ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมาน กาญจนะผลิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 52: บรรทัด 52:
ผลงานของครูสมาน กาญจนะผลิน มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า "สังคีตประยุกต์" เป็นการนำดนตรีไทยมาบรรเลงผสมผสานกับดนตรีสากล เพลงที่มีชื่อเสียงเช่น เพลง "วิหคเหิรลม" "ง้อรัก" "จูบเย้ยจันทร์" "นกเขาคูรัก" "สัญญารัก" "ท่าฉลอม" "แสนแสบ" ส่วนใหญ่เป็นผลงานแต่งร่วมกับศิลปินท่านอื่น เช่น สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ [[เกษม ชื่นประดิษฐ์]] [[ชาลี อินทรวิจิตร]]
ผลงานของครูสมาน กาญจนะผลิน มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า "สังคีตประยุกต์" เป็นการนำดนตรีไทยมาบรรเลงผสมผสานกับดนตรีสากล เพลงที่มีชื่อเสียงเช่น เพลง "วิหคเหิรลม" "ง้อรัก" "จูบเย้ยจันทร์" "นกเขาคูรัก" "สัญญารัก" "ท่าฉลอม" "แสนแสบ" ส่วนใหญ่เป็นผลงานแต่งร่วมกับศิลปินท่านอื่น เช่น สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ [[เกษม ชื่นประดิษฐ์]] [[ชาลี อินทรวิจิตร]]


ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของครูสมาน คือเพลง "รักคุณเข้าแล้ว" แต่งร่วมกับสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ขับร้องโดย [[สุเทพ วงศ์กำแหง]] เมื่อ พ.ศ. 2498 รวมทั้งผลงานเด่นชื่อ "รักแท้" แต่งร่วมกับ [[แก้วฟ้า]] เพลงที่ทำให้ [[อรัญญา นามวงศ์]] เป็นที่จดจำกันทั่วไปจากภาพยนตร์เรื่อง [[เกาะสวาท หาดสวรรค์]] เมื่อ พ.ศ. 2512
ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของครูสมาน คือเพลง "รักคุณเข้าแล้ว" แต่งร่วมกับสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ขับร้องโดย [[สุเทพ วงศ์กำแหง]] เมื่อ พ.ศ. 2498 รวมทั้งผลงานเด่นชื่อ "รักแท้" แต่งร่วมกับ [[แก้วฟ้า]] เพลงที่ทำให้ [[อรัญญา นามวงศ์]] เป็นที่จดจำกันทั่วไปจากภาพยนตร์เรื่อง [[เกาะสวาทหาดสวรรค์]] เมื่อ พ.ศ. 2512


สมาน กาญจนะผลิน ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น[[ศิลปินแห่งชาติ]] สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีไทยสากล ประจำปี พ.ศ. 2531 ก่อนจะเสียชีวิตเมื่อวันที่ [[25 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2538]] อายุ 74 ปี
สมาน กาญจนะผลิน ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น[[ศิลปินแห่งชาติ]] สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีไทยสากล ประจำปี พ.ศ. 2531 ก่อนจะเสียชีวิตเมื่อวันที่ [[25 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2538]] อายุ 74 ปี

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:43, 28 มีนาคม 2555

สมาน กาญจนะผลิน
ไฟล์:ครุสมาน.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด10 มีนาคม พ.ศ. 2464
สมาน กาญจนะผลิน
เสียชีวิต25 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (อายุ 74 ปี)
จังหวัดนนทบุรี
อาชีพนักแต่งเพลง นักดนตรี
ปีที่แสดงพ.ศ. 2485 -
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2531 - สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล)

สมาน กาญจนะผลิน (10 มีนาคม พ.ศ. 2464 - 25 มิถุนายน พ.ศ. 2538) นักดนตรีและนักแต่งเพลง ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2531

สมาน กาญจนะผลิน เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 7 คนของหมื่นคนธรรพ์ประสิทธิสาร (แตะ กาญจนะผลิน) กับนางแหวว กาญจนะผลิน มีพื้นฐานด้านดนตรีไทยเดิมมาตั้งแต่เด็ก เนื่องจากบิดาเป็นหัวหน้าวงดนตรีไทย โดยมีพี่ชาย ชื่อ พริ้ง กาญจนะผลิน เป็นผู้ให้การฝึกฝนเพิ่มเติม ต่อมาสมาน กาญจนะผลิน เข้าเรียนวิชาดนตรีเพิ่มเติมที่โรงเรียนนาฏดุริยางค์ กรมศิลปากร ศึกษาดนตรีไทย ดนตรีสากล และการเรียบเรียงเสียงประสานจากครูมนตรี ตราโมท พระเจนดุริยางค์ ขุนสมานเสียงประจักษ์

หลังจากเรียนจบเพื่อ พ.ศ. 2485 ได้รับราชการกับวงดุริยางค์ของกรมศิลปากร และได้ออกมาตั้งวงดนตรีของตัวเอง ชื่อ วงดนตรีกาญจนศิลป์ ร่วมกับ ประสิทธิ์ พยอมยงค์ และจำนรรจ์ กุณฑลจินดา ในปี พ.ศ. 2489 ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ได้ย้ายไปร่วมวงดนตรีประสานมิตร วงดนตรีวรรณเกษม แล้วย้ายไปเป็นหัวหน้าวงดนตรีของธนาคารออมสิน และวงดนตรีของโรงงานยาสูบ จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ

เพลงแรกที่ครูสมานเป็นผู้แต่งทำนอง คือเพลง "กลีบเนื้อนาง" ขับร้องโดยชาญ เย็นแข แต่งคำร้องโดย สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ นำทำนองมาจากเพลงไทยเดิมชื่อ "เพลงดาวทอง"

ผลงานของครูสมาน กาญจนะผลิน มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า "สังคีตประยุกต์" เป็นการนำดนตรีไทยมาบรรเลงผสมผสานกับดนตรีสากล เพลงที่มีชื่อเสียงเช่น เพลง "วิหคเหิรลม" "ง้อรัก" "จูบเย้ยจันทร์" "นกเขาคูรัก" "สัญญารัก" "ท่าฉลอม" "แสนแสบ" ส่วนใหญ่เป็นผลงานแต่งร่วมกับศิลปินท่านอื่น เช่น สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ เกษม ชื่นประดิษฐ์ ชาลี อินทรวิจิตร

ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของครูสมาน คือเพลง "รักคุณเข้าแล้ว" แต่งร่วมกับสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ขับร้องโดย สุเทพ วงศ์กำแหง เมื่อ พ.ศ. 2498 รวมทั้งผลงานเด่นชื่อ "รักแท้" แต่งร่วมกับ แก้วฟ้า เพลงที่ทำให้ อรัญญา นามวงศ์ เป็นที่จดจำกันทั่วไปจากภาพยนตร์เรื่อง เกาะสวาทหาดสวรรค์ เมื่อ พ.ศ. 2512

สมาน กาญจนะผลิน ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีไทยสากล ประจำปี พ.ศ. 2531 ก่อนจะเสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2538 อายุ 74 ปี

อ้างอิง

  • เจนภพ จบกระบวนวรรณ. เพลงลูกทุ่ง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 176 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-83-0

แหล่งข้อมูลอื่น