ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟรันซิสโก เด ซูร์บารัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: be:Франсіска дэ Сурбаран
2T (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 49: บรรทัด 49:
[[หมวดหมู่:จิตรกรในคริสต์ศตวรรษที่ 16|ซูร์บาราน]]
[[หมวดหมู่:จิตรกรในคริสต์ศตวรรษที่ 16|ซูร์บาราน]]
[[หมวดหมู่:จิตรกรยุคบาโรก|ซูร์บาราน]]
[[หมวดหมู่:จิตรกรยุคบาโรก|ซูร์บาราน]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นเอกซ์เตรมาดูรา]]
{{birth|1598}}
{{birth|1598}}
{{death|1664}}
{{death|1664}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:42, 25 กุมภาพันธ์ 2555

ภาพนักบุญลูคอีแวนเจลลิสที่อาจจะเป็นภาพเหมือนของซูร์บารานเอง ราว ค.ศ. 1635-1640[1]

ฟรันซิสโก เด ซูร์บาราน หรือ ฟรันซิสโก ซูร์บาราน (สเปน: Francisco de Zurbarán หรือ Francisco Zurbarán) (7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1598 - 27 สิงหาคม ค.ศ. 1664) เป็นจิตรกรสมัยจิตรกรรมยุคบาโรกคนสำค้ญของประเทศสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพทางศาสนาเช่น พระ ชี ผู้พลีชีพ และภาพนิ่ง ซูร์บารานเป็นที่รู้จักกันในนาม “คาราวัจโจของสเปน” เพราะวิธีการวาดภาพอย่างเหมือนจริงและการใช้แสงเงาที่ตัดกันอย่างชัดเจนเช่นเดียวกับงานของคาราวัจโจ

ชีวิตเบื้องต้น

พระเยซูและพระแม่มารีในบ้านที่นาซาเร็ธ”
นักบุญลอเรนซ์
เฮอร์คิวลีส

ฟรันซิสโก ซูร์บารานเกิดที่ฟูเอนเตเดกันโตส (Fuente de Cantos) ที่แคว้นเอกซ์เตรมาดูรา เป็นลูกของลุยส์ ซูร์บาราน คนขายเครื่องเย็บปักถักร้อยและอิซาเบล มาร์เกซ (Isabel Márquez) เมื่อยังเป็นเด็ก ซูร์บารานชอบวาดรูปสิ่งของต่างด้วยถ่าน เมื่อปี ค.ศ. 1614 ซูร์บารานก็ถูกพ่อส่งไปเซวิลล์เป็นเวลาราวสามปีเพื่อไปฝึกงานกับเปโดร ดีอัซ เด บียานวยบา (Pedro Díaz de Villanueva) ผู้เป็นศิลปินที่ไม่มีหลักฐานอะไรที่กล่าวถึง[2]

ลักษณะงาน

ไม่เป็นที่ทราบว่าซูร์บารานมีโอกาสได้เลียนงานของคาราวัจโจหรือไม่ แต่ซูร์บารานใช้ลักษณะการวาดภาพเหมือนและใช้แสงเงาที่ตัดกัน (chiaroscuro) จิตรกรผู้มีอิทธิพลต่อการของการวางองค์ประกอบของภาพของซูร์บารานคือควน ซานเชซ โกตาน (Juan Sánchez Cotán)[3] งานรูปปั้นโพลีโครมของซูร์บารานก็มีลักษณะดีกว่าจิตรกรท้องถิ่นตั้งแต่ยังฝึกงาน ศิลปินอีกผู้หนึ่งที่มีอิทธพลต่อซูร์บารานก็คือควน มาร์ตีเนซ มอนตาเญส (Juan Martínez Montañés)[4]

ซูร์บารานเขียนภาพจากธรรมชาติโดยตรงและมักจะชอบวาดแบบที่ใช้ผ้าทบทาบตัวโดยเฉพาะผ้าขาว ฉะนั้นซูร์บารานจึงชอบเขียนภาพระห่มขาวของลัทธิคาร์ธูเชียน งานของซูร์บารานเป็นงานที่ทำเฉพาะในประเทศสเปนและไม่มีอะไรที่ต่างไปจากชีวิตประจำวันมากนัก สิ่งที่วาดจะเป็นแบบเอาจริงเอาจัง เรียบ ขึงขัง และจะจำกัดตัวแบบลงเหลือเพียงตัวเดียว ลักษณะจะเรียบกว่าคาราวัจโจ และสีจะออกไปทางน้ำเงิน ผลของรูปเกิดจากการเขียนด้านหน้าอย่างชัดเจนสาดด้วยแสงและเงา

ชีวิตบั้นปลาย

เมื่ออยู่ที่เซวิลล์ซูร์บารานแต่งงานกับเลโอนอร์ เด คอร์เดรา (Leonor de Jordera) มึลูกด้วยกันหลายคน เมื่อปี ค.ศ. 1630 ซูร์บารานได้รับแต่งตั้งให้เป็นจิตรกรประจำราชสำนักของพระเจ้าฟิลลิปที่ 4 แห่งสเปน มีเรื่องเล่ากันว่าครั้งหนึ่งพระเจ้าฟิลลิปทรงวางพระหัตถ์บนไหล่ของซูร์บารานและทรงเปรยว่า “จิตรกรของกษัตริย์ กษัตริย์ของจิตรกร” หลังจากปี ค.ศ. 1640 แบบที่ขึงขังของซูร์บารานก็เริ่มมีความนิยมน้อยลงเมื่อเทียบกับแบบที่อ่อนหวานและมีสีสันมากกว่าของบาร์โตโลเม เอสเตบัน มูรีโย เมื่อซูร์บารานมีอายุมากขึ้นก็ย้ายไปมาดริดเมื่อปี ค.ศ. 1658 เพื่อไปหางานทำและรื้อฟื้นการติดต่อกับเดียโก เบลัซเกซ ซูร์บารานตายอย่างไม่มีใครรู้จักและอย่างยากจน

งานของซูร์บาราน

เมื่อปี ค.ศ. 1627 ซูร์บารานเขียนฉากแท่นบูชาใหญ่ที่วัดเซนต์โทมัส อควีนาสซึ่งเป็นงานชิ้นใหญ่ที่สุดของซูร์บาราน ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เซวิลล์ บนฉากเป็นรูปพระเยซูและพระแม่มารี นักบุญต่างๆ จักรพรรดิชาร์ลที่ 5 แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และอัศวิน และอัครบาทหลวงเดซาผู้เป็นผู้ก่อตั้งวิทยาลัย กับพระและผู้เกี่ยวข้อง ตัวแบบเอก ๆ มีขนาดใหญ่กว่าคนจริง

นอกจากนั้นซูร์บารานยังเขียนภาพขนาดใหญ่หลายภาพให้กับวัดซานตามารีอาเดกวาดาลูเป (Santa Maria de Guadalupe) 8 ภาพเป็นภาพเกี่ยวกับนักบุญเจอโรม, ที่วัดเซนต์พอลที่เซวิลล์ ซูร์บารานสร้างรูป “พระเยซูตรึงกางเขน” สองสีแบบศิลปะเอกรงค์ ที่ทำให้ดูเหมือนทำจากหินอ่อน เมื่อปี ค.ศ. 1633 ซูร์บารานเขียนภาพสำหรับฉากแท่นบูชาสำหรับวัดคาร์ธูเชียนที่เจเรซ ที่วังบวยนเรติโร ที่มาดริดซูร์บารานเขียนภาพที่เป็นแรงงานสิบสองเดือน (The Twelve Labours) ของเฮอร์คิวลีส ซึ่งเป็นงานที่ไม่ใช่งานศาสนา งานชิ้นสำคัญอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่ลอนดอนเป็นขนาดคนจริงของพระลัทธิฟรานซิสคันถือกระโหลก

อ้างอิง

  1. Saint Luke as a Painter before Christ on the Cross. Humanities Web. Retrieved 30 September, 2007.
  2. Gállego and Gudiol, 1987, p. 13.
  3. Gállego and Gudiol, 1987, p. 15.
  4. Gállego and Gudiol, 1987, p. 15.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

สมุดภาพ

แม่แบบ:Link FA