ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไขกระดูก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Somjot (คุย | ส่วนร่วม)
FoxBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.5) (โรบอต เพิ่ม: ga:Smior
บรรทัด 72: บรรทัด 72:
[[fi:Luuydin]]
[[fi:Luuydin]]
[[fr:Moelle osseuse]]
[[fr:Moelle osseuse]]
[[ga:Smior]]
[[gl:Medula ósea]]
[[gl:Medula ósea]]
[[he:מח עצם]]
[[he:מח עצם]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:01, 5 กุมภาพันธ์ 2555

ไขกระดูก
รูปอย่างง่ายของเซลล์ในไขกระดูก
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินMedulla ossium
MeSHD001853
TA98A13.1.01.001
TA2388
FMA9608
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ไขกระดูก (อังกฤษ: Bone marrow, Latin: medulla ossium) เป็นเนื้อเยื่อยืดหยุ่นที่พบได้ในกระดูกชั้นใน ไขกระดูกในกระดูกชิ้นใหญ่ในคนผลิดเม็ดเลือดแดงใหม่ โดยเฉลี่ยแล้วไขกระดูกมีน้ำหนักคิดเป็นร้อยละ 4 ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เช่นในผู้ใหญ่น้ำหนัก 65 กิโลกรัม จะมีไขกระดูกโดยประมาณ 2.6 กิโลกรัม ส่วนฮีมาโทโพอิติก (hematopoietic compartment) ของไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดง 500,000 ล้านเซลล์ต่อวันโดยประมาณ ซึ่งใช้ระบบไหลเวียนไขกระดูก (bone marrow vasculature) เป็นท่อสู่ระบบไหลเวียนของร่างกาย[1] ไขกระดูกยังเป็นส่วนหลักของระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) ที่ผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ซึ่งช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย[2]

ชนิดของไขกระดูก

หัวกระดูกต้นขาถูกผ่าเพื่อให้เห็นกระดูกเนื้อแน่น (cortical bone) และกระดูกเนื้อโปร่ง(trabecular bone)ซึ่งอยู่ส่วนใน และยังแสดงไขกระดูกแดงที่ล้อมรอบไขกระดูกเหลืองตรงกลาง

ไขกระดูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิดแบ่งตามสีและองค์ประกอบคือ ไขกระดูกแดง และไขกระดูกเหลือง ไขกระดูกทั้งสองบริเวณมีเส้นหลอดเลือดและเส้นเลือดฝอยอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อแรกเกิดไขกะดูกทั้งหมดเป็นชนิดไขกระดูกแดง แต่เมื่ออายุมากขึ้นก็จะยิ่งมีไขกระดูกเหลืองมากขึ้น

ไขกระดูกแดง

ไขกระดูกแดง (อังกฤษ: red marrow, Latin: medulla ossium rubra) เป็นสีแดงเพราะมีเม็ดเลือดแดงอยู่มาก ประกอบด้วยเนื้อเยื้อฮีมาโทโพอิทิก (hematopoietic tissue) เป็นส่วนใหญ่ และยังมีเนื้อเยื่อไขมันอีกด้วย เนื้อเยื้อฮีมาโทโพอิทิกนี้เป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ เช่น เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด เป็นต้น ไขกระดูกแดงยังมีเนื้อเยื่อไขมันอีกด้วย แหล่งที่พบไขกระดูกแดงเป็นจำนวนมากคือกระดูกแบนราบ (Flat Bone) เช่น เชิงกราน สันอก กะโหลก ซี่โครง สันหลัง และสะบัก เป็นต้น และพบในกระดูกโปร่งที่ส่วนปลายของกระดูกยาว ได้แก่ กระดูกต้นขาและกระดูกต้นแขน

ไขกระดูกเหลือง

ไขกระดูกเหลือง (อังกฤษ: yellow marrow, Latin: medulla ossium flava) เป็นสีเหลืองเพราะมีไขมันอยู่มาก พบได้ในโพรงกระดูก (Medullary cavity) ในส่วนกลางของกระดูกยาว ในกรณีที่มีการสูญเสียเลือดอย่างมาก ร่างกายสามารถเปลี่ยนไขกระดูกเหลืองเป็นไขกระดูกแดงเพื่อเพิ่มการผลิตเม็ดเลือดแดงได้

สตรอมา

สตอมาของไขกระดูกเป็นเนื้อเยื่อหรือโครงสร้างทั้งหมดที่ไม่มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวข้องการสร้างเม็ดเลือด (Haematopoiesis) ไขกระดูกเหลืองประกอบด้วยสตอมาเป็นส่วนใหญ่ แต่สตอมาก็พบได้บ้างในไขกระดูกแดง แม้ว่าไม่มีฤทธิ์เหมือนไขกระดูกแดงพาเรงไคมา แต่สตอมาก็เป็นรัง ([1]) ที่มีความจำเพาะสำหรับเซลล์ที่กำเนิดเม็ดเลือดและเซลล์ต้นกำเนิดอื่น ๆ เช่น

  • เซลล์ไฟโบรบาลซท์ (fibroblast) เป็นเซลล์ที่สังเคราะห์สารเคลือบเซลล์ (Extracellular metrix)
  • เซลล์มาโครเฟจ (macrophage) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เพิ่มธาตุเหล็กให้แก่เฮโมโกลบินที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง
  • เซลล์ต้นไขมัน (Adipocyte) เป็นเซลล์สะสมพลังงานในรูปไขมัน
  • เซลล์ต้นกระดูก (osteoblast) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูก
  • เซลล์ทำลายกระดูก (osteoclast) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่กำจัดเนื้อกระดูก (Osseous tissue)
  • เซลล์เอนโดธีเลียซึ่งก่อเป็นกระเปาะเส้นเลือดไซนูซอยด์ (sinusoids) เซลล์เหล่านี้มีที่มามาจากเซลล์ต้นเอนโดธีเลีย (endothelial stem cells)ที่พบในไขกระดูกเช่นกัน

เซลล์ต้นมีเซนไคมอล

เซลล์ต้นมีเซนไคมอล (อังกฤษ: mesenchymal stem cell) เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่พบในสตอมา บ้างก็เรียก เซลล์ไขกระดูกสตอมา (marrow stromal cell) เซลล์ต้นมีเซนไคมอลเป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่เป็นพหุศักยภาพ (multipotency) นั่นหมายความว่า เป็นเซลล์ที่สามารถเปลี่ยนสภาพ (differentiate) เป็นเซลล์ชนิดอื่นๆได้หลายแบบ[3][4] เช่น เซลล์ต้นกระดูก (osteoblast) เซลล์ต้นกระดูกอ่อน (chondrocyte) เซลล์ต้นกล้ามเนื้อ (myocyte) เซลล์ต้นไขมัน (adipocyte) และเซลล์ต้นประสาท (neural stem cell) เป็นต้น

อ้างอิง

  1. Challenges in Cardiac Tissue Engineering; Gordana Vunjak-Novakovic, Ph.D.,Nina Tandon, Ph.D., Amandine Godier, B.S.,1 Robert Maidhof, M.S.,Anna Marsano, Ph.D., Timothy P. Martens, M.D., Ph.D., and Milica Radisic, Ph.D.; TISSUE ENGINEERING: Part B; Volume 16, Number 2, 2010
  2. The Lymphatic System. Allonhealth.com. Retrieved 2011-12-05.
  3. Pittenger et al. 1999 Multilineage potential of adult human mesenchymal stem cells. Science
  4. Jiang et al. 2002. Pluripotency of mesenchymal stem cells derived from adult marrow. Nature.

แหล่งข้อมูลอื่น