ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เดอะลาสเทมป์เทชันออฟไครสต์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BendelacBOT (คุย | ส่วนร่วม)
r2.5.4) (โรบอต เพิ่ม: ca, he, ko แก้ไข: fa, fi
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต แก้ไข: hr:Posljednje Kristovo iskušenje (1988.)
บรรทัด 57: บรรทัด 57:
[[fr:La Dernière Tentation du Christ (film)]]
[[fr:La Dernière Tentation du Christ (film)]]
[[he:הפיתוי האחרון של ישו]]
[[he:הפיתוי האחרון של ישו]]
[[hr:Posljednje Kristovo iskušenje (1988)]]
[[hr:Posljednje Kristovo iskušenje (1988.)]]
[[it:L'ultima tentazione di Cristo]]
[[it:L'ultima tentazione di Cristo]]
[[ja:最後の誘惑]]
[[ja:最後の誘惑]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:10, 1 เมษายน 2555

เดอะลาสเทมป์เทชันออฟไครสต์
กำกับมาร์ติน สกอร์เซซี
เขียนบทพอล ชเรเดอร์ (บทภาพยนตร์)
นิคอส คาซานซาคิส (นวนิยาย)
อำนวยการสร้างบาร์บารา เดอ ฟีนา
นักแสดงนำวิลเลม ดาโฟ
ฮาร์วีย์ คีเทล
บาร์บารา เฮอร์ชีย์
เดวิด โบวี
กำกับภาพMichael Ballhaus
ตัดต่อThelma Schoonmaker
ดนตรีประกอบปีเตอร์ แกเบรียล
ผู้จัดจำหน่ายยูนิเวอร์แซล
วันฉายค.ศ. 1988
ความยาว164 นาที
ประเทศ สหรัฐ

The Last Temptation of Christ เป็นภาพยนตร์อื้อฉาวที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2531 กำกับโดยมาร์ติน สกอร์เซซี อำนวยการสร้างโดย บาร์บารา เดอ ฟีนา ภรรยาของสกอร์เซซีในขณะนั้น ดัดแปลงจากบทประพันธ์ในชื่อเดียวกันของ นิคอส คาซานซาคิส [1] นักเขียนชาวครีต มีเนี้อหาเกี่ยวกับชีวิตของพระเยซู โดยเน้นไปที่การบำเพ็ญทุกขกิริยา ก่อนจะถูกประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขน และทรงถูกทดสอบโดยมารร้ายในช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ โดยการยั่วยวนด้วยกิเลสทั้งหลาย

ภาพยนตร์รับบทนำโดย วิลเลม ดาโฟ เป็นพระเยซู, ฮาร์วีย์ คีเทล เป็นจูดาส์ อิสคาริออท, บาร์บารา เฮอร์ชีย์ เป็นแมรี แม็กดาเลน มีเดวิด โบวี รับบทสมทบเป็นปอนติอุส ปิลาตุส และแฮรรี ดีน สแตนตัน เป็นพอลแห่งทาร์ซัส [2]

ในช่วงแรกที่ภาพยนตร์ออกฉาย ถูกต่อต้านอย่างหนักจากหมู่ชาวคริสเตียน ด้วยข้อกล่าวหาการดูหมิ่นศาสนา [3] เนื่องจากภาพยนตร์นำเสนอเหตุการณ์ช่วงที่ถูกยั่วยวนจากซาตาน โดยทรงเลือกที่จะแต่งงานกับแมรี แม็กดาเลนและใช้ชีวิตครอบครัวแบบคนธรรมดา แทนที่จะทรงสิ้นพระชนม์ด้วยการตรึงกางเขน รวมทั้งยังมีฉากสั้นๆ ที่แสดงการร่วมเพศระหว่างพระองค์กับแมรี แม็กดาเลน อย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ได้เปิดเผยในท้ายที่สุดว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงนิมิต และทรงเลือกที่จะปฏิบัติตามภารกิจของพระองค์ นอกจากนี้ภาพยนตร์ยังถูกโจมตีถึงรายละเอียดบางอย่างในเรื่อง เช่น ลักษณะการตรึงกางเขนที่มีการตอกตะปูที่ข้อมือ แทนที่จะเป็นที่ฝ่ามือตามภาพเขียนศิลปะคริสต์ศาสนาทั่วไป รวมไปถึงการที่นักแสดงในเรื่องพูดภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกัน [4]

ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกห้ามฉายในหลายประเทศ [5] เช่น ตุรกี, เม็กซิโก, ชิลี, อาร์เจนตินา, ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์

ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้สกอร์เซซีได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม, บาร์บารา เฮอร์ชีย์ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำสาขานักแสดงสมทบหญิง ส่วนบทบาทจูดาส์ อิสคาริออท ของฮาร์วีย์ คีเทล กลับทำให้เขาถูกเสนอชื่อรับรางวัลแรซซี สาขานักแสดงสมทบยอดแย่ [6]

อ้างอิง