ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2T (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มหมวดหมู่:บุคคลจากพนมเปญสำเร็จแล้ว using HotCat
V i P (คุย | ส่วนร่วม)
V i P ย้ายหน้า พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต ไปยัง นโรดม สุรามฤต ทับหน้าเปลี่ยนทาง
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:35, 11 เมษายน 2555

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต
พระบาทสมเด็จพระนโรดม​สุรามฤต วิสุทธมหาขัตติยวงศ์วิสิษฐหริพงศ์ คุณาดิเรก​ธรรมจริโยดม บรมบพิตร พระเจ้าพระราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นเจ้าชีวิตเหนือหัว
ไฟล์:Suramarit.jpg
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 5 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
ครองราชย์3 มีนาคม พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2503
รัชสมัย6 ปี
ราชาภิเษกปี พ.ศ. 2498พระบรมมหาราชวังเขมรินทร์ พระที่นั่งเทวาวินิจฉัย กรุงพนมเปญ
รัชกาลก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครั้งที่ 1)
รัชกาลถัดไปพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครั้งที่ 2)
ประสูติ6 มีนาคม พ.ศ. 2439
กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา
สวรรคต3 เมษายน พ.ศ. 2503 (64 ปี)
พระอัครมเหสีสมเด็จพระมหากษัตริยานี สีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีเรศ สิริวัฒนา
ค.ศ. 1904 - ค.ศ. 1975
พระราชบุตรพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
พระองค์เจ้า นโรดม วิชรา
สมเด็จกรมขุนนโรดม สิริวุธ
พระองค์เจ้านโรดม ปรียาโสภณ[1]
พระบาทสมเด็จพระนโรดม​สุรามฤต วิสุทธมหาขัตติยวงศ์วิสิษฐหริพงศ์ คุณาดิเรก​ธรรมจริโยดม บรมบพิตร พระเจ้าพระราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นเจ้าชีวิตเหนือหัว
ราชวงศ์ราชวงศ์นโรดม
พระราชบิดาสมเด็จกรมพระนโรดม สุทธารส
ค.ศ. 1872 - ค.ศ. 1945
พระราชมารดาพระองค์เจ้านโรดม พงางาม ค.ศ. 1874 - ค.ศ. 1944

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 5 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา นับตั้งแต่สมัยการยึดครองของฝรั่งเศส ทรงมีพระนามเต็มว่า พระบาทสมเด็จพระนโรดม​สุรามฤต วิสุทธมหาขัตติยวงศ์ วิสิษฐ​หริพงศ์ คุณาดิเรก​ธรรมจริโยดม บรมบพิตร พระเจ้าพระราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นเจ้าชีวิตเหนือหัว [2]

พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมี่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2439 ทรงเป็นพระโอรสของ สมเด็จกรมพระนโรดม สุทธารส กับพระองค์เจ้านโรดม พงางาม [3] ทรงเป็นพระภาติยะ (ลูกพี่ชาย) [4] และพระชามาดา (ลูกเขย) ของพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ กษัตริย์แห่งกัมพูชาองค์ที่ 3 โดยทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระมหากษัตริยานี สีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีเรศ สิริวัฒนา พระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2463 ทรงมีพระราชโอรสองค์สำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชาองค์ที่ 4

หลังการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหนุ ผู้เป็นพระราชโอรส เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (ภายใต้สังกัดพรรคสังคมราษฎร์นิยมของพระองค์เอง) พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤตจึงได้ทรงขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมี่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2498 และทรงอยู่ในราชสมบัติตราบจนเสด็จสวรรคตเมี่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2503

อนึ่ง ก่อนพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต จะทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลง "นครราช" เป็นเพลงชาติของกัมพูชา ร่วมกับครูเพลงชาวฝรั่งเศสอีก 2 คน[5][6]

อ้างอิง

  1. King Family
  2. ព្រះ​នរោត្តម​សុរាម្រិត វិសុទ្ធ​មហា​ខត្តិ​វង្ស វិសិដ្ឋ​ហរិ​ពង្ស គុណាតិរេក​ធម្មចរិយោត្តម បរម​បពិត្រ ព្រះ​ចៅ​ព្រះ​រាជ​អាណាចក្រ​កម្ពុជា ជា​ម្ចាស់​ជីវិត​លើ​ត្បូង។ (รูปปริวรรตด้วยอักษรไทยคือ พฺระ​บาท​สมฺเตจพฺระ​นโรตฺตม​สุรามฺริต วิสุทฺธ​มหา​ขตฺติ​วงฺส วิสิฎฺฐ​หริ​พงฺส คุณาติเรก​ธมฺมจริโยตฺตม บรม​บพิตฺร พฺระ​เจา​พฺระ​ราช​อาณาจกฺร​กมฺพุชา ชา​มฺจาส̍​ชีวิต​เลิ​ตฺบูงฯ)
  3. http://freepages.genealogy.rootsweb.ancestry.com/~royalty/cambodia/i1.html#I1
  4. สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนโรดม สุทธารส เป็นพระราชโอรสของ สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ (นักองค์ราชาวดี) กษัตริย์องค์ที่ 2, ส่วนพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ เป็นพระราชโอรสของ พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ (นักองค์สีสุวัตถิ์) กษัตริย์องค์ที่ 3 ซึ่งเป็นพระอนุชา
  5. ธิบดี บัวคำศรี. ความเป็นมาของบท "โนกอร์เรียช" เพลงชาติเขมร : การศึกษาเบื้องต้น ใน วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง 2 (1 ม.ค.-เม.ย. 2549).
  6. ศานติ ภักดีคำ. เพลงชาติกัมพูชา ความแตกต่างทางการเมือง ในจุดร่วมแห่งอดีตที่รุ่งเรืองของ "พระนคร" ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 25 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2547