ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาสนาพุทธในประเทศจีน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
Robot: zh:汉传佛教 is a good article
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{รอการตรวจสอบ}}
{{พุทธศาสนา}}
{{พุทธศาสนา}}
[[พระพุทธศาสนา]]ได้เข้ามาใน[[ประเทศจีน]]ดังได้ปรากฏในหลักฐาน เมื่อประมาณพุทธศักราช 608 ในสมัยของพระ[[จักรพรรดิเม่งเต้]]แห่ง[[ราชวงศ์ฮั่น]] พระได้จัดส่งคณะทูต 18 คน ไปสืบ[[พระพุทธศาสนา]]ใน[[อินเดีย]] คณะทูตชุดนี้ได้เดินทางกลับ[[ประเทศจีน]]พร้อมด้วยพระภิกษุ 2 รูป คือ [[พระกาศยปมาตังคะ]] และ[[พระธรรมรักษ์]] รวมทั้งคัมภีร์ของ[[พระพุทธศาสนา]]อีกส่วนหนึ่งด้วย เมื่อพระเถระ 2 รูป พร้อมด้วยคณะทูตมาถึง[[นครโลยาง]] [[พระเจ้าฮั่นเม่งเต้]] ได้ทรงสั่งให้สร้างวัดเพื่อเป็นที่อยู่ของพระทั้ง 2 รูป นั้นซึ่งมีชื่อว่า [[วัดแป๊ะเบ๊ยี่]] แปลเป็นไทยว่า วัดม้าขาว เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าตัวที่บรรทุกพระคัมภีร์ทาง[[พระพุทธศาสนา]]กับพระเถระทั้งสอง หลังจากนั้น[[พระปาศยมาตังตะ]] กับ[[พระธรรมรักษ์]]ได้แปลคัมภีร์[[พระพุทธศาสนา]]เป็น[[ภาษาจีน]]เล่มแรก
[[พระพุทธศาสนา]]ได้เข้ามาใน[[ประเทศจีน]]ดังได้ปรากฏในหลักฐาน เมื่อประมาณพุทธศักราช 608 ในสมัยของพระ[[จักรพรรดิฮั่นหมิง|จักรพรรดิเม่งเต้]]แห่ง[[ราชวงศ์ฮั่น]] พระได้จัดส่งคณะทูต 18 คน ไปสืบ[[พระพุทธศาสนา]]ใน[[อินเดีย]] คณะทูตชุดนี้ได้เดินทางกลับ[[ประเทศจีน]]พร้อมด้วยพระภิกษุ 2 รูป คือ [[พระกาศยปมาตังคะ]] และ[[พระธรรมรักษ์]] รวมทั้งคัมภีร์ของ[[พระพุทธศาสนา]]อีกส่วนหนึ่งด้วย เมื่อพระเถระ 2 รูป พร้อมด้วยคณะทูตมาถึง[[ลั่วหยาง|นครโลยาง]] [[จักรพรรดิฮั่นหมิง|พระเจ้าฮั่นเม่งเต้]] ได้ทรงสั่งให้สร้างวัดเพื่อเป็นที่อยู่ของพระทั้ง 2 รูป นั้นซึ่งมีชื่อว่า [[วัดม้าขาว|วัดแป๊ะเบ๊ยี่]] แปลเป็นไทยว่า วัดม้าขาว เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าตัวที่บรรทุกพระคัมภีร์ทาง[[พระพุทธศาสนา]]กับพระเถระทั้งสอง หลังจากนั้น[[พระปาศยมาตังตะ]] กับ[[พระธรรมรักษ์]]ได้แปลคัมภีร์[[พระพุทธศาสนา]]เป็น[[ภาษาจีน]]เล่มแรก





รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:13, 8 มีนาคม 2555

พระพุทธศาสนาได้เข้ามาในประเทศจีนดังได้ปรากฏในหลักฐาน เมื่อประมาณพุทธศักราช 608 ในสมัยของพระจักรพรรดิเม่งเต้แห่งราชวงศ์ฮั่น พระได้จัดส่งคณะทูต 18 คน ไปสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย คณะทูตชุดนี้ได้เดินทางกลับประเทศจีนพร้อมด้วยพระภิกษุ 2 รูป คือ พระกาศยปมาตังคะ และพระธรรมรักษ์ รวมทั้งคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย เมื่อพระเถระ 2 รูป พร้อมด้วยคณะทูตมาถึงนครโลยาง พระเจ้าฮั่นเม่งเต้ ได้ทรงสั่งให้สร้างวัดเพื่อเป็นที่อยู่ของพระทั้ง 2 รูป นั้นซึ่งมีชื่อว่า วัดแป๊ะเบ๊ยี่ แปลเป็นไทยว่า วัดม้าขาว เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าตัวที่บรรทุกพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากับพระเถระทั้งสอง หลังจากนั้นพระปาศยมาตังตะ กับพระธรรมรักษ์ได้แปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาจีนเล่มแรก


ประวัติพุทธศาสนาในประเทศจีน

ยุคราชวงศ์ฮั่น

ในสมัยราชวงศ์ฮั่น แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเป็นที่เลื่อมใสแต่ก็ยังจำกัดอยู่ในวงแคบคือ ในหมู่ข้าราชการและชนชั้นสูงแห่งราชสำนักเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่แพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวเมือง เพราะชาวจีนส่วนใหญ่ยังคงนับถือลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า จนกระทั่งโม่งจื๊อ นักปราชญ์ผู้มีความสามารถยิ่งได้แสดงหลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้ชาวเมืองได้เห็นถึงความจริงแท้อันลึกซึ้งของพระพุทธศาสนาเหนือกว่าลัทธิเดิม กับอาศัยความประพฤติอันบริสุทธิ์ของพระสงฆ์เป็นเครื่องจูงใจให้ชาวจีนเกิดศรัทธาเลื่อมใส จนทำให้ชาวเมืองหันมานับถือพระพุทธศาสนามากกว่าลัทธิศาสนาอื่นๆ พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ

ยุคราชวงศ์ถัง

ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161 - 1450) พระพุทธศาสนาก็เจริญสูงสุด เพราะได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าจักรพรรดิตลอดจนนักปราชญ์ราชบัณฑิตต่างๆโดยมีการสร้างวัดขึ้นหลายแห่ง และมีการแปลพระสูตรจากภาษาบาลีเป็นภาษาจีนมากมายพระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมลงเมื่อพระเจ้าบู๊จงขึ้นปกครองประเทศ เพราะพระเจ้าบู๊จงทรงเลื่อมใสในลัทธิเต๋า พระองค์ได้ทำลายพระพุทธศาสนา เช่น ให้ภิกษุ ภิกษุณี ลาสิกขาบท ยึดวัด ทำลายพระพุทธรูป เผาคัมภีร์ เป็นต้น พระพุทธศาสนาไม่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชสำนัก ก็เริ่มเสื่อมลงตั้งแต่บัดนั้น

ยุคสาธารณรัฐจีน

ใน พ.ศ. 2455 ประเทศจีนได้เปลี่ยน ชื่อ ประเทศเป็นสาธารณรัฐจีน รัฐบาลไม่ได้สนับสนุนในพระพุทธศาสนา แต่สนับสนุนแนวความคิดของลัทธิมาร์กซิสต์ ซึ่งลัทธิดังกล่าว ได้โจมตีพระพุทธศาสนาตลอดมา และมีการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนามากขึ้นโดยเอาวัดไปใช้เป็นสถานที่ราชการอื่นๆ สถานการณ์ของพระพุทธศาสนาจึงยังไม่ดีขึ้น

ใน พ.ศ. 2465 พระสงฆ์ชาวจีนรูปหนึ่ง ชื่อว่า พระอาจารย์ไท้สู ได้ช่วยกู้ฐานะของพระพุทธศาสนาไว้บางส่วนคือ ท่านได้ทำการปฏิรูปพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง แม้จะมีกำลังน้อย เริ่มด้วยการตั้งวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นที่ วูซัน เอ้หมิง เสฉวน และ หลิ่งนาน เพื่อฝึกผู้นำทางพระพุทธศาสนาให้มีความรู้ทางพระธรรมวินัยและวิชาการทางโลกสมัยใหม่ และนำมาเผยแผ่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม จนผู้คนเลื่อมใสมากขึ้น จึงตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีนขึ้น

ใน พ.ศ. 2472 ความพยายามของพระอาจารย์ไท้สู ทำให้ประชาชนและรัฐบาลเข้าใจในพระพุทธศาสนาดีขึ้น ทางราชการได้ออกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์สินของวัดห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น

ใน พ.ศ. 2473 สาธารณรัฐจีนมีพระภิกษุและภิกษุณีรวม 738,000 รูป มีวัดทั้งสิ้น 267,000 วัด ซึ่งนับว่าพระพุทธศาสนาเจริญในประเทศจีนพอสมควร

ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน

ใน พ.ศ. 2492 สาธารณรัฐจีนได้เปลี่ยนชื่อประเทศอีกครั้งหนึ่ง เป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ลัทธิคอมมิวนิสต์นี้มีคำสอนที่ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก พระพุทธศาสนาจึงไม่อาจอยู่ได้ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ในระยะแรกพรรคคอมมิวนิสต์เป็นว่าพระพุทธศาสนายังมีอิทธิพลอยู่ในจิตใจของประชาชนจึงไม่ใช้ความรุนแรง

ใน พ.ศ. 2494 รัฐบาลได้ออกกฎหมาย เพิกถอนสิทธิวัดในการยึดครองที่ดิน ซึ่งเป็นการบีบให้พระสงฆ์ต้องลาสิกขาบทโดยทางอ้อม พระภิกษุที่ยังไม่ลาสิกขาก็ต้องไปประกอบอาชีพเอง เช่น ทำไร่ ทำนา เป็นต้น ทั้งที่ยังครองเพศเป็นภิกษุอยู่ และในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ของสาธารณรัฐประชาชนจีน

ใน พ.ศ. 2509 - 2512 ได้มีเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากคือ รัฐบาลได้ยึดวัดเป็นของราชการ ห้ามประกอบศาสนกิจต่างๆ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นความผิดกฎหมาย พระภิกษุถูกบังคับให้ลาสิกขา พระคัมภีร์ต่างๆ ถูกเผา พระพุทธรูปและวัดถูกทำลายไปเป็นอันมาก จากเหตุการณ์นี้ทำให้พระพุทธศาสนา เกือบสูญสิ้นไปจากประเทศจีนเลยทีเดียว เมื่อประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมา เจ๋อ ตุง ได้ถึงแก่อสัญกรรม

ใน พ.ศ. 2519 รัฐบาลชุดใหม่ของจีนก็คลายความเข้มงวดลงบ้างและให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาของประชาชนมากขึ้น

พุทธศาสนาในปัจจุบัน

ในปัจจุบันได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานขึ้นใหม่ ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังให้การสนับสนุนจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีน และสภาการศึกษาพระพุทธศาสนาแห่งประเทศจีนขึ้นในกรุงปักกิ่งอีกด้วย เพื่อเป็นศูนย์กลางการติดต่อเผยแผ่พระพุทธศาสนากับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ปัจจุบันนี้ชาวจีนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาคู่ไปกับลัทธิขงจื้อ และลัทธิเต๋า ซึ่งปัจจุบันมีผู้นับถือถึง 30%

พุทธศาสนาเถรวาทในจีน

ในประเทศจีน มีผู้นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาทเฉพาะในมณฑลยูนนาน ซึ่งโดยทั่วไปเป็นชนกลุ่มน้อยชาวไทลื้อและชาวไทใหญ่

พุทธศาสนาในสิบสองปันนา

พุทธศาสนาในสิบสองปันนาเป็นพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ โดยได้รับอิทธิพลจากอาณาจักรล้านนาหรือเชียงใหม่ในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 นิกายเช่นเดียวกับพุทธศาสนาในเชียงใหม่คือ [1]

  • สำนักวัดสวนดอกหรือฝ่ายสวน ตั้งที่เชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1914 แต่เข้าสู่สิบสองปันนาเมื่อใดไม่มีหลักฐาน
  • สำนักวัดป่าแดงหรือฝ่ายป่า ตั้งขึ้นที่เชียงใหม่เมื่อราว พ.ศ. 1973 โดยคณะสงฆ์ที่ไปบวชเรียนมาใหม่จากลังกา ถือวินัยเคร่งครัดกว่าฝ่ายสวน เผยแพร่เข้าสู่สิบสองปันนาเมื่อ พ.ศ. 1989 โดยผ่านทางเชียงตุง

พุทธศาสนาในเขตปกครองตนเองไทใต้คง

พุทธศาสนาแพร่เข้าสู่เขตปกครองตนเองไทใต้คงเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 แบ่งออกเป็น 4 นิกายคือ

  • นิกายปายจอง เป็นนิกายที่แพร่เข้ามาก่อนนิกายอื่น ไม่เคร่งวินัย ภิกษุเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ ได้
  • นิกายกึงโยน เป็นนิกายที่แพร่เข้าสู่เมืองขอนเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 20 ได้รับอิทธิพลจากเชียงใหม่ มีการแบ่งย่อยเป็นโยนสวนกับโยนป่าเหมือนในเมืองเชียงใหม่ เขียนคัมภีร์ด้วยอักษรล้านนา
  • นิกายโตเล เป็นนิกายที่ได้รับอิทธิพลจากพม่าเข้าสู่เมืองมาวเมื่อ พ.ศ. 2294 ถือวินัยเคร่งครัดกว่านิกายอื่น มีการบวชสามเณรีและภิกษุณี
  • นิกายชุติหรือโจติเป็นนิกายที่เกิดขึ้นในใต้คงโดยภิกษุชาวไทใหญ่เห็นว่าพระสงฆ์เดิมถือวินัยหย่อนยาน แพร่เข้าสู่เมืองแจ้ฝางและเมืองมาวเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 20 เคยแพร่หลายที่เมืองขอนระยะหนึ่งเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 25 แต่ภายหลังพ่ายแพ้นิกายปายจอง คณะสงฆ์นิกายนี้ในเมืองขอนจึงถอนตัวจากเมืองขอนเข้าสู่พม่าไปตั้งศูนย์กลางที่เมืองมีดและเมืองยางในรัฐฉานตามลำดับ ภิกษุในนิกายนี้มีวัตรปฏิบัติต่างจาก 3 นิกายข้างต้น ทั้งภิกษุและฆราวาสต่างเคร่งครัดวินัย

เมื่อ พ.ศ. 2532 สำรวจพบว่าชาวพุทธในไต้คง เป็นชาวไทใหญ่ 90% ชาวปะหล่องและชาวอาชาง 10% ในจำนวนนี้นับถือนิกายปายจอง 52% นิกายโตเล 33% นิกายกึงโยน 12% และนิกายชุติ 3%[2]

อ้างอิง

  1. เจีย แยนจอง. พุทธศาสนากับวิถีชีวิตชาวพุทธไทลื้อในสิบสองพันนา ใน คนไทไม่ใช่ไทย แต่เป็นเครือญาติชาติภาษา. กทม. มติชน. 2549. หน้า 233
  2. เจีย แยนจอง. แคว้นใต้คง:ถิ่นไทยเหนือในยูนนาน. ใน คนไทไม่ไทย แต่เป็นเครือญาติชาติภาษา. กทม. มติชน .2549. หน้า 179-183
  • หนังสือศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ สำนักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ จำกัด

ดูเพิ่ม

แม่แบบ:Link GA