ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประสงค์ หวลประไพ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Lsd.architecture (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Lsd.architecture (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30: บรรทัด 30:
**จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีพุทธศักราช 2498 จาก[[โรงเรียนวิสุทธรังษี]] โรงเรียนประจำ[[จังหวัดกาญจนบุรี]]ก่อนที่จะสอบเข้า[[โรงเรียนเตรียมนายร้อยทหารบก]] ชั้นปีที่ 2 ปีพุทธศักราช 2501 และสำเร็จการศึกษาจาก[[โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า]] ชั้นปีที่ 5 เมื่อปีพุทธศักราช 2506
**จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีพุทธศักราช 2498 จาก[[โรงเรียนวิสุทธรังษี]] โรงเรียนประจำ[[จังหวัดกาญจนบุรี]]ก่อนที่จะสอบเข้า[[โรงเรียนเตรียมนายร้อยทหารบก]] ชั้นปีที่ 2 ปีพุทธศักราช 2501 และสำเร็จการศึกษาจาก[[โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า]] ชั้นปีที่ 5 เมื่อปีพุทธศักราช 2506
*การศึกษาภายหลังเข้ารับราชการ
*การศึกษาภายหลังเข้ารับราชการ
**โรงเรียนสารวัตรทหารแห่งกองทัพบกสหรัฐอเมริกา Fort Gordon, Georgia พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2510 (ทุน MAP)
**โรงเรียนสารวัตรทหารแห่งกองทัพบกสหรัฐอเมริกา [[Fort Gordon]][http://www.gordon.army.mil/], Georgia พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2510 (ทุน MAP)
**โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ รุ่น 50 (พ.ศ. 2513)
**โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ รุ่น 50 (พ.ศ. 2513)



รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:51, 19 มีนาคม 2555

พลเอกประสงค์ หวลประไพ
เกิด11 พฤษภาคม พ.ศ. 2482
นครปฐม
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากอดีตผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือนกองทัพภาคที่ 2[1]
12 ต.ค. พ.ศ. 2526 - 6 พ.ย. 2529
คู่สมรสผ่องศรี เศวตพันธุ์
บิดามารดาจำเนียร หวลประไพ
หลุย หวลประไพ

พลเอกประสงค์ หวลประไพ เกิดวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 เป็นบุตรของ นายจำเนียร นางหลุย หวลประไพ ที่อยู่เติบโตในชีวิตราชการในเหล่าสารวัตรทหาร(สห.)และในกองทัพภาคที่ 2 มาโดยตลอด มีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งหน่วยงานทหารเพื่อเป็นกำลังหลักในการปราบปรามการทุจจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ และปราบปรามผู้มีอิทธิพลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งกองปฏิบัติการทางกฎหมาย โดยบูรณาการความร่วมมือกับตำรวจกองปราบปรามในขณะนั้น ไปจนถึงการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์โดยใช้นโยบายการเมืองนำการทหาร ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 66/23[2]

ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชองครักษ์เวร เมื่อ 28 มกราคม 2530[3] จนกระทั่งปลดเกษียณ ซึ่งต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2540 โดยหลังเกษียณราชการ พลเอกประสงค์ หวลประไพ ยังคงช่วยปฏิบัติราชการแผ่นดินเป็นที่ปรึกษาและหัวหน้าสำนักงานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยถึงจะเป็น จปร.10 รุ่นเดียวกับ พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, พลเอกปรีชา โรจนเสน เคยเป็นที่ปรึกษาของพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ในสมัยที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ประวัติ

  • การดำรงตำแหน่งในขณะที่รับราชการ
    • 25 ม.ค.06 เป็น ผู้บังคับหมวดทหารสารวัตร กองร้อยทหารสารวัตรที่ 4
    • 31 ก.ค.10 เป็น รองผู้บังคับกองร้อย โรงเรียนทหารสารวัตร กรมสารวัตรทหารบก
    • 30 มิ.ย.13 เป็น ครูโรงเรียนทหารสารวัตร กรมสารวัตรทหารบก
    • 3 ต.ค.14 เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการ จังหวัดทหารบกอุดรธานี
    • 21 ก.ค.21 เป็น เสนาธิการจังหวัดทหารบกสุรินทร์
    • 28 ก.พ.23 เป็น รองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสุรินทร์
    • 3 มิ.ย.25 เป็น รองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกขอนแก่น
    • 12 ต.ค.26 เป็น หัวหน้ากองกิจการพลเรือน กองทัพภาคที่ 2
    • 7 พ.ย.29 เป็น รองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารสารวัตร กรมสารวัตรทหารบก
    • 1 ต.ค.35 เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
    • 1 ต.ค.40 เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำปลัดกระทรวงกลาโหมและที่ปรึกษาพิเศษประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด
  • การปฏิบัติหน้าที่และราชการพิเศษ
  • การรับราชการสนองพระเดชพระคุณ
    • มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เป็นราชองครักษ์พิเศษและราชองค์รักษ์เวรรับราชการสนองพระเดชพระคุณ ตั้งแต่ 28 เมษายน พ.ศ. 2530
    • มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เป็นราชองครักษ์เวรสืบต่อไป ตั้งแต่ 28 เมษายน พ.ศ. 2536
    • มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ตั้งแต่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2541

ชีวิตส่วนตัว

  • งานถวายผ้าพระกฐิน ระหว่างวันที่17-18 ตุลาคม 2552

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • ประกาศเกียรติคุณจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

อ้างอิง