แก้ไข: be:Бітва пад Турам, 732
บรรทัด 42: บรรทัด 42:


[[ar:معركة بلاط الشهداء]]
[[ar:معركة بلاط الشهداء]]
[[be:Бітва пад Турам (732)]]
[[be:Бітва пад Турам, 732]]
[[bg:Битка при Поатие]]
[[bg:Битка при Поатие]]
[[bn:তুরের যুদ্ধ]]
[[bn:তুরের যুদ্ধ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:01, 12 เมษายน 2555

ยุทธการที่ตูร์
ส่วนหนึ่งของ การพิชิตของมุสลิม

“ยุทธการแห่งปัวติเยร์ของเดือนตุลาคม ค.ศ. 732” เป็นภาพของชาร์ลส์ มาร์เตล (บนหลังม้า) เผชิญหน้ากับ อับดุล เราะหฺมาน อัล ฆอฟิกี (ขวา) ในยุทธการตูร์
วันที่10 ตุลาคม ค.ศ. 732
สถานที่
ผล ฝ่ายแฟรงค์ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด
คู่สงคราม
คาโรแล็งเชียงแฟรงค์ จักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ชาร์ลส์ มาร์เตล อับดุล เราะหฺมาน อัล ฆอฟิกี 
กำลัง
อาจจะราว 30,000 คน[1] ไม่ทราบจำนวน แต่จากหลักฐานของมุสลิมที่เขียนหลังจากสงคราม[2] กล่าวว่าเป็นจำนวน 80,000 คน
ความสูญเสีย
ไม่ทราบจำนวน; บันทึกพงศาวดารคริสเตียนกล่าว่าเป็นจำนวน 1,500 คน ไม่ทราบจำนวน, อาจจะระหว่าง 10,000 ถึง 12,000 คน; ที่สำคัญคืออับดุล เราะหฺมาน อัล ฆอฟิกี[3]

ยุทธการตูร์ หรือ ยุทธการปัวติเยร์ (อังกฤษ: Battle of Tours หรือ Battle of Poitiers, อาหรับ: معركة بلاط الشهداء (ma‘arakat Balâṭ ash-Shuhadâ’) ยุทธการแห่งราชสำนักผู้พลีชีพ[4]) (10 ตุลาคม ค.ศ. 732[5]) เป็นยุทธการที่เกิดขึ้นในบริเวณเมืองปัวติเยร์ และ ตูร์ ใกล้กับหมู่บ้าน Moussais-la-Bataille ราวยี่สิบกิโลเมตรทางตอนเหนือของปัวติเยร์ สมรภูมิของการสู้รบอยู่ติดกับเขตแดนระหว่างจักรวรรดิแฟรงค์และอากีแตน ยุทธการตูร์เป็นยุทธการระหว่างกองทัพแฟรงค์และเบอร์กันดี[6][7] ภายใต้การนำของออสตราเซียชาร์ลส์ มาร์เตลฝ่ายหนึ่ง และกองทัพของจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ที่นำโดยอับดุล เราะหฺมาน อัล ฆอฟิกีข้าหลวงใหญ่แห่งอัล-อันดะลุสอีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายแฟรงค์เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ อับดุล เราะหฺมาน อัล ฆอฟิกีเสียชีวิตในสนามรบ ชาร์ลส์ มาร์เตลขยายอำนาจลงมาทางใต้ นักบันทึกพงศาวดารของคริสต์ศตวรรษที่ 9 ผู้ตีความหมายของชัยชนะว่าเป็นอำนาจจากเบื้องบนที่เข้าข้างชาร์ลส์ และตั้งสมญานามให้ชาร์ลส์ว่า “Martellus” หรือ “ค้อน” ที่อาจจะมาจากสมญาว่า “The Hammerer” ของจูดาส แม็คคาเบียส (Judas Maccabeus) ใน การปฏิวัติแม็คคาบี (Maccabean revolt) เมื่อชาวยิวปฏิวัติต่อต้านการปกครองของจักรวรรดิเซลูซิด (Seleucid empire) [8][9] รายละเอียดของการสงครามที่รวมทั้งจุดที่ต่อสู้แต่ตัวเลขของผู้เข้าร่วมไม่เป็นที่ทราบแน่นอนจากหลักฐานที่ยังเหลืออยู่ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือฝ่ายแฟรงค์ได้รับชัยชนะโดยไม่มีกองทหารม้า[10]

นักประวัติศาสตร์คริสเตียนก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 สรรเสริญชาร์ลส์ว่าเป็นวีรบุรุษของคริสเตียนและกล่าวว่ายุทธการครั้งนี้เป็นจุดที่เปลี่ยนแปลงความขัดแย้งต่อต้านอิสลาม การต่อสู้ที่เป็นการพิทักษ์คริสต์ศาสนาให้เป็นศาสนาของยุโรป นักประวัติศาสตร์ทางการทหารสมัยใหม่วิคเตอร์ เดวิส แฮนสันกล่าวว่า “นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 เช่นกิบบอนมีความเห็นว่ายุทธการปัวติเยร์เป็นยุทธการสำคัญที่เป็นจุดที่แสดงอำนาจอันสูงสุดของมุสลิมที่คืบเข้ามาในยุโรป”[11] เลโอโพลด์ ฟอน รังเคอ (Leopold von Ranke) มีความเห็นว่า “ปัวติเยร์เป็นจุดของความหันเหของสมัยที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์โลก”[12]

นักประวัติศาสตร์มีความเห็นขัดแย้งกันถึงความสำคัญของยุทธการครั้งนี้ ข้อที่ไม่เป็นที่ตกลงกันคือข้อที่ว่าสงครามครั้งนี้เป็นการยุติการคืบเข้ามาของมุสลิมในยุโรป แต่ที่เห็นพ้องกันคือยุทธการเป็นสิ่งที่ช่วยในการวางรากฐานของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียงและอิทธิพลของแฟรงค์ในยุโรปต่อมาอีกร้อยปี นอกจากนั้นก็เห็นพ้องกันว่า “การวางอำนาจของแฟรงค์ในยุโรปตะวันตกเป็นการวางรูปทรงของอนาคตของทวีป และยุทธการตูร์ช่วยสนับสนุนการวางอำนาจนั้น”[13]

อ้างอิง

  1. Davis, Paul K. "100 Decisive Battles: From Ancient Times to the Present"
  2. The earliest Muslim source for this campaign is the Futūh Miṣr of Ibn ʻAbd al-Ḥakam (c. 803-71) — see Watson, 1993 and Charles Cutler Torrey, 1922.
  3. Hanson, 2001, p. 141.
  4. Henry Coppée writes, "The same name (see ante) was given to the battle of Toulouse and is applied to many other fields on which the Moslemah were defeated: they were always martyrs for the faith" (Coppée, 1881/2002, p. 13.)
  5. Oman, 1960, p. 167.
  6. Bachrach, 2001, p. 276.
  7. Fouracre, 2002, p. 87 citing the Vita Eucherii, ed. W. Levison, Monumenta Germaniæ Historica, Scriptores Rerum Merovingicarum VII, pp. 46–53, ch. 8, pp. 49–50; Gesta Episcoporum Autissiodorensium, extracts ed. G. Waitz, Monumenta Germaniae Historica, Scriptores XIII, pp. 394–400, ch. 27, p. 394.
  8. Riche, 1993, p. 44.
  9. Hanson, 2001, p. 143.
  10. Schoenfeld, 2001, p. 366.
  11. Hanson, 2001, p. 166.
  12. Ranke, Leopold von. "History of the Reformation," vol. 1, 5
  13. Davis, 1999, p. 106.

ดูเพิ่ม

แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA