ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทะเลอารัล"

พิกัด: 45°N 60°E / 45°N 60°E / 45; 60
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
FoxBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.5) (โรบอต เพิ่ม: ga:Muir Aral
AvocatoBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต แก้ไข: el:Λίμνη Αράλη
บรรทัด 65: บรรทัด 65:
[[da:Aralsøen]]
[[da:Aralsøen]]
[[de:Aralsee]]
[[de:Aralsee]]
[[el:Αράλη]]
[[el:Λίμνη Αράλη]]
[[en:Aral Sea]]
[[en:Aral Sea]]
[[eo:Aralo]]
[[eo:Aralo]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:05, 4 เมษายน 2555

ทะเลอารัล
ที่ตั้ง ประเทศคาซัคสถาน,

ประเทศอุซเบกิสถาน

(เอเชียกลาง)
พิกัด45°N 60°E / 45°N 60°E / 45; 60
ชนิดทะเลปิด
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักแม่น้ำอามูดาร์ยา, แม่น้ำซีร์ดาร์ยา
ประเทศในลุ่มน้ำคาซัคสถาน, อุซเบกิสถาน, เติร์กเมนิสถาน, ทาจิกิสถาน, [อัฟกานิสถาน]]
พื้นที่พื้นน้ำ17,160 กม² (2004, 3 ทะเลสาบ)
28,687 กม² (1998, 2 ทะเลสาบ)
68,000 กม² (1960, 1 ทะเลสาบ)
ความลึกสูงสุด102 ม. 1989
42 ม. 2008 (เฉพาะส่วนทะเลสาบด้านเหนือ)[1]
เมืองอารัล
เรือที่ถูกทิ้งในบริเวณซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นทะเล

ทะเลอารัล (ภาษาคาซัค: Арал Теңізі, Aral Tengizi; ภาษาอุซเบก: Orol dengizi; ภาษารัสเซีย: Аральскοе мοре; ภาษาทาจิก/ภาษาเปอร์เซีย: Daryocha-i Khorazm, Lake Khwarazm) เป็นทะเลปิดที่อยู่ในเอเชียกลาง อยู่ระหว่างประเทศคาซัคสถานกับสาธารณรัฐคาราคัลปัคสถานซึ่งเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศอุซเบกิสถาน ปัจจุบันปริมาณน้ำในทะเลลดลงมากจนทะเลถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ทะเลอารัลเหนือ ทะเลอารัลใต้ส่วนตะวันออกและทะเลอารัลใต้ส่วนตะวันตก

ครั้งหนึ่งทะเลอารัลมีพื้นที่ 68,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นทะเลที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก แต่ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2503 ทะเลอารัลก็ลดขนาดลงเรื่อย ๆ เพราะแม่น้ำอามูดาร์ยาและแม่น้ำเซียร์ดาร์ยาที่นำน้ำมาสู่ทะเลโดนเปลี่ยนเส้นทางเพราะโครงการชลประทานของสหภาพโซเวียต ในปี พ.ศ. 2547 พื้นที่ทะเลลดลงเหลือร้อยละ 25 ของขนาดเดิม และมีค่าความเค็มมากกว่าเดิมถึง 5 เท่าซึ่งทำให้พืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ตายเสียส่วนใหญ่ ในปี พ.ศ. 2550 พื้นที่ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 10 ของขนาดเดิม และแยกตัวออกเป็นทะเลสาบสามส่วน ซึ่งสองในสามนั้นเค็มเกินไปที่ปลาจะอาศัยอยู่ได้[2] อุตสาหกรรมการประมงที่เคยเฟื่องฟูถูกทำลายลง เมืองประมงที่อยู่รอบ ๆ ชายฝั่งเดิมกลายสภาพเป็นสุสานเรือ และทำให้เกิดปัญหาการว่างงานและปัญหาเศรษฐกิจตามมา

ปัญหาสิ่งแวดล้อม

ประวัติ

ภาพถ่ายทะเลอารัลทางอากาศ เดือนสิงหาคม 2528
ภาพถ่ายทะเลอารัลทางอากาศ เดือนตุลาคม 2551

ใน พ.ศ. 2461 รัฐบาลโซเวียตมีโครงการเปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ำสองสายซึ่งหล่อเลี้ยงทะเลอารัล ได้แก่แม่น้ำอามูดาร์ยา ทางตอนใต้ และแม่น้ำซีร์ดาร์ยา ทางตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสร้างการชลประทานให้พื้นที่ทะเลทรายในการปลูกข้าว แตง ธัญพืช และฝ้าย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการของสหภาพโซเวียตเพื่อส่งเสริมให้ฝ้าย หรือทองคำสีขาว กลายเป็นสินค้าส่งออกหลัก โครงการนี้ทำให้ประเทศอุซเบกิสถานกลายเป็นผู้ส่งออกฝ้ายที่ใหญ่ที่สุดประเทศหนึ่งของโลก[3]

การก่อสร้างคลองชลประทานเริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 2480 แต่คลองหลายสายถูกสร้างไม่ดี ทำให้สูญเสียน้ำจากการรั่วและระเหย มีการสูญเสียน้ำประมาณร้อยละ 30 ถึง 75 จากคลองคาราคัมซึ่งเป็นคลองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียกลาง ก่อนถึงปี 2500 น้ำประมาณ 20 ถึง 60 ลูกบาศก์กิโลเมตรไหลไปยังพื้นดินแทนที่จะไหลลงทะเล น้ำที่ไหลลงสู่ทะเลส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเส้นทาง จนทำให้ทะเลอารัลเริ่มหดตัวในช่วงทศวรรษที่ 2500 ระหว่างปี 2504 ถึง 2513 ระดับน้ำทะเลลดลงเฉลี่ยปีละ 20 เซนติเมตร ในทศวรรษที่ 2510 ระดับเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 50 ถึง 60 เซนติเมตรต่อปี และในทศวรรษที่ 2520 น้ำในทะเลยิ่งลดลงเร็วขึ้น ที่อัตราเฉลี่ย 80 ถึง 90 เซนติเมตรต่อปี การใช้น้ำเพื่อการชลประทานก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน ปริมาณน้ำที่ถูกนำไปใช้จากแม่น้ำเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าระหว่างปี 2500 และ 2543 ในขณะที่ปริมาณการผลิตฝ้ายก็เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วงเวลาเดียวกัน อุตสาหกรรมประมงในทะเลอารัลต้องสูญหายไป ทั้งที่ในยุครุ่งเรืองเคยมีการจ้างงานกว่า 40,000 คน และจับปลาได้ถึงหนึ่งในหกของปลาทั้งหมดของสหภาพโซเวียต เช่นเดียวกับการจับหนูมัสแครตบริเวณปากแม่น้ำอามู ดาร์ยาและซีร์ดาร์ยา ซึ่งเคยผลิตขนได้ถึง 500,000 ตัวต่อปี[4]

การหดตัวของทะเลอารัลไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมายของโซเวียต ในปี พ.ศ. 2507 อเล็กซานดร์ อซาริน แห่งสถาบันไฮโดรโปรเจกต์ ชี้ให้เห็นว่าทะเลสาบนี้ต้องถูกทำลายลงโดยอธิบายว่า "มันเป็นส่วนหนึ่งของแผนห้าปีซึ่งอนุมัติโดยรัฐบาลแห่งสหภาพโซเวียต และโปลิตบูโร ไม่มีใครในตำแหน่งต่ำกว่ากล้าขัดแย้งแผนเหล่านี้แม้แต่คำเดียว ถึงแม้ว่ามันจะเกี่ยวข้องกับชะตาของทะเลอารัลก็ตาม"[4]

อ้างอิง

  1. "The Kazakh Miracle: Recovery of the North Aral Sea". Environment News Service. 2008-08-01. สืบค้นเมื่อ 2010-03-22.
  2. Philip Micklin; Nikolay V. Aladin (March 2008). "Reclaiming the Aral Sea". Scientific American. สืบค้นเมื่อ 2008-05-17.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. USDA-Foreign Agriculture Service (2008). "Cotton Production Ranking". National Cotton Council of America. สืบค้นเมื่อ 2008-05-17.
  4. 4.0 4.1 Michael Wines (2002-12-09). "Grand Soviet Scheme for Sharing Water in Central Asia Is Foundering". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-03-08.


แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA