ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ขอให้กล้า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Movses-bot (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
{{แนวปฏิบัติ}}
{{แนวปฏิบัติ}}
{{กล่องแนวปฏิบัติ}}
{{กล่องแนวปฏิบัติ}}
ชุมชนชาววิกิแนะนำให้ผู้ใช้มีความ '''กล้า''' ในการเขียน และแก้ไขบทความ [[วิกิพีเดีย]]จะพัฒนาได้รวดเร็ว ก็ต่อเมื่อแต่ละคนกล้าที่จะเข้ามาช่วยเหลือกัน คนหนึ่งแก้เนื้อความ คนหนึ่งแก้ไวยากรณ์ คนหนึ่งเพิ่มข้อมูล และอีกหลายๆคนช่วยกันดูว่าภาษาที่ใช้นั้น กระชับและมีความหมายได้ใจความ ง่ายต่อการอ่านหรือไม่ การแก้ไขบทความเป็นสิ่งที่กระทำได้ และเป็นสิ่งที่ทุกคนคาดหวังไว้ คุณสามารถที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้นที่คุณพบได้ด้วยตนเองแทนที่จะถามว่า "'ทำไมหน้าเหล่านี้จึงไม่มีการปรับปรุง'" ก่อนแก้ไขก็อย่าลืมดูเกี่ยวกับ [[วิกิพีเดีย:มารยาทในวิกิพีเดีย|มารยาทในวิกิพีเดีย]] การแก้วิกิพีเดียก็เหมือนดังชื่อ [[วิกิ]] ที่มีความหมายว่า เร็วๆ ไวๆ (ในภาษาฮาวาย) คิดได้เมื่อไร ก็เขียนเลยเมื่อนั้น จะช่วยให้วิกิพีเดียเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
ชุมชนชาววิกิแนะนำให้ผู้ใช้มีความ '''กล้า''' ในการเขียน และแก้ไขบทความ [[วิกิพีเดีย]]จะพัฒนาได้รวดเร็ว ก็ต่อเมื่อแต่ละคนกล้าที่จะเข้ามา[[แม่แบบ:มาช่วยกัน|ช่วยเหลือกัน]] คนหนึ่งแก้เนื้อความ คนหนึ่งแก้ไวยากรณ์ คนหนึ่งเพิ่มข้อมูล และอีกหลายๆคนช่วยกันดูว่าภาษาที่ใช้นั้น กระชับและมีความหมายได้ใจความ ง่ายต่อการอ่านหรือไม่ การแก้ไขบทความเป็นสิ่งที่กระทำได้ และเป็นสิ่งที่ทุกคนคาดหวังไว้ คุณสามารถที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้นที่คุณพบได้ด้วยตนเองแทนที่จะถามว่า "'ทำไมหน้าเหล่านี้จึงไม่มีการปรับปรุง'" ก่อนแก้ไขก็อย่าลืมดูเกี่ยวกับ [[วิกิพีเดีย:มารยาทในวิกิพีเดีย|มารยาทในวิกิพีเดีย]] การแก้วิกิพีเดียก็เหมือนดังชื่อ [[วิกิ]] ที่มีความหมายว่า เร็วๆ ไวๆ (ในภาษาฮาวาย) คิดได้เมื่อไร ก็เขียนเลยเมื่อนั้น จะช่วยให้วิกิพีเดียเติบโตได้อย่างรวดเร็ว


[[ภาพ:Be Bold Thai 2 200px.png|left]]
[[ภาพ:Be Bold Thai 2 200px.png|left]]
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==
* [[วิกิพีเดีย:การแก้ไขหน้า|การแก้ไขหน้า]]
* [[วิกิพีเดีย:การแก้ไขหน้า|การแก้ไขหน้า]]
* [[แม่แบบ:มาช่วยกัน|มาช่วยกัน]]


{{นโยบายและแนวปฏิบัติ}}
{{นโยบายและแนวปฏิบัติ}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:34, 20 มีนาคม 2555

ชุมชนชาววิกิแนะนำให้ผู้ใช้มีความ กล้า ในการเขียน และแก้ไขบทความ วิกิพีเดียจะพัฒนาได้รวดเร็ว ก็ต่อเมื่อแต่ละคนกล้าที่จะเข้ามาช่วยเหลือกัน คนหนึ่งแก้เนื้อความ คนหนึ่งแก้ไวยากรณ์ คนหนึ่งเพิ่มข้อมูล และอีกหลายๆคนช่วยกันดูว่าภาษาที่ใช้นั้น กระชับและมีความหมายได้ใจความ ง่ายต่อการอ่านหรือไม่ การแก้ไขบทความเป็นสิ่งที่กระทำได้ และเป็นสิ่งที่ทุกคนคาดหวังไว้ คุณสามารถที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้นที่คุณพบได้ด้วยตนเองแทนที่จะถามว่า "'ทำไมหน้าเหล่านี้จึงไม่มีการปรับปรุง'" ก่อนแก้ไขก็อย่าลืมดูเกี่ยวกับ มารยาทในวิกิพีเดีย การแก้วิกิพีเดียก็เหมือนดังชื่อ วิกิ ที่มีความหมายว่า เร็วๆ ไวๆ (ในภาษาฮาวาย) คิดได้เมื่อไร ก็เขียนเลยเมื่อนั้น จะช่วยให้วิกิพีเดียเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

ถ้าอ่านบทความแล้วรู้สึกว่า บทความนั้นๆ ยังปรับปรุงได้อีกเยอะ หรือเป็นแค่บทความเรียกเสียงหัวเราะ หรือเรื่องไร้สาระอย่างชัดเจน อย่าไปกลัวกังวลกับความรู้สึกของเขา แก้บทความนั้น เพิ่มเติมปรับปรุง (แล้วย้ายเนื้อหาที่ถูกลบไปที่ตลกร้ายและเรื่องไร้สาระที่ถูกลบ) นี่คือเรื่องปกติของวิกิพีเดีย

อย่ายึดติดกับเรื่องที่เราเขียน โดยสัญชาตญาณของมนุษย์ จะรู้สึกภูมิใจที่ได้ทำงาน หรือเขียนงานอะไรขึ้นมา อย่าให้ความรู้สึกนั้นมายึดติดในหัวเรา เพราะเมื่อโดนคนอื่นแก้งาน อาจจะหงุดหงิดได้ แต่ลองนึกดูว่าถ้าทุกคนช่วยแก้งานที่เราเขียน งานที่เราสร้างขึ้นมาจะพัฒนาดีขึ้นมากแค่ไหน โดยทั่วไปแล้ว สัญชาตญาณของเราที่ต้องการ "ครอบครอง" สิ่งที่เราเขียนนั้น เป็นลักษณะที่เป็นผลเสียกับที่นี่ และมันจะเป็นการดีถ้าเราจะเคาะสนิมของการยึดติดทางอารมณ์เสียบ้าง โดยการแก้ไขบทความอย่างถึงราก ถ้ามันจะทำให้เกิดผลที่ดีขึ้น แน่นอน คนอื่น ๆ ก็จะแก้ไขบทความที่ "คุณ" เขียนอย่างกล้าหาญ และไร้ความปรานี ด้วยเช่นกัน แต่อย่าไปคิดเป็นเรื่องส่วนตัว ทุกคนที่นี่ต่างต้องการ ทำให้วิกิพีเดียดีที่สุดเท่าที่มันจะเป็นได้ทั้งนั้น

แก้เลย แต่อย่าสะเพร่า

ผู้ใช้ใหม่นั้น มักจะตื่นเต้นไปกับการเปิดกว้างของวิกิพีเดียและกระโจนเข้าใส่มัน นี่เป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าลืมว่า ขอให้กล้าแก้ไขบทความ ไม่ได้หมายความว่าคุณควรจะลบบทความเกี่ยวกับประเด็นที่ซับซ้อน และเต็มไปด้วยการโต้เถียง ที่มีประวัติยาวนานหลายๆ อัน ในหลายๆ กรณี เนื้อหาของบทความที่คุณเห็นนั้น ผ่านกระบวนการแก้ไขและเจรจาต่อรองของชาววิกิพีเดียที่มีประสบการณ์และมุมมองที่แตกต่างกัน การแก้ไขโดยไม่ระวังต่อบทความดังกล่าว อาจการเป็นการเข้าไปตีรังผึ้ง และผู้ใช้ที่มีส่วนร่วมในการเขียนบทความในหน้านั้น อาจโต้ตอบอย่างโกรธเกรี้ยว กระนั้นก็ตามการแก้ไขไวยากรณ์ที่ผิดพลาดนั้น ก็ยังเป็นสิ่งที่ควรกระทำอยู่

ถ้าคุณพบบทความเกี่ยวกับประเด็นที่ก่อให้เกิดการโต้เถียงที่คุณต้องการจะแก้ไข คุณควรจะเข้าไปอ่านบทความให้ครบถ้วน อ่านหน้าอภิปราย และดูประวัติของบทความนั้นๆ เพื่อจะได้พอทราบที่มาที่ไปและสถานะปัจจุบันของบทความดังกล่าว

ถ้าคุณเป็นชาววิกิพีเดียผู้ช่ำชอง คุณน่าจะพอทราบได้ว่าการแก้ไขใดเป็นสิ่งที่ผู้คนยอมรับ และอะไรเป็นสิ่งที่ควรต้องสอบถามก่อน

แต่ถ้าคุณเป็นผู้ใช้มือใหม่และไม่แน่ใจว่าคนอื่นๆ จะมองการแก้ไขของคุณว่าอย่างไร แต่คุณก็ต้องการจะแก้ไขหรือลบบางส่วนของบทความ เราแนะนำว่าคุณควรจะ

  1. คัดลอกข้อความดังกล่าวไปยังหน้าอภิปราย และเขียนความเห็นขัดแย้งของคุณไว้ (ในกรณีที่ส่วนดังกล่าวเป็นประโยค หรือมีความยาวระดับประโยค)
  2. เขียนความเห็นของคุณไว้ในหน้าอภิปราย แต่เก็บหน้าบทความไว้เช่นเดิม (ในกรณีที่ส่วนดังกล่าวมีความยาวค่อนข้างมาก)

หลังจากนั้นรอคำตอบสักระยะ ถ้าไม่มีใครมีความเห็นขัดแย้ง คุณก็สามารถดำเนินการไปได้ แต่อย่าลืมที่จะย้ายส่วนที่ลบที่มีขนาดใหญ่ ไปไว้ที่หน้าอภิปราย และเขียนความเห็นของคุณกำกับไว้ด้วย เพื่อที่ผู้ใช้คนอื่นๆ จะได้เข้าใจการแก้ไขของคุณ และสามารถเข้าใจประวัติของบทความนั้นได้ และอย่าลืมที่จะใส่คำอธิบายอย่างย่อของการแก้ไขของคุณลงไปด้วย

นอกจากนี้ คุณควรจะมีเคารพใน ระบบที่เป็นอยู่ บ้าง เช่น หลีกเลี่ยงที่จะแก้ไขเนื้อหาของบทความ ถ้าในขณะนั้นได้มีการลงความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขดังกล่าวอยู่ โดยเฉพาะถ้ายังไม่มีการเห็นพ้องต้องกันอย่างชัดเจน

แต่อย่าเพิ่งกลัวไป

อย่างไรก็ดี สำหรับบทความอื่นๆ อีกมากมายนั้น คุณสามารถจะเข้าไปแก้ไขเช่นใดก็ได้ตามที่คุณเห็นว่าดี เฉพาะบางเรื่องที่อ่อนไหวเท่านั้นที่คุณจะต้องระมัดระวัง และโดยมากคุณก็น่าจะรู้ได้ในทันที ส่วนในกรณีที่คุณไม่ทราบ ถ้าคุณชอบที่จะโต้เถียง ส่วนใหญ่แล้ว ความกล้า ของคุณก็มักจะเป็นจุดยืนที่พออธิบายได้ ยิ่งไปกว่านั้น คุณก็ไม่น่าจะเป็นคนแรกที่เข้าไปแก้ไขบทความที่มีการโต้เถียงเหล่านั้น และแน่นอน คุณคงจะไม่ใช่คนสุดท้าย พูดง่ายๆ ก็คือการปรับปรุงที่มีการเพิ่มเติมเนื้อหาและข้อมูลมีแนวโน้มที่จะได้รับการยอมรับ มากกว่าการปรับปรุงที่ลบ หรือตัดเนื้อหาบางส่วนทิ้ง

การเรียนรู้

อย่างไรก็ตาม คุณสามารถพัฒนาทักษะในการเขียนของคุณได้โดยการเรียนรู้จากการเขียนของคนอื่น บางทีคุณอาจเรียนรู้จากการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของบทความที่คุณเขียน (หรือบทความอื่นๆ ที่คุณสนใจ) เฝ้าดูว่าคนอื่นเขาปรับแต่งบทความที่คุณเขียนไว้อย่างไร วิธีนี้จะช่วยให้คุณเรียนรู้ในเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็วทีเดียว

การกระทำและการแก้ไขที่มีผลกระทบในวงกว้าง

เราแนะนำให้คุณระมัดระวังเป็นพิเศษในกรณีที่การแก้ไขของคุณจะกระทบกับหน้าหลายๆ หน้า เช่น การแก้แม่แบบ หรือการย้ายหน้าที่ถูกเชื่อมโยงมาเป็นจำนวนมาก     แม้จะไม่ใช่ข้อบังคับ แต่เราแนะนำว่าคุณควรศึกษาและทำความคุ้นเคยกับนโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง (เช่น วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ) ก่อนจะเริ่มย้ายหน้า นอกจากนี้ จะเป็นมารยาทที่ดี ถ้าคุณยินดีที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหน้าที่ถูกผลกระทบจากการแก้ไขของคุณด้วย

ดูเพิ่ม