ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เก้าอี้ขาวในห้องแดง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Beer1541 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
* '''ผู้จัดละคร''' : [[มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช]]
* '''ผู้จัดละคร''' : [[มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช]]
* '''ผู้กำกับ''' : [[เริงศิริ ลิมอักษร]]
* '''ผู้กำกับ''' : [[เริงศิริ ลิมอักษร]]
* '''เพลงประกอบละคร''' : [[เพียงความทรงจำ]] ขับร้องโดย [[สาว สาว สาว]] (หญิง) / [[ชัยรัตน์ เทียบเทียม]] (ชาย)
* '''เพลงประกอบละคร''' : [[เพียงความทรงจำ]] ขับร้องโดย [[ชัยรัตน์ เทียบเทียม]]


* '''รายชื่อนักแสดง''' :
* '''รายชื่อนักแสดง''' :

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:04, 4 กุมภาพันธ์ 2555

หนังสือ เก้าอี้ขาวในห้องแดง

นวนิยายที่มีชื่อเสียงที่สุดเรื่องหนึ่งของ สุวรรณี สุคนธา ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร ลลนา ฉบับปฐมฤกษ์ ได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มครั้งที่ 1 เมื่อปีพ.ศ. 2518 โดยสำนักพิมพ์คลังวิทยา พิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อพ.ศ. 2540 และครั้งที่ 3 พ.ศ. 2542 โดยนวนิยายเรื่องนี้ได้ถูกนำไปสร้างเป็นละครทางโทรทัศน์ด้วยกัน 2 ครั้ง


สาระของหนังสือ

เรื่องราวรักสามเส้าของสามเพื่อนรัก ละเวง บูรพา และ สาวิตรี มีการสอดแทรกเนื้อหาของการดำเนินชีวิต ความเติบโตทางด้านอารมณ์ตามวัยของตัวละครแต่ละตัวอย่างละเอียดอ่อน โดยมี ตะวันฉาย/ อินทร /จิตดี สามชายหนุ่มที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวพันกับชีวิตละเวงต่างวาระกัน แต่มีเพียง อินทร เท่านั้น ที่เปรียบเสมือนคนที่เป็นดั่งคนช่วยพยุงวันเวลาที่ละเวงเหนื่อยล้า พบกับความสูญเสียและเสียใจ ทั้งการจากไปของตะวันฉาย และความรักระหว่าง บูรพา กับ สาวิตรี แม้ว่าในเริ่มแรก ละเวงจะมองอินทร เป็นคนที่ปากร้ายและดูเย็นชา แต่ความนิ่งงันและสายตาที่อ่อนโยนของเขา กลับกุมหัวใจเธอได้

ละคร เก้าอี้ขาวในห้องแดง

ออกอากาศครั้งแรกปี 2527 ทางสถานีโทรทัศน์สีช่อง 3

ออกอากาศครั้งที่สองปี 2542 ทางสถานีโทรทัศน์สีช่อง 3

เนื้อหาละคร :

เมื่อละเวงต้องสูญเสียพ่อและแม่ไปอย่างกระทันหันหลังจากที่เรียนจบมหาวิทยาลัย เธอจึงต้องเปลี่ยนเป้าหมายจากการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นเป็นหางานทำ โดยได้สมัครงานเป็นมัฑณากรของบริษัทรับตกแต่งบ้านแห่งหนึ่ง ด้วยความที่เป็นคนที่มีความเชื่อมันใจตัวเองสูง อีกทั้งยังมีเพื่อนที่รักมากอีก 2 คน คือ บูรพา และ สาวิตรี คอยให้กำลังใจอยู่เสมอ เธอจึงไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ

บูรพา เด็กหนุ่มผู้มีความเป็นศิลปินอย่างเต็มเปี่ยม แอบรักละเวงอย่างเงียบๆ โดยที่ไม่รู้ว่าสาวิตรีเองก็แอบรักเขาเช่นกัน แต่ละเวงกลับมีใจให้กับ ตะวันฉาย หนุ่มรุ่นน้องลูกครึ่งผู้ร่ำรวยและออกจะกะล่อนเจ้าชู้ ด้วยความรักที่ไม่สมประสงค์ของเพื่อนทั้ง 3 นี่เอง ได้ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมแห่งความรักที่เกือบจะทำลายความสัมพันธ์ของเพื่อนที่มีมายาวนาน

บูรพาบอบช้ำจากความรักที่ไม่สมปรารถนา สาวิตรีได้แต่อยู่ข้างๆ คอยปลอบใจและเฝ้าดูแล ทั้งคู่เผลอไผลไปด้วยกันจนสาวิตรีตั้งท้อง บูรพายินดีรับผิดชอบในสิ่งที่กระทำ ถึงแม้สาวิตรีจะสมปรารถนาที่ได้ครองคู่กับชายที่ตนรัก แต่ด้วยความแตกต่างทางด้านความคิด ไม่นานทั้งคู่ก็ต้องแยกทางกัน ละเวงถึงแม้จะรักตะวันฉาย แต่ก็ไม่อาจตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกันได้ จนในที่สุดตะวันฉายก็มีอันต้องจบชีวิตลงด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์

ชีวิตของเพื่อนรักทั้งสาม ได้ก้าวผ่านจุดของวัยอ่อนใส เข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ เรียนรู้ถึงการใช้ชีวิตในสังคม ความหลอกลวง ความสูญเสีย ความเจ็บปวดจากความรัก ในที่สุดละเวงก็ได้พบกับที่พักพิงอันเป็นรักแท้กับอินทร แม้ทั้งคู่รู้สึกไม่ค่อยถูกชะตากันแต่แรก

อ้างอิง

  • นิตยสารลลนา ฉบับที่ 400 ปักษ์แรก กันยายน 2532
  • ชีวิตหนุ่มสาวเก้าอี้ขาวในห้องแดง. โดย ข่าวสด วัน อาทิตย์ ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551
  • Thai Film Foundation