ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โจรสลัด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
*[[Blackbeard|เคราดำ]]
*[[Blackbeard|เคราดำ]]
*[[เฮย์เรดดิน บาร์บารอสซา|เคราแดง]] หรือ [[เฮย์เรดดิน บาร์บารอสซา ]]
*[[เฮย์เรดดิน บาร์บารอสซา|เคราแดง]] หรือ [[เฮย์เรดดิน บาร์บารอสซา ]]
*[[จาง เป๋าจ่าย]]


===ธงโจรสลัดแบบต่าง ๆ ===
===ธงโจรสลัดแบบต่าง ๆ ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:27, 4 มีนาคม 2555

ภาพวาดโจรสลัดกำลังขุดสมบัติ

โจรสลัด (อังกฤษ: Pirate, Buccaneer, Frigate) คือบุคคลที่ปล้นหรือโจรกรรมในทะเล หรือบางครั้งตามชายฝั่งหรือท่าเรือต่างๆ โจรสลัดในปัจจุบันจะแตกต่างกับโจรสลัดในอดีตที่มีลักษณะเฉพาะคือจะมีผ้าคาดหัว ใช้ดาบใบกว้างหรือปืนพกและเรือโจรสลัดขนาดใหญ่ ในปัจจุบันโจรสลัดนิยมใช้เรือเร็ว และใช้ปืนกลแทนที่ดาบ

เป้าหมายส่วนใหญ่ที่โจรสลัดเลือกคือเรือสินค้าและเรือโดยสาร สำหรับรูปแบบที่ใช้ในการบุกเข้าปล้นมีทั้งชูธงหลอกล่อเป้าหมายว่าเป็นเรือสินค้าบ้าง เรือของกองทัพหรือของศาสนจักรบ้าง หรือแม้กระทั่งใช้กำลังบุกเข้าโจมตีโดยตรงเลยก็มี

โจรสลัดในปัจจุบัน

ในปัจจุบันชายฝั่งและทะเลในอเมริกาใต้และทะเลเมดิเตอเรเนียน ยังคงมีโจรสลัดที่ปล้นผู้อื่น โดยชายฝั่งของสหรัฐอเมริกา และชายฝั่งของทะเลแคริบเบียน เริ่มลดน้อยลงเนื่องจากมีการป้องการจากกองกำลังรัฐบาล ค่าเสียหายที่เกิดจากโจรสลัดปล้นในปัจจุบัน คาดว่าประมาณ 5-6.5 แสนล้านบาทต่อปีทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย จุดที่อยู่ระหว่างช่องแคบมะละกา และประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีเรือพาณิชย์ผ่านประมาณ 50,000 ลำต่อปี

ในประเทศไทย ฝั่งบริเวณทะเลอันดามัน ยังคงมีโจรสลัดอยู่ ซึ่งใช้เรือเร็วปล้นเรือสินค้าของผู้คนที่แล่นเรือผ่าน โดยในบางครั้งจะเก็บค่าคุ้มครอง หรือจ่ายเงินค่าผ่านทางแทน

โจรสลัดยุคใหม่มักใช้เรือเล็กแต่มีอุปกรณ์ที่ทันสมัย ทั้งโทรศัพท์ดาวเทียม, จีพีเอส, ระบบโซนาร์ ในช่วงเดือนมกราคม-เดือนกันยายน ปี ค.ศ. 2009 มีสถิติเรือสินค้าที่แล่นในแถบอ่าวเอเดน และนอกชายฝั่งของโซมาเลีย ได้ถูกโจรสลัดโจมตีถึง 306 ลำ ซึ่งในบางครั้ง โจรสลัดจะไม่สนใจสินค้าที่บรรทุกมา แต่จะมุ่งฉกฉวยทรัพย์สมบัติของผู้โดยสาร ตลอดจนตู้เซฟของเรือที่เก็บเงินก้อนใหญ่ไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่าย บางครั้งจะไล่ลูกเรือไป แล้วนำเรือเข้าฝั่งไปแปลงโฉมเป็นเรือลำใหม่เพื่อขายหรือใช้ต่อไป หรือกระทำการอุจอาจกว่านั้น คือ คุมตัวเจ้าหน้าที่ระดับบริหารของเรือไว้แล้วเรียกค่าไถ่ เพื่อหวังจะได้ค่าตอบแทนระดับสูง

จากการประเมินในปี ค.ศ. 2011 ระบุว่า อนาคตจะมีเรือโจรสลัดโซมาเลีย เพิ่มขึ้นปีละ 400 ลำ โดยมีสิ่งจูงใจก็คือ มูลค่าจากการปล้นที่สูงถึง 8,000 ดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะปี ค.ศ. 2010 ปีเดียว ซึ่งเฉลี่ยแล้วรายได้โจรสลัดโซมาเลียแต่ละคนอยู่ราวปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,400,000 บาท) สูงกว่ารายได้เฉลี่ยของชาวโซมาเลียทั่วไปถึง 150 เท่า

ซึ่งในปี ค.ศ. 2010 และ ค.ศ. 2011 มีการร่วมมือกันของหลายชาติในสหประชาชาติ รวมถึงไทยด้วย ในการส่งกองทัพเรือปฏิบัติการร่วมกัน ในชื่อ ปฏิบัติการปราบปรามโจรสลัดโซมาเลีย ซึ่งกองทัพเรือไทยก็มีส่วนร่วมในปฏิบัติการครั้งนี้ด้วย[1] [2]

โจรสลัดในอดีต

ประวัติศาสตร์ของโจรสลัด สามารถย้อนหลังได้ถึง 1,400 ปีก่อนคริสตศักราช เมื่อในบริเวณทะเลเอเจียน และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีชนพื้นเมือง 2 ชนชาติ คือ อิลลีเรียน และ ไทร์เรเนียน ที่ปล้นเรือสินค้าของชาวฟีนีเชียน เป็นประจำ และจับเอาเด็กทั้งชายและหญิงไปขายเป็นทาสอีกด้วย

ราว 300 ปีก่อนคริสตศักราช โจรสลัดอิลลีเรียนซึ่งอาศัยอยู่ทางตะวันตกของคาบสมุทรบอลข่าน ได้ขยายอิทธิพลไปในทะเลเอเดรียติก ซึ่งทพำให้อาณาจักรโรมันทนไม่ไหว ในปี 168 ก่อนคริสต์ศักราช กองทัพโรมันจึงยกกำลังไปปราบดินแดนอิลลีเรียจนราบคาบ และยึดเป็นเมืองขึ้นทำให้ขบวนการโจรสลัดสงบลงชั่วขณะ

กระทั่ง 100 ปี ก่อนคริสตศักราช ได้มีแหล่งโจรสลัดชุมนุมอยู่แถบชายฝั่งอนาโตเลีย คอยดักปล้นเรือสินค้าโรมันทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และในปีที่ 75 ก่อนคริสต์ศักราช ก็ได้กระทำการอุกอาจ โดย โจรสลัดชาวซิลิเชีย เมื่อจับเอาจูเลียส ซีซาร์ นักการเมืองและกงศุลผู้มีอำนาจใหญ่แห่งโรมัน ขณะที่กำลังแล่นเรือข้ามทะเลเอเจียนเพื่อเอาตัวไปเรียกค่าไถ่ โดยประสงค์เรียกจากโรมันเป็นจำนวนทองคำ 20 ทาเลนท์ แต่ซีซาร์มิได้หวั่นไหวแม้ตกเป็นเชลย พร้อมกับได้ทักท้วงว่าค่าตัวของตนเองนั้นอย่างน้อยก็ต้อง 50 ทาเลนท์ขึ้นไป เหล่าโจรสลัดจึงเปลี่ยนเป็นเรียกค่าไถ่ 50 ทาเลนท์ พอได้รับค่าไถ่แล้วก็ปล่อยซีซาร์เป็นอิสระ ซีซาร์เมื่อกลับไปยังโรมแล้วจัดกองทัพเรือออกไล่ล่าโจรสลัด และลงโทษด้วยวิธีการตรึงกางเขน

ในยุคต่อมา ก็ยังคงมีโจรสลัดปฏิบัติการปล้นอยู่เป็นครั้งเป็นคราว แต่มาโด่งดังในช่วงศตวรรษที่ 8 และ 12 เมื่อชนเผ่าไวกิ้ง จากสแกนดิเนเวีย แล่นเรือเข้ามาปล้นรุกรานทั่วแถบชายฝั่งตะวันตกของยุโรป แล้วก็ยังระรานตลอดลงไปถึงแอฟริกาเหนือ ย่านทะเลบอลติก และลามตามแม่น้ำไปถึงยุโรปตะวันออกจรดทะเลดำ กับอ่าวเปอร์เซีย ด้วยว่าอำนาจทางการเมืองของยุโรปขณะนั้นยังไม่รวมตัวเป็นพลังที่พอจะต้านทานได้

ส่วนยุคทองของโจรสลัดในทะเลแคริบเบียนอยู่ในช่วงประมาณ คริสต์ทศวรรษ 1560-คริสต์ทวรรษ 1720 โดยยุคที่โจรสลัดชุกชุมที่สุดได้แก่ช่วง คริสต์ทศวรรษ 1640-คริสต์ทศวรรษ 1680

ซึ่งสัญลักษณ์ของโจรสลัดที่เป็นที่รับรู้กันดี คือ ธงสีดำผืนใหญ่ที่มีรูปกะโหลกและกระดูกไขว้สีขาว[3]

โจรสลัดที่มีชื่อเสียง

ธงโจรสลัดแบบต่าง ๆ

โจรสลัดในสื่อต่างๆ

ลักษณะของโจรสลัดในการ์ตูน

ลักษณะของโจรสลัดได้ถูกมาสร้างเป็นตัวละครในวรรณกรรม ภาพยนตร์ การ์ตูน ต่างๆ โดยมีลักษณะต่างๆ ดังนี้

  • ใส่เสื้อผ้าสีสด
  • มีผ้าปิดตาข้างนึง
  • ขาเป็นขาปลอม
  • มือเป็นตะขอ
  • ตุ้มหูทอง
  • มีผ้าคาดผม
  • มีนกแก้วเป็นสัตว์เลี้ยง
  • ใช้ดาบใบกว้าง

ลักษณะเฉพาะตัวเหล่านี้แสดงถึงลักษณะของโจรสลัดในยุคทอง โดยโจรสลัดมักจะสูญเสียอวัยวะ (เช่น ขา,แขน, มือ,ตา) ในการต่อสู้ และมักจะไม่เลี้ยงสัตว์ไว้ในเรือเนื่องจากเรื่องอาหาร แต่จะหาสัตว์ที่มาจากต่างถิ่นเป็นสัญลักษณ์ของตัวเอง

สื่อต่างๆ เกี่ยวกับโจรสลัด

อ้างอิง

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA