ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง"

พิกัด: 13°43′36″N 100°46′48″E / 13.726725°N 100.780125°E / 13.726725; 100.780125
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TEENIGMA (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
TEENIGMA (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 163: บรรทัด 163:
-
-
|-
|-
| valign = "left" style="background: Pink " | '''[http://www.ite.kmitl.ac.th/ ภาควิชาวิศวกรรมสารสนเทศ]'''
| valign = "left" style="background: Pink " |'''[http://www.ite.kmitl.ac.th/ ภาควิชาวิศวกรรมสารสนเทศ]'''
| valign = "top" style="background: Pink" |
| valign = "top" style="background: Pink" |'''หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต'''
'''หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต'''
* [[วิศวกรรมสารสนเทศ]] หลักสูตร 4 ปี
* [[วิศวกรรมสารสนเทศ]] หลักสูตร 4 ปี
* [[วิศวกรรมสารสนเทศ]] หลักสูตร 3 ปี(เทียบโอน) '''ปัจจุบันไม่เปิดรับนักศึกษาแล้ว'''
* [[วิศวกรรมสารสนเทศ]] หลักสูตร 3 ปี(เทียบโอน) '''ปัจจุบันไม่เปิดรับนักศึกษาแล้ว'''
| valign = "top" style="background: Pink" |
| valign = "top" style="background: Pink" |'''หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต'''
'''หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต'''
* [[วิศวกรรมสารสนเทศ]] หลักสูตร 2 ปี
* [[วิศวกรรมสารสนเทศ]] หลักสูตร 2 ปี
** แผน ก แบบ ก1
** แผน ก แบบ ก1
** แผน ก แบบ ก2
** แผน ก แบบ ก2
| valign = "top" style="background: Pink" |
| valign = "top" style="background: Pink" |'''หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต'''
-
* -
|-
|-
| valign = "left" | ''' [http://www.kmitl.ac.th/foodeng/index.html ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร]'''
| valign = "left" | ''' [http://www.kmitl.ac.th/foodeng/index.html ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร]'''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:30, 8 เมษายน 2555

คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Faculty of Engineering,
King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang
ไฟล์:KMITL Engineer Line Black TH.jpg
สถาปนา24 สิงหาคม พ.ศ. 2503
คณบดีรศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
ที่อยู่
วารสารวิศวสารลาดกระบัง
สี███ สีเลือดหมู
มาสคอต
เกียร์
เว็บไซต์www.kmitl.ac.th/engineer

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง แต่เดิมเป็นเพียง"ศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี" ก่อนจะยกฐานะเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 7 คณะของสถาบัน มีทั้งสิ้น 13 ภาควิชา ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามหอสมุดกลาง ติดกับสถาปัตยกรรมศาสตร์

ประวัติคณะ

ประวัติของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค คือยุคต้นนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงวันที่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และยุคที่ 2 นับจากวันที่ได้รับอนุมัติ จนถึงปัจจุบัน

ยุคต้น

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 รัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นร่วมมือจัดตั้ง “ศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี” ตามที่ได้มีการลงนาม ในข้อตกลงในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2503 จึงถึอว่าวันลงนามนี้เป็นวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีทั้งสิ้น 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร 6 เดือน สำหรับข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และพนักงานองค์กรในสายงานโทรคมนาคม และหลักสูตร 1 ปี สำหรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือจบปีที่ 2 จากโรงเรียนอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกวิทยุโทรคมนาคม ในตอนนั้น มีอาจารย์ชาวไทย จำนวน 10 คน และอาจารย์ชาวญี่ปุ่น จำนวน 8 คน โดยมีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 23 คนเท่านั้น

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2505 มีการปรับปรุงหลักสูตร 1 ปี เป็นหลักสูตร 3 ปีให้เทียบเท่าวิทยาลัยเทคนิคทั่วไป ซึ่งมีคุณวุฒิระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ต่อมาปี พ.ศ. 2507 ได้รับการยกฐานะเป็น “วิทยาลัยโทรคมนาคม นนทบุรี[1] และได้ปรับปรุงหลักสูตรปวส. จากหลักสูตร 3 ปี เป็นหลักสูตร 5 ปี ในสาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม และมีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 49 คน และได้มีการเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2512[1] ปีถัดมาเกิดมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อ สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยี โดยให้ใช้ชื่อว่า “สถาบันเทคโนโลยี” และมีฐานะเทียบเท่ามหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี และวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2513

ในวันที่ 24 เมษายนพ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้พระนาม “พระจอมเกล้า” เป็นชื่อของสถาบันทั้ง 3 วิทยาเขต ภายใต้พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า โดยมีฐานะเป็นกรม สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในปีเดียวกันนั้นได้ย้ายวิทยาเขตมาอยู่ที่ลาดกระบัง ซึ่งเป็นที่ดินของทายาท ท่านเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์(วร บุนนาค หรือ เจ้าคุณทหาร) มีเนื้อที่กว่า 1000 ไร่ เรียกว่า "วิทยาเขตนนทบุรี-ลาดกระบัง"[2] และได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นเงินกว่า 70 ล้านบาทเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนและอื่นๆ และในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2515 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ก็ได้รับรอง "ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม"[3]

ยุคที่ 2

วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2515 วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนสถานภาพเป็น “คณะวิศวกรรมศาสตร์[3] ต่อมาอีก 2 ปีในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 มีการโอนสังกัดของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ปีถัดมาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เปิดสอนในระดับปริญญาโท “หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า” โดยได้รับความเห็นชอบหลักสูตรในวันที่ 19 มิถุนายนในปีเดียวกันนั้น และในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2519 นับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จมาทำการเปิดวิทยาเขตลาดกระบังและได้มีการจัดงานนิทรรศการ "พระจอมเกล้าลาดกระบัง" ขึ้นในระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน พ.ศ. 2519

พ.ศ. 2521 คณะวิศวกรรมศาสตร์ร่วมกับกรมวิเทศสหการและรัฐบาลญี่ปุ่น จัดการอบรมนานาชาติ หลักสูตรเทคโนโลยีโทรคมนาคมขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งยังมีการจัดต่อมาในทุกๆปี นอกจากนี้ยังได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ โซลิดสเตท(ศูนย์วิจัยอิเล็กทรอนิกส์) และอิเล็กทรอนิกส์ และอีกก้าวที่นับเป็นจุดสูงสุดของการศึกษาคือเปิดสอนในระดับปริญญาเอก “หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า” เป็นแห่งแรกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2525และมีนักศึกษาจบหลักสูตร เป็นคนแรกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2529[1] ในปี พ.ศ. 2528 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยอิสระ ตามพระราชบัญญัติ มีชื่อเต็มว่า "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง"[1]

ในปัจจุบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ระดับแนวหน้าของประเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ มีหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกในหลายสาขาทางวิศวกรรมศาสตร์ มีศูนย์วิจัยทางวิศวกรรมศาสตร์จำนวน 2 ศูนย์ โดยในปัจจุบัน มีคณาจารย์จำนวน 296 คน และบุคลากรที่สนับสนุนงานด้านวิชาการจำนวน 246 คน[4]

ตราคณะรูปแบบต่างๆ

ไฟล์:KMITL Engineer Line Black EN.jpg ไฟล์:KMITL Engineer Line Black TH.jpg
ตราพื้นกำมะหยี่ ตราลายเส้นสีดำ(ภาษาอังกฤษ) ตราลายเส้นสีดำ(ภาษาไทย) ตราลายเส้นสีแสด(ภาษาไทย)


หน่วยงานและหลักสูตร


ภาควิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
ภาควิชาวิศวกรรมการวัดคุม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมการวัดคุม

-

ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร แผน ก2

-

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ แผน ก1 และ ก2

-

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี แผน ก1 และ ก2

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
    • กลุ่มวิชาวิศวกรรมความร้อนและของไหล
    • กลุ่มวิชาการออกแบบทางเครื่องกล & แมคาทรอนิกส์
    • กลุ่มวิชากลศาสตร์วิศวกรรม
    • กลุ่มวิชาวิศวกรรมยานยนต์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม

-

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ
  • สาขาวิศวกรรมโยธา
    • แขนงวิชาวิศวกรรมโครงสร้าง
    • แขนงวิชาวิศวกรรมธรณีเทคนิค
    • แขนงวิชาวิศวกรรมขนส่ง
    • แขนงวิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ
    • แขนงวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

-

ภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุม

-

ภาควิชาวิศวกรรมสารสนเทศ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
  • -
ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

-

ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

-

วิศวกรรมอุตสาหการ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

-

หลักสูตรอื่นๆ

-

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

-

ศูนย์วิจัยอิเล็กทรอนิกส์

-

-

-

สำนักงานคณบดี

-

-

-

สัญลักษณ์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์

  • พระมหามงกุฎ เหมือนกับตราสถาบันแต่เพิ่มคำว่า "คณะวิศวกรรมศาสตร์" ลงไป
  • สัญลักษณ์คณะ คือ เกียร์
  • ดอกไม้ประจำคณะ คือ ดอกชงโค
  • สีประจำคณะ คือ สีเลือดหมู

เกร็ด

  • นิทรรศการลาดกระบังนิทรรศน์
    • งานนิทรรศการ "พระจอมเกล้าลาดกระบังนิทรรศน์" ครั้งแรก จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน พ.ศ. 2519 โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในสถาบัน ในวันที่ 19 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทำพิธีเปิดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตลาดกระบังและทรงทอดพระเนตรงานนิทรรศการ[5]
    • งานนิทรรศการ "พระจอมเกล้าลาดกระบังนิทรรศน์ ครั้งที่ 2" จัดในปี พ.ศ. 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานและทอดพระเนตรการแสดงนิทรรศการ[5] จนถึงเวลาเสด็จกลับแต่ยังทรงทอดพระเนตรต่อเป็นการส่วนพระองค์
    • งานนิทรรศการ "พระจอมเกล้าลาดกระบังนิทรรศน์ ครั้งที่ 3" จัดในปี พ.ศ. 2530 เป็นเวลา 5 วัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี พร้อมด้วยสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานและทอดพระเนตรการแสดงนิทรรศการ[5] ซึ่งได้รับความสนใจมากโดยเฉพาะคณะวิศวกรรมจนทางคณะต้องเปิดให้ชมต่ออีก 1 วัน
    • งานนิทรรศการ "พระจอมเกล้าลาดกระบังเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 4" เทคโนโลยีเพื่อปวงชน จัดระหว่างวันที่ 4-8 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 เพื่อร่วมฉลองปีกาญจนาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในการนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานและทอดพระเนตรการแสดงนิทรรศการ[5]
    • งานนิทรรศการ "วิศวลาดกระบังนิทรรศประยุกต์ 2543" จัดระหว่างวันที่ 20-24 ธันวาคม พ.ศ. 2543[5]

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°43′36″N 100°46′48″E / 13.726725°N 100.780125°E / 13.726725; 100.780125

อ้างอิง