ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลิงคินพาร์ก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
FoxBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.5) (โรบอต เพิ่ม: ga:Linkin Park
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: diq:Linkin Park
บรรทัด 152: บรรทัด 152:
[[da:Linkin Park]]
[[da:Linkin Park]]
[[de:Linkin Park]]
[[de:Linkin Park]]
[[diq:Linkin Park]]
[[el:Linkin Park]]
[[el:Linkin Park]]
[[en:Linkin Park]]
[[en:Linkin Park]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:08, 8 กุมภาพันธ์ 2555

ลินคินพาร์ก
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดสหรัฐ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
แนวเพลงนูเมทัล,อัลเทอร์เนทีฟร็อก
,อัลเทอร์เนทีฟเมทัล
ช่วงปีพ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงWarner Bros. Records
Machine Shop Recordings
สมาชิกเชสเตอร์ เบนนิงตัน
ไมค์ ชิโนดะ
โจ ฮาห์น
แบรด เดลซัน
รอบ บัวร์ดอน
เดวิด ฟีนิกส์ ฟาร์แรล
อดีตสมาชิกสกอตต์ โคซิโอล
คิเล คริสเทเนอร์
มาร์ค เวคฟิวด์
เว็บไซต์LinkinPark.com

ลินคินพาร์ก (อังกฤษ: Linkin Park) ศิลปินจากอะกูราฮิลลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ศิลปินแนว "นูเมทัล" (Nu-Metal) ด้วยบทเพลงน่าสนใจ ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายของดนตรี เมทัล ฮิปฮอป อืเล็กทรอนิค อินดัสเตรียล และยังคงมีกลิ่นไอของ ฮิปฮอป ความเป็น ป็อป อยู่ด้วย ประสบความสำเร็จกับอัลบั้มเปิดตัว Hybrid Theory ด้วยยอดขาย 24 ล้านแผ่น และอัลบั้มที่ 2 Meteora ก็ขึ้นอันดับ 1 ในบิลบอร์ด เพลงฮิตที่เป็นที่รู้จัก เช่น In The End, Somewhere I Belong เป็นต้น ยังคว้ารางวัลแกรมมีมาแล้ว 2 ครั้งเมื่อปี 2002 และ 2006 และทำยอดขายมาแล้วถึง 40 ล้านชุดทั่วโลก รวมทั้งยังก่อตั้งองค์กร Music For Relief ร่วมกับสภากาชาติสากลเมื่อต้นปี 2005 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อปลายปี 2004 และต่อต้านภาวะโลกร้อน

ประวัติ

ช่วงแรกของวง (1996—1999)

ไมค์ ชิโนดะ ได้ชมคอนเสิร์ตของวงแอนแทร็กซ์ (Anthrax) และ พับลิก อีเนมี่ (Public Enemy) ในช่วง พ.ศ. 2532 - 2533 และการแสดงในช่วงที่แฟนเพลงเรียกร้องให้ขึ้นเวทีอีกครั้ง หรือช่วงอังกอร์ของคอนเสิร์ตในครั้งนั้น ทั้ง 2 วง ลุกขึ้นมาแสดงดนตรีร่วมกันในบทเพลง บริงก์ ดา น้อยซ์ (Bring Da Noise) ซึ่งเป็นการจุดประกายให้ ไมค์ อยากทำงานเพลงในทิศทางนั้น

ลินคินพาร์ก จึงเริ่มต้นจาก ไมค์ ชิโนดะ หนุ่มน้อยผู้คลั่งไคล้ในวัฒนธรรมดนตรีฮิปฮอป กับ แบรด เดลสัน (Brad Delson) มือกีตาร์สมัครเล่น ทั้ง 2 หนุ่มเป็นเพื่อนสนิทกันมาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่เกรด 7 (ประมาณ 13 ปี ) โดยในช่วงแรก ไมค์ รับหน้าที่ทำบีทให้วงฮิปฮอป หลังจากนั้นจึงได้พบกับ ร็อบ บอร์ดอน (Rob Bourdon) มือกลอง ณ โรงเรียนใกล้ๆ ในแถบซาน เฟอร์นานโด แวลลีย์ (San Fernando Valley) ส่วน โจ ฮาห์น (Joseph Hahn) DJ ผู้รู้จักกับ ไมค์ ขณะศึกษาที่ อาร์ต เซ็นเตอร์ คอลเลจ (Art Center College) ใน พาซาดีนา (Pasadena Art school) ตามมาเป็นหนึ่งในสมาชิก และร่วมตั้งวงดนตรีชื่อ ซีโร่ (Xero) ใน พ.ศ. 2539 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดการแสดงเล็กๆ สร้างความครื้นเครงและมันส์อย่างสุดๆ ในงานเลี้ยงสังสรรค์ที่บ้านเพื่อน

เมื่อ ซีโร่ มีโอกาสได้ไปแสดงดนตรีที่ วิสกี้ อะโกโก้ (Whisky A Go-Go ) คลับดังของแอลเอ และด้วยฝีมือการแสดงอันโดดเด่น จึงเป็นที่ถูกใจ เจฟฟ์ บลู (Jeff Blue) แห่ง ซอมบ้า มิวสิก พับลิชชิ่ง (Zomba Music Publishing) และได้เซ็นสัญญาในที่สุด ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์สำคัญและผลักดันให้ ซีโร่ มีโอกาสในวงการดนตรีมากขึ้น เนื่องจาก เจฟฟ์ มีส่วนผลักดันให้ผลงานเพลงตัวอย่างของ ซีโร่ เป็นที่รู้จักของผู้คนในวงการเพลงมากขึ้น

ต่อมา ซีโร่ ได้เซ็นสัญญากับ วอร์เนอร์บราเธอร์ส (Warner Brothers) อย่างเป็นทางการ ภายหลังจากนั้นไม่นาน เจฟฟ์ ย้ายตามไปทำงานร่วมกันโดยดำรงตำแหน่ง เอ็กเซ็กคิวทีฟ โปรดิวเซอร์ (Executive Producer) ด้วย ขณะนั้น ซีโร่ ต้องการสมาชิกเพิ่มในตำแหน่ง นักร้องนำ เชสเตอร์ เบนนิงตัน (Chester Bennington: second vocal) หนุ่มจากอริโซน่าจึงเข้ามาเป็นสมาชิกคนต่อไปในฐานะนักร้องนำ โดย เชสเตอร์ ได้รับเทปตัวอย่างที่ ซีโร่ ทำขึ้นจากสตูดิโอเล็กๆ ในห้องนอนของไมค์

นอกจากนี้ทั้ง เชสเตอร์ และ ไมค์ รู้จักกันผ่านทางสำนักทนาย ไมเนียท เฟลพส์ แอนด์ เฟลพส์ (Miniet Phelps and Phelps) ที่ทั้งคู่ใช้บริการ เชสเตอร์สนใจที่จะร่วมงานกับ ซีโร่ มาก จนถึงกับแอบหนีงานเลี้ยงฉลองวันเกิดครบรอบ 23 ปีของตนไปอย่างหน้าตาเฉย เพื่อรีบไปบันทึกเสียงร้องของตนลงเทปตัวอย่างกลางดึก จากนั้นได้โทรศัพท์เปิดเทปตัวอย่างให้กับทางวงฟัง ซึ่งทุกคนชอบมาก จึงรับ เชสเตอร์ เป็นสมาชิกใหม่ทันที

จากนั้นสมาชิก ซีโร่ ทั้งหมดตกลงใจเปลี่ยนชื่อวงเป็น ไฮบริด ธีโอรี่ (Hybrid Theory) แต่บังเอิญไปซ้ำกับชื่อวงดนตรีของศิลปินกลุ่มอื่น จนในที่สุดจำต้องเปลี่ยนชื่อมาเป็นวง ลินคินพาร์ก (Linkin Park) ซึ่งเป็นชื่อที่แผลงตัวสะกดมาจาก ลินคอล์น พาร์ค (Lincoln Park) ซึ่งมีที่มาที่ไปจากการมองการณ์ไกลไปถึงการสร้างเว็บไซต์ประจำวง เนื่องจากมีการจดทะเบียนซื้อขายชื่อโดเมน ลินคอล์นพาร์ค.คอม (lincolnpark.com) ไปเรียบร้อย ก่อนที่ทางวงจะไปขึ้นทะเบียนวงดนตรีของพวกตน และหากยังคงต้องการใช้ชื่อนั้น ก็ต้องเตรียมจ่ายเงินจำนวนมหาศาลแน่นอน

นอกจากนี้ในสหรัฐอเมริกามีสวนสาธารณะชื่อ ลินคอล์น พาร์ค (Lincoln Park) อยู่หลายแห่ง ดังนั้นหากไปเปิดการแสดงดนตรีที่ใดก็ตาม จะกลายเป็นเหมือนกับวงดนตรีท้องถิ่นทั่วไป ที่สำคัญคือทุกคนชอบชื่อ ลินคอล์น พาร์ค และยังเป็นสถานที่ที่ เชสเตอร์ ขับรถผ่านภายหลังจากซ้อมดนตรีเสร็จเป็นประจำ ลินคอล์น พาร์ค เป็นสถานที่แห่งหนึ่งของชนชั้นกลาง และ คนจรจัดของเมืองซานต้า โมนิก้า (Santa Monica)

ต่อมา ลินคินพาร์ก ได้ร่วมงานกับ โปรดิวเซอร์ชื่อดังอย่าง ดอน กิลมอร์ (Don Gilmore) ผู้เคยร่วมงานกับศิลปินชื่อดังมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เพิร์ล แจม (Pearl Jam ) , เอเพ็กซ์ ธีโอรี่ (Apex Theory) , ชูการ์ เรย์ (Sugar Ray)

Hybrid Theory (2000)

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ออกผลงานชุดแรกของ ลินคินพาร์ก จะใช้ชื่ออะไรไปไม่ได้นอกจากชื่อที่ยังคาใจทุกคนอยู่ นั่นก็คือ "ไฮบริด ธีโอรี่" [Hybrid Theory] ทุกคนยอมรับว่าคือ วลีที่สรุปจุดมุ่งหมายของวงได้ดีที่สุด และต้องมีการใสวงเล็บเพิ่มลงไปด้วย

"ไฮบริด ธีโอรี่" ของวงดนตรีหน้าใหม่วงนี้ ประกอบไปด้วยบทเพลงเยี่ยมยอดมากมาย ที่สามารถทะยานเข้าสู่ ท็อป 20 ของบิลบอร์ด (Billboard Top 20) ได้สัปดาห์แรก บทเพลง วัน สเต็ป โคลสเซอร์ (One Step Closer) โดนใจนักจัดรายการวิทยุทั่วโลกไปเต็มๆ รวมทั้ง ครอวลิ่งก์ (Crawling) และ อิน ดิ เอ็นด์ (In the End)

ช่วงนั้น แบรด (Brad) จบระดับไฮสกูล และเข้าศึกษาต่อที่ ยูซีแอลเอ (UCLA) และเป็นเพื่อนร่วมห้องกับ ฟีนิกซ์ (Pheonix) สมาชิกรุ่นก่อตั้งวงในประมาณปี พ.ศ. 2544 จึงชักชวนให้กลับเข้าร่วมงานด้วยกันอีกครั้ง ในฐานะสมาชิกคนที่ 6 ของ ลินคินพาร์ก (แต่ในปกผลงานชุด ไฮบริด ธีโอรี่ ลงเครดิตเพียงแค่ 5 คน เท่านั้น)

ลินคินพาร์ก ได้รับรางวัล The favor of MTV's pop-oriented TRL crowd และภายในปี 2544 ออกแสดงทัวร์คอนเสิร์ตทั้งสิ้น 324 คอนเสิร์ต รวมไปถึง การแสดงในเทศกาลดนตรี แฟมิลี่ แวลูส์ (Family Values) อ็อซเฟสท์ (Ozzfest) และ โปรเจกต์ รีโวลูชั่น (Projekt Revolution) ถูกเสนอชื่อเข้าชิง รางวัลแกรมมี่ 3 รางวัล ในสาขาผลงานเพลงร็อกยอดเยี่ยม (Best Rock Album) ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม (Best New Artist) และ การแสดงดนตรีฮาร์ดร็อกยอดเยี่ยม (Best Hard Rock Performance) และคว้า รางวัลสาขาการแสดงดนตรีฮาร์ดร็อกยอดเยี่ยม (Best Hard Rock Performance) ประจำปี 2544 อีกทั้งยังสร้าง สถิติยอดจำหน่ายสูงสุดแห่งปี 2543 ต่อมา พ.ศ. 254 5 "ไฮบริด ธีโอรี่" ทำสถิติยอดจำหน่ายแพล็ทตินั่มกว่า 8 ล้านแผ่น และ สร้างยอดจำหน่ายสูงสุดอันดับ 5 ประจำปี 2545 อีกด้วย

กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ออกผลงานรีมิกซ์ชุดต่อมา "รีแอนิเมชัน" (Reanimation)

Meteora (2003)

อัลบั้มนี้ใช้เวลานานถึง 18 เดือน ในการเขียนและบันทึกผลงานเต็มชุดที่ 2 ที่ประสบความสำเร็จภายใต้ชื่อ "เมทีโอร่า" (Meteora) ที่โปรดิวซ์โดย ดอน กิลมัวร์ (Don Gilmore) มิกซ์เสียงโดย แอนดี้ วอลเลซ (Andy Wallace) ผู้เคยฝากผลงานไว้กับ แอท เดอะ ไดรฟ์ อิน (At The Drive-In) , ดิสเทิร์บท์ (Disturbed) , ฟูไฟเตอร์ส (Foo Fighters) , คอร์น (Korn) , ลิมพ์ บิซคิท (Limp Bizkit) , เนอร์วานา (Nirvana) , เรจ อเกนสท์ เดอะ แมชชีน (Rage Against The Machine) และ ซิสเต็ม ออฟ ดาวน์ (System of a Down)

อัลบั้ม Meteora ขายได้ 800,000 copies ใน 1 อาทิตย์. ในอัลบั้ม ประกอบด้วย ซิงเกิล "Somewhere I Belong", "Breaking the Habit", "Faint", and "Numb" เมื่อใกล้ขายได้ 3 ล้าน copies ลินคินพาร์กจึงจัด "Project Revolution" หรือเทศกาลดนตรีของ ลินคินพาร์ก

ลินคินพาร์ก ยอมรับว่า ได้รับอิทธิพลดนตรีมาจาก เดฟโทนส์ (Deftones) , ไนน์ อินช์ เนลส์ (Nine Inch Nails) , เอเฟ็กซ์ ทวิน (Aphex Twin) และ เดอะ รูทส์ (The Roots)

Side projects (2004—2006)

หลังจากที่ประสบความสำเร็จกับ อัลบั้ม "Hybrid Theory" และ "Meteora" เชสเตอร์ได้ร่วมงานกับวงอื่น เช่น "Dead by Sunrise" ส่วนไมค์ได้ร่วมงานกับ Depeche Mode. ในปี 2004 วงลินคินพาร์ก ทำอัลบั้ม "Collision Course" ที่นำเพลงจากอัลบั้มเก่า ร่วมกับ "Jay-Z"

Minutes to Midnight (2007)

ในปี 2006 ลินคินพาร์กได้กลับเข้าสตูดิโออีกครั้ง และเปลี่ยนแนวเพลง

อัลบั้ม "Minutes to Midnight" ออกวางขาย วันที่ 15 พฤษภาคม 2007 ชื่ออัลบั้มนั้นได้แนวคิดมาจากนาฬิกาโลกาวินาศซึ่งมาจากนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชิคาโก หลังจากสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดปรมาณูใส่ญี่ปุ่นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะสิ้นสุดลง อัลบั้มชุดนี้เป็นร่วมกันโปรดิวซ์ระหว่างโปรดิวเซอร์ที่ดังที่สุดแห่งยุค และเจ้าของรางวัล Producer of The Year คนล่าสุดจากเวทีแกรมมี่อย่าง ริค รูบิน และ ไมค์ ชิโนดะ เอ็มซีและมันสมองของลินคินพาร์ก

A Thousand Suns (2010)

วันที่ 18 พฤษภาคม 2009 ออกซิงเกิลใหม่ ในชื่อ "New Divide" เพลงประกอบหนัง "Transformers: Revenge of the Fallen".

วันที่ 19 มการคม 2010 วงลินคินพาร์ก ออกซิงเกิลใหม่ ในชื่อ "Not Alone" เพื่อองค์กร "Music For Relief" ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวใน เฮติ. วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2010 ลินคินพาร์กออกมิวสิกวิดีโอของเพลง "Not Alone" ที่หน้าแรกของเว็บ ลินคินพาร์ก

วงลินคินพาร์ก ออกเกม "8-Bit Rebellion" ในวันที่ 26 เมษายน 2010 สำหรับ iPod , iPhone และ iPad. ภายในเกมประกอบด้วย เพลง "Blackbirds" จะถูกปลดล็อกเมื่อผู้เล่น เล่นเกมจบ

วันที่ 6 มิถุนายน 2010 ลินคินพาร์กเปิดเผยว่าอัลบั้มใหม่ใกล้เสร็จแล้ว. มีการกำหนดการจัดคอนเสิร์ต ครั้งแรกของปี 2010 ที่เยอรมัน

วันที่ 8 กรกฎาคม 2010 วงลินคินพาร์ก ประกาศกำหนดวันออก อัลบั้ม "A Thousand Suns" อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 14 กันยายน 2010. นอกจากนั้น วงลินคินพาร์ก ประกาศชื่อเพลง และ กำหนดวันออกซิงเกิลแรก ในวันที่ 2 สิงหาคม 2010 เพลง "The Catalyst"

แนวเพลง

อัลบั้ม "Hybrid Theory" และ "Meteora" ทั้งคู่แป็นแนวเพลง อัลเทอร์เนทีฟเมทัล นูเมทัล และมีกลิ่นไอของป็อป ฮิปฮอป อัลเทอร์เนทีฟ และ อิเล็กทรอนิกาและเพิ่มโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่งเสียงและใช้เครื่องสังเคราะห์เสียงช่วยเพิ่มรูปแบบเสียงที่มีความแปลกใหม่และสนุกยิ่งขึ้น ทำให้เป็นแนวเพลงที่ไม่ซ้ำแบบใครและเป็นสไตล์เป็นตัวของตัวเองอีกด้วย

ในอัลบั้ม "Minutes to Midnight" ได้ทำการทดสอบซาวด์หลายรูปแบบและค้นหารูปแบบเสียงซาวด์เพลงแบบใหม่ๆและได้รับอิทธิพลจากผลงานเพลงของศิลปินวงส์ยูทู และในผลงานชิ้นนี้มีจังหวะเพลงส่วนใหญ่ที่เป็นเพลงแนวอัลเทอร์เนทีฟร๊อค มากกว่าที่จะเป็นแนวเพลงนูเมทัลและแร๊ปร๊อคและในผลงานชิ้นนี้เป็นอัลบั้มแรกที่มีจังหวะโซโลกีต้าซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในอัลบั้มอื่นๆ

อัลบั้ม "A Thousand Suns" ได้คว้าตัว Rick Rubin (U2, Johnny Cash) มาทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ร่วมกับ Mike Shinoda นักร้องนำ แนวเพลงในอัลบั้นนี้ได้ทำแนวเพลงที่ต่างไปจากอัลบั้มก่อนๆ เนื้อหาเพลงและจังหวะดนตรียังมีความเป็นนูลเมทัล และมีเนื้อหาด้านการเมืองอยู่ในเพลงนั้น

รายชื่อสมาชิกในวง

เชสเตอร์ เบนนิงตัน แสดงคอนเสิร์ตในงานเทศกาลคอนนิสเพีร์ย ประเทศฟินแลนด์
รายชื่อสมาชิกที่เกี่ยวข้อง


ผลงาน

สตูดิโออัลบั้ม (Studio Album)

อัลบั้มดัดแปลง (Remix Album)


อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA