ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การบังคับระงับสิทธิ์ผู้ดูแลระบบที่ว่างเว้นจากวิกิพีเดีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sasakubo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Brandy Frisky (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
# {{เห็นด้วย}} เห็นด้วยเช่นเดียวกับคุณ Taweetham (A=100 B=100 C=14 D=6) ← [[ผู้ใช้:Lux2545|xo]] {{สี|black|—————}} [[คุยกับผู้ใช้:Lux2545|ox]] → 18:08, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
# {{เห็นด้วย}} เห็นด้วยเช่นเดียวกับคุณ Taweetham (A=100 B=100 C=14 D=6) ← [[ผู้ใช้:Lux2545|xo]] {{สี|black|—————}} [[คุยกับผู้ใช้:Lux2545|ox]] → 18:08, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
# {{เห็นด้วย}} (A=150 B=150 C=14 D=10)--[[User:Panyatham|<span style="color:green">Panyatham</span>]] 18:19, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
# {{เห็นด้วย}} (A=150 B=150 C=14 D=10)--[[User:Panyatham|<span style="color:green">Panyatham</span>]] 18:19, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
# {{เห็นด้วย}} เรื่องจะกำหนดหลักเกณฑ์ กติกายังไง ก็พิจารณากันเองเถอะครับ แต่เห็นด้วยโดยหลักการที่ว่า ถ้าคุณไม่พร้อม ก็ควรจะถอยให้คนอื่นที่เขาพร้อมเข้ามาทำงานแทนจะดีกว่านะครับ นอกจากนี้ ผู้ดูแล โดยพื้นฐานก็คือผู้ใช้ทั่วไปที่มีอำนาจในการบริหารมากขึ้น แต่การพัฒนาวิกิพีเดีย ไม่จำเป็นต้องทำในฐานะผู้ดูแลก็ได้หนิครับ --[[user:Brandy Frisky|ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน)]] : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่ง[[ไร้สาระนุกรม]] : [[user talk:Brandy Frisky|ก๊งเหล้ากันได้]] 18:22, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
#
#
; อภิปราย
; อภิปราย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:22, 16 กุมภาพันธ์ 2555

หน้านี้เป็นหน้าอภิปรายในวิกิพีเดียภาษาไทย

ผู้ดูแลระบบที่ว่างเว้นจากวิกิพีเดียภาษาไทยเป็นเวลานานอาจแจ้งความประสงค์ต่อวิกิมีเดียเมต้าด้วยตนเองเมื่อไม่ประสงค์ใช้สิทธิ์การเป็นผู้ดูแลแล้ว อย่างไรก็ดี ในหลายครั้งผู้ดูแลที่ห่างหายไปจากวิกิพีเดียภาษาไทยอาจไม่สามารถแจ้งระงับสิทธิ์การเป็นผู้ดูแลด้วยตนเองได้ เพื่อความปลอดภัยและเพื่อการบริหารงานที่รัดกุมของวิกิพีเดียภาษาไทยจึงจำเป็นต้องมีนโยบายว่าด้วยการบังคับระงับสิทธิ์ผู้ดูแลระบบที่ว่างเว้นจากวิกิพีเดีย ที่ใช้คำว่า "บังคับ" เพราะอาจมิได้เกิดจากความสมัครใจ รับรู้ หรือยินยอมของเจ้าตัว

หลักการเดิม

ผู้ดูแลระบบที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในวิกิพีเดียเป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยกล่าวไว้ว่ามีส่วนร่วมแก้ไขในวิกิพีเดียน้อยกว่า 50 ครั้ง ใน 1 ปีที่ผ่านมา จะมีการแจ้งต่อผู้ดูแลให้ทราบว่ายังคงสนใจเป็นผู้ดูแลระบบต่อหรือไม่ ผู้ดูแลระบบที่ไม่ต้องการทำหน้าที่ หรือคิดว่าไม่มีเวลาในการดูแลวิกิพีเดีย และประสงค์จะสละสิทธิการเป็นผู้ดูแลระบบ สามารถติดต่อเพื่อระงับสิทธิในการเป็นผู้ดูแลระบบได้

หลักการที่เสนอ
  1. หากผู้ดูแลท่านใดมีการแก้ไขไม่ถึง A ครั้ง หรือมีการใช้สิทธิ์ผู้ดูแลระบบไม่ถึง B ครั้ง หรือไม่เข้าเกณฑ์ทั้งสองอย่าง ในระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมาก่อนที่จะมีการยื่นระงับสิทธิ์การเป็นผู้ดูแลระบบ ผู้ดูแลท่านนั้นอาจถูกระงับสิทธิ์ฯ ได้โดยคำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการ (คอต.) สมาชิกที่ลงทะเบียนมีชื่อผู้ใช้ในวิกิพีเดียภาษาไทยรวมถึง คอต. และนายทะเบียนจะยกเรื่องขึ้นมาพิจารณาเมื่อใดก็ได้
  2. หาก คอต. พิจารณาว่าควรระงับสิทธิ์ผู้ดูแล จะแจ้งให้ผู้ดูแลท่านนั้นทราบทางหน้าพูดคุยของวิกิพีเดียภาษาไทย (และฟังก์ชันการส่งอีเมลของมีเดียวิกิหากผู้ใช้นั้นเปิดรับอีเมล รวมถึงช่องทางอย่างเป็นทางการอื่นของวิกิพีเดียที่อาจเปิดขึ้นในอนาคต) หากเวลา C วันล่วงไปแล้วไม่มีการคัดค้านด้วยเหตุผลอันสมควรจากผู้ดูแลท่านดังกล่าว ให้ถือว่าคำวินิจฉัยเป็นที่สุด และแจ้งวิกิมีเดียเมต้าดำเนินการระงับสิทธิ์ต่อไป หากมีการคัดค้าน คอต. จะพิจารณารับฟังเหตุผลจากทุกฝ่ายก่อนจะออกคำวินิจฉัยใหม่ตามความเหมาะสม
  3. หาก คอต. วินิจฉัยว่าไม่ควรระงับสิทธิ์ผู้ดูแลท่านใดเนื่องด้วยมีเหตุผลอันสมควร ผู้ใดจะนำเรื่องระงับสิทธิ์ผู้ดูแลท่านนั้นด้วยเหตุว่างเว้นจากวิกิพีเดีย มาเข้าสู่การพิจารณาของ คอต. อีกได้ก็ต่อเมื่อพ้นระยะเวลา D เดือนนับจากวันที่มีคำวินิจฉัยไปแล้ว
  4. การระงับสิทธิ์เป็นไปเพื่อความปลอดภัยและการบริหารจัดการวิกิพีเดียภาษาไทย ไม่ถือเป็นมาตรการสกัดกั้น (block) และไม่ถือเป็นประวัติด่างพร่อย ผู้ดูแลที่ถูกระงับสิทธิ์แล้วอาจสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ดูแลใหม่อีกก็ได้
หมายเหตุ
  • ข้อ 1 สิทธิ์ของผู้ดูแลระบบ ต้องเป็นสิทธิ์ที่โดยสภาพจะสามารถใช้สิทธิ์ได้เมื่ออยู่ในฐานะผู้ดูแลระบบเท่านั้น เช่น การลบ การสกัดกั้น การป้องกัน (protect/lock) บทความ เป็นต้น ไม่นับการใช้สิทธิ์ของผู้ดูแลระบบที่อาจมีได้โดยอยู่ในสถานะผู้ใช้อื่น เช่น สิทธิ์ย้อนกลับ (Rollback) สิทธิ์ตรวจตราอัตโนมัติ (Autopatrol)
  • ข้อ 2 ที่ขีดเส้นใต้ เน้นว่าเป็นสิทธิ์เฉพาะตัว ตัวเองเท่านั้นที่รักษาได้
  • ข้อ 3 ที่ขีดเส้นใต้ เน้นว่าจะยกประเด็นว่าด้วยขาดความเคลื่อนไหวมาพิจารณาไม่ได้อีกภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมีการกระทำอื่นใดซึ่งเป็นเหตุให้สามารถระงับสิทธิ์ผู้ดูแลในระหว่างห้วงเวลา D เดือนนั้น สามารถยกเรื่องขึ้นพิจารณาได้ทันทีตามระเบียบปฏิบัติทั่วไป
ลงคะแนน

การลงคะแนนี้สามารถกระทำได้โดยผู้ใช้ทุกคน (ยกเว้นไอพีและผู้ใช้ใหม่) จะระบุตัวเลขเฉพาะบางตัว หรือไม่ระบุเลยก็ได้ (หากรับนโยบายแต่มีปัญหาเชิงตัวเลข อาจจัดให้โหวตใหม่หรือเอาตัวเลขของเสียงส่วนใหญ่ใช้ไปก่อน)

  1. เห็นด้วย A=100 B=100 C=14 D=6 --taweethaも 18:17, 13 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
  2. ไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลเดิมที่ระบุไว้ในหน้านี้ (วิกิพีเดีย:การอนุญาโตตุลาการ/ดัชนี/ระงับสิทธิ์ผู้ดูแล 2555-1) --B20180 10:44, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
  3. เห็นด้วย thwp ก็ต้องมีนโยบายรองรับเพราะภาษาอื่นเขาก็มี; ผมเสนอให้ C เท่ากับ 14 วัน เท่ากับระยะเวลาการพิจารณาแต่งตั้งแอดมิน --octahedron80 12:57, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
  4. ไม่เห็นด้วย และผมมีความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า หากการอภิปรายเรื่องนโยบายนี้ผ่านศาลาชุมชน ได้ข้อสรุปว่าไม่ผ่าน การพิจารณาระงับสิทธิ์ผู้ดูแลที่ดำเนินการไปแล้ว 2 ครั้ง โดยลับหลัง และยังไม่ผ่านการพิจารณาเป็นนโยบาย สมควรจะเป็นโมฆะ ด้วยครับ -- 2T 12:57, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
    • การทำให้เป็นโมฆะ เท่ากับนำสิทธิกลับคืน เรื่องนั้นทำไม่ได้ นโยบายเดิมก็มีไว้บอกชัด (ตามข้อความในกรอบ) ด้วยเหตุผล คอต. มีอำนาจในการถอนแอดมินที่ว่างเว้นจากการปฏิบัติ (คอต. แต่งตั้งโดยชุมชนและได้รับรองแล้ว) และได้แจ้งเจ้าของชื่อบัญชี ได้ให้เวลาคัดค้านแล้ว (แต่ก็ไม่มีการคัดค้านใด ๆ กลับมา) ทุกอย่างกระทำโดยเปิดเผยมิใช่ลับหลัง คำตัดสินของ คอต. ถือเป็นการสิ้นสุด นโยบายที่เสนอขึ้นใหม่นี้เป็นการปรับปรุงนโยบายเดิม แต่ไม่ว่าจะปรับปรุงหรือไม่ปรับปรุง (ผ่านหรือไม่ผ่าน) แอดมินเก่าที่ถูกระงับสิทธิ์ก็ยังเข้าข่ายอยู่ ดังนั้นหากคุณคิดจะอุทธรณ์ ผลก็ยังคงเหมือนเดิมเพราะอิงนโยบายเดิม --octahedron80 13:04, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
    • การพิจารณาที่ล่วงไปแล้วเป็นการพิจารณาต่อสาธารณะ ทุกคนเข้าถึงและแสดงความคิดเห็นได้ และความจริงแล้วผมพยายามแจ้งทุกคนทราบตั้งแต่ก่อนการพิจารณา ดังนั้นมีเวลาที่จะคัดค้านได้มากกว่า 14 วัน ส่วนการขอให้ยกเลิกคำตัดสินนั้นเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคลของเจ้าตัวที่จะคัดค้านด้วยเหตุผลอันสมควร แม้เวลา 14 วันสิ้นไปแล้ว ถ้ามีเหตุผลใดน่ารับฟังก็แจ้งมาได้โดยต้องพิจารณาเป็นกรณีไป --taweethaも 14:36, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
    • อย่างไรก็ตาม แอดมินที่เคยถูกระงับไปแล้ว สามารถเสนอชื่อเป็นแอดมินใหม่ก็ได้ ชุมชนจะเป็นผู้ตัดสินอีกครั้งว่าสมควรเป็นแอดมินไหม และมันก็ไม่เสียเวลามากเท่าไหร่ หากคิดจะอยู่ดูแลวิกิพีเดียต่อ --octahedron80 13:19, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
      • นโยบายในล้อมกรอบ (ดูข้างบน) ตรงไหนบอกเรื่อง 2 สัปดาห์ ครับ เห็นมีแต่ อตก ท่านนึงยกตัวเลขขึ้นมา แล้วที่เหลือก็ว่ากันไปตามนั้น นอกจากนั้น ได้ติดต่อผู้ดูแลในช่องทางอื่น นอกจากหน้าพูดคุยไหมครับ ผู้ดูแลนั้นได้รับสารไหมครับ -- 2T 14:14, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
        • (1)ไม่มีตรงไหนบอกเรื่อง 2 สัปดาห์ ผมเป็นคนบอกขึ้นมาเอง เพราะเดิมนั้นเขาจะเอาให้การระงับสิทธิ์มีผลทันที ผมเห็นว่าเรายังไม่มีโอกาสฟังความอีกฝ่ายจึงเลือกเวลา 14 วันขึ้นมา เพราะเท่ากับเวลาที่หัวข้ออภิปรายแสดงผลในหน้าปรับปรุงล่าสุด (2) การติดต่อทางหน้าพูดคุย/การส่งอีเมลผ่านวิกิพีเดีย เป็นวิธีการติดต่ออย่างเป็นทางการสองวิธีในวิกิพีเดียเท่านั้น อย่างไรก็ดีหน้าพูดคุยเป็นวิธีเดียวที่มีหลักฐานสาธารณะ ในหลายกรณีในโลกความเป็นจริงหากติดต่อไม่ได้ ก็ต้องปิดคดีแบบนี้ครับ --taweethaも 14:32, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
        • ไม่มีช่องทางอื่นแจ้งไว้ให้ติดต่อได้นะครับ และในเมื่อสารนั้นได้ฝากส่งไปแล้วในที่ที่ของเขา ก็ถือว่าสำเร็จลุล่วงไปแล้ว (เทียบได้กับการปิดหมายของศาล) สมมติว่าแอดมินรายหนึ่งไปอาศัยอยู่แคนาดา เราคงไปติดต่อสถานทูตแคนาดาไม่ได้ หรือในกรณีที่ลาโลกไปแล้ว เราคงไปสอบถามในยมโลกไม่ได้เหมือนกัน --octahedron80 14:30, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
      • ปัญหาในชุมชนนี้คือ จะเกิดปรากฏการณ์การรวมตัวกันเป็นแก๊ง แล้วกีดกัน หรือกดดัน ผู้ใช้ใหม่ที่มีเจตนาดี, ผู้ใช้บริสุทธิ์ที่ถูกให้ร้ายถูกรังแก, รวมถึงแอดมินดีๆ ให้ตีตัวจากวิกิพีเดียไป !! --B20180 14:19, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
        • มีหลายประเด็นที่คุณ B20180 เห็นว่าเป็นปัญหา พอจะนำไปอภิปรายเพิ่มเติมเพื่อหาทางออกข้างนอกได้ไหมครับ (ในหน้านี้คงอภิปรายแต่ประเด็นว่านโยบายนี้มีผลทำให้แอดมินที่ดีตีตัวจากวิกิพีเดียไปได้อย่างไร... ผมมองเฉพาะที่นโยบายกลับเห็นว่าจะทำให้แอดมินขยันขันแข็งกันมากขึ้นเสียอีก) ผมไม่แน่ใจว่าปัญหาที่คุณ B20180 กล่าวถึงจะเกี่ยวข้องกับนโยบายนี้โดยตรงหรือไม่ แต่เราน่าจะได้หาโอกาสคุยกันเพื่อแก้ไขปัญหานะครับ --taweethaも 14:43, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
    • สำหรับคุณ 2T ท่านสามารถเสนอให้เวลาการแจ้งเตือนนานขึ้น หรือปรับตัวเลขอื่นๆ ก็ได้หากเห็นสมควร / ถ้าเป็นไปได้โปรดแสดงสาเหตุที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ด้วยครับ --taweethaも 14:55, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
  5. เห็นด้วย A=50 B=50 C=14 D=3 --เอ็น เอ็ม | พูดคุย 16:36, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
  6. เห็นด้วย เห็นด้วยเช่นเดียวกับคุณ Taweetham (A=100 B=100 C=14 D=6) ← xo ————— ox → 18:08, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
  7. เห็นด้วย (A=150 B=150 C=14 D=10)--Panyatham 18:19, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
  8. เห็นด้วย เรื่องจะกำหนดหลักเกณฑ์ กติกายังไง ก็พิจารณากันเองเถอะครับ แต่เห็นด้วยโดยหลักการที่ว่า ถ้าคุณไม่พร้อม ก็ควรจะถอยให้คนอื่นที่เขาพร้อมเข้ามาทำงานแทนจะดีกว่านะครับ นอกจากนี้ ผู้ดูแล โดยพื้นฐานก็คือผู้ใช้ทั่วไปที่มีอำนาจในการบริหารมากขึ้น แต่การพัฒนาวิกิพีเดีย ไม่จำเป็นต้องทำในฐานะผู้ดูแลก็ได้หนิครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 18:22, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
อภิปราย
  1. หลักการนี้จะเอาไปเขียนลงที่หน้าไหน นอกจากนี้ระบุตัวเลขลงไปเลยก็ได้มั้งครับ คิดว่าคงไม่มีใครเปลี่ยน --octahedron80 20:15, 13 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
  2. สิ่งที่น่าพิจารณาก็คือ คอต. ที่ไม่ได้เป็นแอดมิน ไม่มีสิทธิดูแอดมินล็อก ถ้าในอนาคต คอต. ไม่ใช่แอดมินทั้งหมด จะหาแอดมินล็อกดูที่ไหน --octahedron80 05:19, 14 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
    • ผมก็กังวลอยู่เหมือนกัน คนที่ไม่ใช่แอดมินก็พอดูได้ครับ แต่ไม่แน่ใจว่าทุกกรณีหรือไม่ (ดูที่ปูม) อย่างไรก็ดีผมมองว่า คอต. มีหน้าที่พิจารณาตามพยานหลักฐานที่นำสืบเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องสืบสวนด้วยตนเอง และคนที่ถูกเสนอให้ระงับสิทธิ์ก็อาจนำสืบโต้แย้งได้ (เช่นให้นับการแก้ไขใน AbuseFilter) --taweethaも 09:29, 14 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
  3. ไม่ทราบว่าทาง คอต. ได้ติดต่อผู้ใช้ผ่านช่องทางอื่นนอกเหนือจากในหน้าพูดคุยหรือเปล่าครับ อยากให้พิจารณาส่งอีเมล์ด้วยเพราะผู้ดูแลที่ถูกเสนอชื่อเองก็คงไม่ได้กลับเข้ามาวิกิพีเดียอีก (เผอๆอาจไม่ทราบด้วยซ้ำว่าโดนปลดแล้ว) --เอ็น เอ็ม | พูดคุย 16:40, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
    • กำหนดให้แจ้งทางอีเมลวิกิพีเดียด้วยก็ได้ แต่ให้แจ้งทางอื่นที่ไม่เป็นที่รู้จักโดยสาธารณะอาจเป็นการละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคล ถ้าไม่รู้จักกันเป็นการส่วนตัว (ผมเพิ่มเติมข้อความลงในข้อ 1) --taweethaも 17:01, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
    • เป็นไปได้ว่าแม้ส่งข้อความไปทุกหนทางให้ทราบแล้ว แต่ผู้ดูแลที่ถูกพิจารณาก็ไม่ได้รับข้อความ แต่กรณีก็ช่วยไม่ได้ครับ วิกิพีเดียไทยต้องอยู่กับความเป็นปัจจุบัน และวางแผนก้าวหน้าต่อไป --taweethaも 17:04, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
  1. เห็นด้วย ตามข้อเสนอ ผู้แลบางคนที่ขาดความเคลื่อนไหวอาจไม่อยู่ในสถานะเข้าใช้งานได้อีกต่อไป อาจหมายถึง มีความเจ็บป่วย เสียชีวิต หรือเหตุอื่นใด อันทำให้ไม่สามารถเข้ามาใช้งานวิกิพีเดียได้ เพื่อลดความสับสนในบางครั้งที่ผู้ใช้ธรรมดาอาจต้องการติดต่อผู้ดูแลระบบโดยตรง อาจเผลอไปติดต่อผู้ที่ไม่มีความเคลื่อนไหวซึ่งอาจสูญเปล่า --Sasakubo1717 18:19, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)