ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วังสันติ"

พิกัด: 52°05′12″N 4°17′44″E / 52.0866°N 4.2955°E / 52.0866; 4.2955
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: pnb:امن محل
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
==การเริ่มก่อสร้าง==
==การเริ่มก่อสร้าง==


<!-- [[File:Buste_de_Carnegie_et_plan_originel_du_Palais_de_la_Paix.jpg|thumb|200px|right|รูปปั้นคาร์เนชี ตั้งไว้หน้าแผนที่ดั้งเดิมของวังสันติ]] -->
<!-- [[File:Buste_de_Carnegie_et_plan_originel_du_Palais_de_la_Paix.jpg|thumb|200px|right|รูปปั้นคาร์เนกี ตั้งไว้หน้าแผนที่ดั้งเดิมของวังสันติ]] -->


ใน ค.ศ. 1900 [[Friedrich Martens|ฟรีดิช มาร์เท็นส์]] (Friedrich Martens) นักการทูตชาวรัสเซีย กับ[[Andrew Dickson White|แอนดริว ไวต์]] (Andrew White) นักการทูตชาวอเมริกัน พูดคุยกันเรื่องหาที่ตั้งให้ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร อันจัดตั้งขึ้นใน[[อนุสัญญากรุงเฮก (ค.ศ. 1899 และ 1907|การประชุมสันติภาพ ณ กรุงเฮก]]เมื่อ ค.ศ. 1899 ไวต์ชวน [[Andrew Carnegie|แอนดริว คาร์เนชี]] (Andrew Carnegie) เพื่อนของเขาซึ่งเป็นนักกิจกรรมการกุศล มาร่วมวงด้วย คาร์เนชีค่อนข้างสงวนท่าที เพราะเขาสนใจจะหาทุนสร้างหอสมุดกฎหมายระหว่างประเทศมากกว่า แต่ไวต์ก็หว่านล้อมให้คาร์เนชีมาร่วมงานด้วยเป็นผลสำเร็จ ใน ค.ศ. 1903 คาร์เนชีตกลงจะบริจาคเงินหนึ่งล้านห้าแสนดอลลาร์สหรัฐสร้าง "วัดสันติ" (Peace Temple) หรือที่ต่อมาเปลี่ยนมาเรียกว่า "วังสันติ" เป็นที่ตั้งศาลอนุญาโตตุลาการถาวร แต่มีเงื่อนไขว่าต้องมีหอสมุดกฎหมายระหว่างประเทศอยู่ในอาณาบริเวณด้วย
ใน ค.ศ. 1900 [[Friedrich Martens|ฟรีดิช มาร์เท็นส์]] (Friedrich Martens) นักการทูตชาวรัสเซีย กับ[[Andrew Dickson White|แอนดริว ไวต์]] (Andrew White) นักการทูตชาวอเมริกัน พูดคุยกันเรื่องหาที่ตั้งให้ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร อันจัดตั้งขึ้นใน[[อนุสัญญากรุงเฮก (ค.ศ. 1899 และ 1907|การประชุมสันติภาพ ณ กรุงเฮก]]เมื่อ ค.ศ. 1899 ไวต์ชวน [[Andrew Carnegie|แอนดริว คาร์เนกี]] (Andrew Carnegie) เพื่อนของเขาซึ่งเป็นนักกิจกรรมการกุศล มาร่วมวงด้วย คาร์เนกีค่อนข้างสงวนท่าที เพราะเขาสนใจจะหาทุนสร้างหอสมุดกฎหมายระหว่างประเทศมากกว่า แต่ไวต์ก็หว่านล้อมให้คาร์เนกีมาร่วมงานด้วยเป็นผลสำเร็จ ใน ค.ศ. 1903 คาร์เนกีตกลงจะบริจาคเงินหนึ่งล้านห้าแสนดอลลาร์สหรัฐสร้าง "วัดสันติ" (Peace Temple) หรือที่ต่อมาเปลี่ยนมาเรียกว่า "วังสันติ" เป็นที่ตั้งศาลอนุญาโตตุลาการถาวร แต่มีเงื่อนไขว่าต้องมีหอสมุดกฎหมายระหว่างประเทศอยู่ในอาณาบริเวณด้วย


เบื้องต้น คาร์เนชีจะบริจาคเงินดังกล่าวให้แก่[[สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์|วิลเฮมมินา สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์]] เพื่อไปดำเนินโครงการสร้างวังสันติ แต่ติดขัดทางข้อกฎหมาย ดังนั้น ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1903 คาร์เนชีจึงตั้ง[[มูลนิธิคาร์เนชี (เนเธอร์แลนด์|มูลนิธิคาร์เนชีสาขาเนเธอร์แลนด์]]ขึ้น เพื่อควบคุมการก่อสร้าง เพื่อถือกรรมสิทธิ์ และเพื่อคอยบำรุงรักษาวังสันติ ปัจจุบัน มูลนิธิคาร์เนชีก็ยังคงถือกรรมสิทธิ์ในวังสันติ ตลอดจนมีสิทธิและอำนาจก่อสร้างและบำรุงรักษาดังกล่าวนั้นอยู่
เบื้องต้น คาร์เนกีจะบริจาคเงินดังกล่าวให้แก่[[สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์|วิลเฮมมินา สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์]] เพื่อไปดำเนินโครงการสร้างวังสันติ แต่ติดขัดทางข้อกฎหมาย ดังนั้น ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1903 คาร์เนกีจึงตั้ง[[มูลนิธิคาร์เนกี (เนเธอร์แลนด์|มูลนิธิคาร์เนกีสาขาเนเธอร์แลนด์]]ขึ้น เพื่อควบคุมการก่อสร้าง เพื่อถือกรรมสิทธิ์ และเพื่อคอยบำรุงรักษาวังสันติ ปัจจุบัน มูลนิธิคาร์เนกีก็ยังคงถือกรรมสิทธิ์ในวังสันติ ตลอดจนมีสิทธิและอำนาจก่อสร้างและบำรุงรักษาดังกล่าวนั้นอยู่


==การก่อสร้าง==
==การก่อสร้าง==
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
<!-- [[File:Peace_palace_main_hall_1024.jpg|thumb|200px|ข้างในวังสันติ]] -->
<!-- [[File:Peace_palace_main_hall_1024.jpg|thumb|200px|ข้างในวังสันติ]] -->


เพื่อสรรหารูปแบบที่เหมาะสม มูลนิธิคาร์เนชีจึงจัดประกวดออกแบบสถาปัตยกรรมระหว่างประเทศขึ้น [[หลุยส์ แอ็ม. กอร์ดอนนีเยร์]] (Louis M. Cordonnier) สถาปนิกชาวฝรั่งเศส ชนะการประกวด เขาออกแบบวังไปในแนว[[ฟื้นฟูศิลปวิทยาใหม่]] (Neo-Renaissance) แต่เพื่อให้พอดีกับทุนที่มี คาร์เนชี กับ[[Van der Steur|ฟาน เดอร์ สเทอร์]] (Van der Steur) ผู้ช่วยชาวเนเธอร์แลนด์ของเขา ได้ปรับปรุงแบบวัง จากเดิมที่จะให้มีหอระฆังใหญ่สองหอด้านหน้าวัง และหอระฆังเล็กอีกสองหอด้านหลังวัง เป็นเหลือด้านหน้าและด้านหลังด้านละหอ นอกจากนี้ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย หอสมุดกฎหมายระหว่างประเทศที่เดิมจะให้แยกไว้ข้างวัง ก็ปรับปรุงเป็นให้อยู่ในตัววังเสียเลย
เพื่อสรรหารูปแบบที่เหมาะสม มูลนิธิคาร์เนกีจึงจัดประกวดออกแบบสถาปัตยกรรมระหว่างประเทศขึ้น [[หลุยส์ แอ็ม. กอร์ดอนนีเยร์]] (Louis M. Cordonnier) สถาปนิกชาวฝรั่งเศส ชนะการประกวด เขาออกแบบวังไปในแนว[[ฟื้นฟูศิลปวิทยาใหม่]] (Neo-Renaissance) แต่เพื่อให้พอดีกับทุนที่มี คาร์เนกี กับ[[Van der Steur|ฟาน เดอร์ สเทอร์]] (Van der Steur) ผู้ช่วยชาวเนเธอร์แลนด์ของเขา ได้ปรับปรุงแบบวัง จากเดิมที่จะให้มีหอระฆังใหญ่สองหอด้านหน้าวัง และหอระฆังเล็กอีกสองหอด้านหลังวัง เป็นเหลือด้านหน้าและด้านหลังด้านละหอ นอกจากนี้ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย หอสมุดกฎหมายระหว่างประเทศที่เดิมจะให้แยกไว้ข้างวัง ก็ปรับปรุงเป็นให้อยู่ในตัววังเสียเลย


ส่วนลานของวังนั้น [[Thomas Hayton Mawson|ธอมัส เฮย์ตัน มอว์สัน]] (Thomas Hayton Mawson) ชนะการประกวด แต่เนื่องจากงบน้อย เขาจึงจำต้องตัดน้ำพุและประติมากรรมต่าง ๆ ออกจากแบบ
ส่วนลานของวังนั้น [[Thomas Hayton Mawson|ธอมัส เฮย์ตัน มอว์สัน]] (Thomas Hayton Mawson) ชนะการประกวด แต่เนื่องจากงบน้อย เขาจึงจำต้องตัดน้ำพุและประติมากรรมต่าง ๆ ออกจากแบบ
บรรทัด 25: บรรทัด 25:


<gallery caption="รูปปั้นครึ่งตัวบางรูปที่มีอยู่ในวังสันติ">
<gallery caption="รูปปั้นครึ่งตัวบางรูปที่มีอยู่ในวังสันติ">
File:Andrew carnegie Palais de la Paix Peace Palace Den Haag The Hague La Haye.jpg|[[Andrew Carnegie|แอนดริว คาร์เนชี]] (Andrew Carnegie)
File:Andrew carnegie Palais de la Paix Peace Palace Den Haag The Hague La Haye.jpg|[[Andrew Carnegie|แอนดริว คาร์เนกี]] (Andrew Carnegie)
File:William_randal.jpg|[[William Randal Cremer|วิลเลียม แรนดัล ครีเมอร์]] (William Randal Cremer)
File:William_randal.jpg|[[William Randal Cremer|วิลเลียม แรนดัล ครีเมอร์]] (William Randal Cremer)
File:Rui barbosa.jpg|[[Rui Barbosa|รูอี บาร์โบซา]] (Rui Barbosa)
File:Rui barbosa.jpg|[[Rui Barbosa|รูอี บาร์โบซา]] (Rui Barbosa)
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
</gallery>
</gallery>


ใน ค.ศ. 1907 ระหว่างการประชุมสันติภาพครั้งที่สอง ณ กรุงเฮก มีการวาง[[ศิลาฤกษ์]]ของวังสันติ แล้วลงมือก่อสร้างกันในหลาย ๆ เดือนถัดมา จนเสร็จและมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1913 แอนดริว คาร์เนชี ก็มาร่วมงานด้วย
ใน ค.ศ. 1907 ระหว่างการประชุมสันติภาพครั้งที่สอง ณ กรุงเฮก มีการวาง[[ศิลาฤกษ์]]ของวังสันติ แล้วลงมือก่อสร้างกันในหลาย ๆ เดือนถัดมา จนเสร็จและมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1913 แอนดริว คาร์เนกี ก็มาร่วมงานด้วย


ใน ค.ศ. 1999 มีการติดตั้ง "[[เพลิงนิรันดร์|เพลิงสันติอันเป็นนิรันดร์]] (eternal peace flame) ซึ่งเป็นชื่อเรียกคบเพลิงที่ตามไฟไว้ตลอด ไว้หน้าประตูทั้งปวงของวัง
ใน ค.ศ. 1999 มีการติดตั้ง "[[เพลิงนิรันดร์|เพลิงสันติอันเป็นนิรันดร์]] (eternal peace flame) ซึ่งเป็นชื่อเรียกคบเพลิงที่ตามไฟไว้ตลอด ไว้หน้าประตูทั้งปวงของวัง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:54, 31 มีนาคม 2555

วังสันติ (27 เมษายน 2007)

วังสันติ (ดัตช์: Vredespaleis; อังกฤษ: Peace Palace) เป็นหมู่อาคารอันตั้งอยู่ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ชื่อว่าเป็น "บัลลังก์แห่งกฎหมายระหว่างประเทศ" หรือ "ที่ประดิษฐานกฎหมายระหว่างประเทศ" (seat of international law) เพราะเป็นที่ตั้งกองบัญชาการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ, ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร, เนติบัณฑิตยสถานระหว่างประเทศแห่งกรุงเฮก และหอสมุดแห่งวังสันติที่ล้ำค่า นอกจากเป็นที่ตั้งสถาบันดังกล่าวแล้ว ที่วังสันติยังมักจัดเทศกาลพิเศษเกี่ยวกับนโยบายระหว่างประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศด้วย

การเริ่มก่อสร้าง

ใน ค.ศ. 1900 ฟรีดิช มาร์เท็นส์ (Friedrich Martens) นักการทูตชาวรัสเซีย กับแอนดริว ไวต์ (Andrew White) นักการทูตชาวอเมริกัน พูดคุยกันเรื่องหาที่ตั้งให้ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร อันจัดตั้งขึ้นในการประชุมสันติภาพ ณ กรุงเฮกเมื่อ ค.ศ. 1899 ไวต์ชวน แอนดริว คาร์เนกี (Andrew Carnegie) เพื่อนของเขาซึ่งเป็นนักกิจกรรมการกุศล มาร่วมวงด้วย คาร์เนกีค่อนข้างสงวนท่าที เพราะเขาสนใจจะหาทุนสร้างหอสมุดกฎหมายระหว่างประเทศมากกว่า แต่ไวต์ก็หว่านล้อมให้คาร์เนกีมาร่วมงานด้วยเป็นผลสำเร็จ ใน ค.ศ. 1903 คาร์เนกีตกลงจะบริจาคเงินหนึ่งล้านห้าแสนดอลลาร์สหรัฐสร้าง "วัดสันติ" (Peace Temple) หรือที่ต่อมาเปลี่ยนมาเรียกว่า "วังสันติ" เป็นที่ตั้งศาลอนุญาโตตุลาการถาวร แต่มีเงื่อนไขว่าต้องมีหอสมุดกฎหมายระหว่างประเทศอยู่ในอาณาบริเวณด้วย

เบื้องต้น คาร์เนกีจะบริจาคเงินดังกล่าวให้แก่วิลเฮมมินา สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ เพื่อไปดำเนินโครงการสร้างวังสันติ แต่ติดขัดทางข้อกฎหมาย ดังนั้น ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1903 คาร์เนกีจึงตั้งมูลนิธิคาร์เนกีสาขาเนเธอร์แลนด์ขึ้น เพื่อควบคุมการก่อสร้าง เพื่อถือกรรมสิทธิ์ และเพื่อคอยบำรุงรักษาวังสันติ ปัจจุบัน มูลนิธิคาร์เนกีก็ยังคงถือกรรมสิทธิ์ในวังสันติ ตลอดจนมีสิทธิและอำนาจก่อสร้างและบำรุงรักษาดังกล่าวนั้นอยู่

การก่อสร้าง

เพื่อสรรหารูปแบบที่เหมาะสม มูลนิธิคาร์เนกีจึงจัดประกวดออกแบบสถาปัตยกรรมระหว่างประเทศขึ้น หลุยส์ แอ็ม. กอร์ดอนนีเยร์ (Louis M. Cordonnier) สถาปนิกชาวฝรั่งเศส ชนะการประกวด เขาออกแบบวังไปในแนวฟื้นฟูศิลปวิทยาใหม่ (Neo-Renaissance) แต่เพื่อให้พอดีกับทุนที่มี คาร์เนกี กับฟาน เดอร์ สเทอร์ (Van der Steur) ผู้ช่วยชาวเนเธอร์แลนด์ของเขา ได้ปรับปรุงแบบวัง จากเดิมที่จะให้มีหอระฆังใหญ่สองหอด้านหน้าวัง และหอระฆังเล็กอีกสองหอด้านหลังวัง เป็นเหลือด้านหน้าและด้านหลังด้านละหอ นอกจากนี้ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย หอสมุดกฎหมายระหว่างประเทศที่เดิมจะให้แยกไว้ข้างวัง ก็ปรับปรุงเป็นให้อยู่ในตัววังเสียเลย

ส่วนลานของวังนั้น ธอมัส เฮย์ตัน มอว์สัน (Thomas Hayton Mawson) ชนะการประกวด แต่เนื่องจากงบน้อย เขาจึงจำต้องตัดน้ำพุและประติมากรรมต่าง ๆ ออกจากแบบ

ภายในวัง ประดับประดาด้วยของขวัญจากชาติต่าง ๆ ที่ร่วมการประชุมสันติภาพ ณ กรุงเฮก เพื่อแสดงการสนับสนุนการก่อสร้าง ในบรรดาของขวัญเหล่านี้ ชิ้นเด่น ๆ ได้แก่ แจกันน้ำหนัก 3.2 ตันจากรัสเซีย, บานประตูจากเบลเยียม, พรมติดผนังจากญี่ปุ่น, นาฬิกาสำหรับหอนาฬิกาจากสวิตเซอร์แลนด์, พรมเปอร์เซียจากอิหร่าน และไม้จากอินโดนีเซียกับสหรัฐอเมริกา อนึ่ง ยังมีรูปปั้นและรูปเขียนนักรณรงค์เพื่อสันติอีกหลาย ๆ คนที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกและจากหลาย ๆ ยุค ด้วย

ใน ค.ศ. 1907 ระหว่างการประชุมสันติภาพครั้งที่สอง ณ กรุงเฮก มีการวางศิลาฤกษ์ของวังสันติ แล้วลงมือก่อสร้างกันในหลาย ๆ เดือนถัดมา จนเสร็จและมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1913 แอนดริว คาร์เนกี ก็มาร่วมงานด้วย

ใน ค.ศ. 1999 มีการติดตั้ง "เพลิงสันติอันเป็นนิรันดร์ (eternal peace flame) ซึ่งเป็นชื่อเรียกคบเพลิงที่ตามไฟไว้ตลอด ไว้หน้าประตูทั้งปวงของวัง

ใน ค.ศ. 2007 เบียทริกซ์ พระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์ เสด็จเปิดหอสมุดกฎหมายแห่งวังสันติที่สร้างขึ้นใหม่ สำหรับเป็นที่ตั้งหอสมุดขนาดใหญ่ทั้งหลัง, ห้องบรรยายวิชา และห้องอ่านตำรา ซึ่งมีทางเชื่อมไปยังตัววังสันติด้วย


แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

52°05′12″N 4°17′44″E / 52.0866°N 4.2955°E / 52.0866; 4.2955