ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มภาษากะเหรี่ยง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
VolkovBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: hif:Karen
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
* [[ภาษากะเหรี่ยงปะโอ]]
* [[ภาษากะเหรี่ยงปะโอ]]
* [[ภาษากะยัน]] มีเสียงพยัญชนะต้น 22 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 7 เสียง เสียงควบกล้ำมี 3 เสียง คือ l r w สระมี 13 เสียง และวรรณยุกต์ 4 เสียง <ref>สมทรง บุรุษพัฒน์และสรินยา คำเมือง. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์: กะเหรี่ยงกะยัน. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2542</ref>
* [[ภาษากะยัน]] มีเสียงพยัญชนะต้น 22 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 7 เสียง เสียงควบกล้ำมี 3 เสียง คือ l r w สระมี 13 เสียง และวรรณยุกต์ 4 เสียง <ref>สมทรง บุรุษพัฒน์และสรินยา คำเมือง. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์: กะเหรี่ยงกะยัน. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2542</ref>
* ภาษากะเหรี่ยงปากู (Paku Karen; ISO 639-3: kpp) มีผู้พูดในพม่า 5,300 คน (พ.ศ. 2526) ในบริเวณเนินเขาทางตะวันนอกเฉียงใต้ของ[[รัฐกะเหรี่ยง]] เขียนด้วย[[อักษรพม่า]] เรียประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม

* ภาษากะเหรี่ยงมานูมาเนา (Manumanaw Karen; ISO 639-3: kxf) มีผู้พูดทั้งหมด 10,000 คน (พ.ศ. 2543) ในบริเวณกเยโบคยีตะวันตกใน[[รัฐกะยา]]
* ภาษากะเหรี่ยงยินตาเล (Yintale Karen; ISO 639-3: kvy) หรือภาษาตาเลียก ภาษายางาตาเลต มีผู้พูดทั้งหมด 10,000 คน (พ.ศ. 2543) ในรัฐกะยา ประเทศพม่า
* ภาษากะเหรี่ยงยินเบา (Yinbaw Karen; ISO 639-3: kvu) มีผู้พูดทั้งหมด 7,300 คน (พ.ศ. 2546) ในบริเวณที่ราบสูงทางตะวันออกของ[[รัฐฉาน]] ประเทศพม่า
== การเขียน ==
== การเขียน ==
อักษรที่ใช้เขียนภาษากะเหรี่ยงมี 3 แบบด้วยกันดังนี้<ref>โยเซฟ เซกีมอต. พจนานุกรมปกาเกอะญอ-ไทย-ฝรั่งเศส-อังกฤษ. กทม. หน้าต่างสู่โลกกว้าง. 2549</ref>
อักษรที่ใช้เขียนภาษากะเหรี่ยงมี 3 แบบด้วยกันดังนี้<ref>โยเซฟ เซกีมอต. พจนานุกรมปกาเกอะญอ-ไทย-ฝรั่งเศส-อังกฤษ. กทม. หน้าต่างสู่โลกกว้าง. 2549</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:41, 4 มีนาคม 2555

ภาษากะเหรี่ยง
ประเทศที่มีการพูดรัฐกะเหรี่ยงและรัฐกะยา ประเทศพม่า, ภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรพม่าและอักษรละตินในพม่า อักษรละตินและอักษรไทยในไทย
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า
รหัสภาษา
ISO 639-2sit (B)
[[ISO639-3:|]] (T)
ISO 639-3kar

ภาษากะเหรี่ยงเป็นภาษาในตระกูลจีน-ทิเบต สาขาทิเบต-พม่า มีผู้พูดภาษากะเหรี่ยงอยู่ในไทยและพม่า แบ่งเป็นภาษาย่อยได้ 8 ภาษา คือ [1]

นอกจากนี้ยังมีภาษากะเหรี่ยงสำเนียงอื่นๆอีกเช่น

  • ภาษากะเหรี่ยงปะโอ
  • ภาษากะยัน มีเสียงพยัญชนะต้น 22 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 7 เสียง เสียงควบกล้ำมี 3 เสียง คือ l r w สระมี 13 เสียง และวรรณยุกต์ 4 เสียง [2]
  • ภาษากะเหรี่ยงปากู (Paku Karen; ISO 639-3: kpp) มีผู้พูดในพม่า 5,300 คน (พ.ศ. 2526) ในบริเวณเนินเขาทางตะวันนอกเฉียงใต้ของรัฐกะเหรี่ยง เขียนด้วยอักษรพม่า เรียประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม
  • ภาษากะเหรี่ยงมานูมาเนา (Manumanaw Karen; ISO 639-3: kxf) มีผู้พูดทั้งหมด 10,000 คน (พ.ศ. 2543) ในบริเวณกเยโบคยีตะวันตกในรัฐกะยา
  • ภาษากะเหรี่ยงยินตาเล (Yintale Karen; ISO 639-3: kvy) หรือภาษาตาเลียก ภาษายางาตาเลต มีผู้พูดทั้งหมด 10,000 คน (พ.ศ. 2543) ในรัฐกะยา ประเทศพม่า
  • ภาษากะเหรี่ยงยินเบา (Yinbaw Karen; ISO 639-3: kvu) มีผู้พูดทั้งหมด 7,300 คน (พ.ศ. 2546) ในบริเวณที่ราบสูงทางตะวันออกของรัฐฉาน ประเทศพม่า

การเขียน

อักษรที่ใช้เขียนภาษากะเหรี่ยงมี 3 แบบด้วยกันดังนี้[3]

  • อักษรไก่เขี่ย (Chicken-scratch; ภาษากะเหรี่ยง: lix hsau waiv หลิ ชอ แหว)เป็นอักษรพื้นเมืองที่ประดิษฐ์โดยชาวกะเหรี่ยงเอง ไม่ได้คัดลอกจากอักษรของชนชาติใด ใช้บันทึกประวัติศาสตร์และบทเพลงภาษากะเหรี่ยง ไม่เคยมีการใช้ในประเทศไทย
  • อักษรที่มาจากอักษรพม่าหรืออักษรมอญ (ภาษากะเหรี่ยง: lix wa หลิ วา)หรืออักษรขาว เป็นอักษรที่ใช้มากในพม่าและไทยทั้งกะเหรี่ยงพุทธและกะเหรี่ยงคริสต์ แต่เริ่มเป็นที่เข้าใจยากในหมู่เยาวชน ตัวอย่างเช่น อักษรกะยา
  • อักษรโรมัน (Romei โรเม)ประดิษฐ์โดยบาทหลวงเอ็ดเวิร์ด กาลมอง มิชชันนารีนิกายโปรแตสแตนท์ ที่เข้าไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในพม่าเมื่อราว พ.ศ. 2473 และแพร่หลายเข้าสู่ประเทศไทย บาทหลวงเซกีนอตมิชชันนารีนิกายโรมันคาทอลิกจากฝรั่งเศส นำมาเผยแพร่ต่อในประเทศไทย และเขียนแบบเรียนภาษากะเหรี่ยงด้วยอักษรนี้ ใน พ.ศ. 2497 มีการเรียนการสอนภาษากะเหรี่ยงด้วยอักษรโรมันครั้งแรกในโรงเรียนบ้านแม่ปอน อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และมีการเผยแพร่ไปในหมู่กะเหรี่ยงคริสต์ในเขตภาคเหนือตอนบน
  • อักษรไทย มีการนำอักษรไทยไปใช้เขียนภาษากะเหรี่ยงโปสำหรับชาวกะเหรี่ยงโปในประเทศไทย

อ้างอิง

  1. เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. ภาษาถิ่นตระกูลไทย. กทม. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัยมหิดล. 2531.
  2. สมทรง บุรุษพัฒน์และสรินยา คำเมือง. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์: กะเหรี่ยงกะยัน. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2542
  3. โยเซฟ เซกีมอต. พจนานุกรมปกาเกอะญอ-ไทย-ฝรั่งเศส-อังกฤษ. กทม. หน้าต่างสู่โลกกว้าง. 2549