ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศฟินแลนด์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mig44 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mig44 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 83: บรรทัด 83:


[[ภาพ:Eduskunta1907.jpg|thumb|200px|left|การประชุมรัฐสภาครั้งแรก พ.ศ. 2449]]
[[ภาพ:Eduskunta1907.jpg|thumb|200px|left|การประชุมรัฐสภาครั้งแรก พ.ศ. 2449]]

=== ราชรัฐฟินแลนด์ ภายใต้จักรวรรดิรัสเซีย ===
=== ราชรัฐฟินแลนด์ ภายใต้จักรวรรดิรัสเซีย ===
ในปี[[พ.ศ. 2352]] ในช่วงสงครามระหว่างสวีเดนและรัสเซีย กองทัพของจักรพรรดิ[[อเล็กซานเดอร์ที่ 1]] ก็สามารถยึดดินแดนฟินแลนด์ได้อีกครั้ง ฟินแลนด์ดำรงสถานะเป็น[[ดินแดนปกครองตนเอง]] '''[[ราชรัฐฟินแลนด์]]''' ภายใต้จักรวรรดิรัสเซีย (Grand Duchy of Finland; ภาษาฟินแลนด์: ''Suomen suuriruhtinaskunta''; ภาษาสวีเดน: ''Storfurstendömet Finland''; [[ภาษารัสเซีย]]: ''Великое княжество Финляндское'') จนกระทั่งถึงการประกาศ[[เอกราช]]ในปี[[พ.ศ. 2460]] ในยุคของราชรัฐฟินแลนด์ ภาษาฟินแลนด์ได้รับความสำคัญมากขึ้นในฟินแลนด์ อันเป็นผลมาจากความเคลื่อนไหวของขบวนการ[[ชาตินิยม]] จนกระทั่งได้รับสถานะเดียวกับภาษาสวีเดนใน[[พ.ศ. 2435]] ในปี[[พ.ศ. 2449]] ฟินแลนด์เริ่มมีการให้สิทธิเลือกตั้งอย่างเท่าเทียม (ผู้ใหญ่ทุกคนมีสิทธิกันเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ เพศ หรือสถานะทางสังคม) โดยฟินแลนด์เป็นชาติแรกในโลก ที่ให้สิทธิทั้งการเลือกตั้งและการลงเลือกตั้งแก่สตรี<ref>[http://news.bbc.co.uk/2/hi/europe/5036602.stm Finland's trailblazing path for women] บีบีซีนิวส์ 1 มิถุนายน 2549 {{en icon}}</ref>
ในปี[[พ.ศ. 2352]] ในช่วงสงครามระหว่างสวีเดนและรัสเซีย กองทัพของจักรพรรดิ[[อเล็กซานเดอร์ที่ 1]] ก็สามารถยึดดินแดนฟินแลนด์ได้อีกครั้ง ฟินแลนด์ดำรงสถานะเป็น[[ดินแดนปกครองตนเอง]] '''[[ราชรัฐฟินแลนด์]]''' ภายใต้จักรวรรดิรัสเซีย (Grand Duchy of Finland; ภาษาฟินแลนด์: ''Suomen suuriruhtinaskunta''; ภาษาสวีเดน: ''Storfurstendömet Finland''; [[ภาษารัสเซีย]]: ''Великое княжество Финляндское'') จนกระทั่งถึงการประกาศ[[เอกราช]]ในปี[[พ.ศ. 2460]] ในยุคของราชรัฐฟินแลนด์ ภาษาฟินแลนด์ได้รับความสำคัญมากขึ้นในฟินแลนด์ อันเป็นผลมาจากความเคลื่อนไหวของขบวนการ[[ชาตินิยม]] จนกระทั่งได้รับสถานะเดียวกับภาษาสวีเดนใน[[พ.ศ. 2435]] ในปี[[พ.ศ. 2449]] ฟินแลนด์เริ่มมีการให้สิทธิเลือกตั้งอย่างเท่าเทียม (ผู้ใหญ่ทุกคนมีสิทธิกันเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ เพศ หรือสถานะทางสังคม) โดยฟินแลนด์เป็นชาติแรกในโลก ที่ให้สิทธิทั้งการเลือกตั้งและการลงเลือกตั้งแก่สตรี<ref>[http://news.bbc.co.uk/2/hi/europe/5036602.stm Finland's trailblazing path for women] บีบีซีนิวส์ 1 มิถุนายน 2549 {{en icon}}</ref>


[[ภาพ:LimingaSoldier13years.jpg|thumb|100px|right|ทหารเด็กวัยสิบสามปีของฝ่ายขาวในสงครามกลางเมือง]]
=== หลังการประกาศเอกราช ===
=== หลังการประกาศเอกราช ===
[[ภาพ:LimingaSoldier13years.jpg|thumb|100px|right|ทหารเด็กวัยสิบสามปีของฝ่ายขาวในสงครามกลางเมือง]]


หลังจาก[[การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917|การปฏิวัติบอลเชวิก]]ในรัสเซียประสบความสำเร็จ รัฐสภาของฟินแลนด์ลงมติเห็นชอบในเรื่องการประกาศเอกราชของฟินแลนด์ ในวันที่ [[6 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2460]] และรัฐบาล[[บอลเชวิก]]รัสเซีย ยอมรับการประกาศเอกราชในเกือบหนึ่งเดือนถัดมา ซึ่ง[[เยอรมนี]]และชาติ[[สแกนดิเนเวีย]]อื่นๆก็ยอมรับการประกาศเอกราชตามมาในทันที หลังจากการประกาศเอกราช ฟินแลนด์ก็ตกอยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง โดยเกิดการต่อสู้ระหว่างฝ่าย"ขาว" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจักรวรรดิเยอรมนี และฝ่าย"แดง" ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย[[บอลเชวิก]] ฝ่ายขาวนั้นประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มีฐานะค่อนข้างดี มีความเห็นทางการเมืองค่อนไปทางขวา ในขณะที่ฝ่ายแดงส่วนใหญ่ ซึ่งค่อนข้างจะเป็นฝ่ายซ้ายจะเป็นกลุ่มแรงงาน ฝ่ายขาวชนะสงครามนี้ในเวลาต่อมา ก่อตั้งสาธารณรัฐฟินแลนด์เป็นผลสำเร็จ
หลังจาก[[การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917|การปฏิวัติบอลเชวิก]]ในรัสเซียประสบความสำเร็จ รัฐสภาของฟินแลนด์ลงมติเห็นชอบในเรื่องการประกาศเอกราชของฟินแลนด์ ในวันที่ [[6 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2460]] และรัฐบาล[[บอลเชวิก]]รัสเซีย ยอมรับการประกาศเอกราชในเกือบหนึ่งเดือนถัดมา ซึ่ง[[เยอรมนี]]และชาติ[[สแกนดิเนเวีย]]อื่นๆก็ยอมรับการประกาศเอกราชตามมาในทันที หลังจากการประกาศเอกราช ฟินแลนด์ก็ตกอยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง โดยเกิดการต่อสู้ระหว่างฝ่าย"ขาว" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจักรวรรดิเยอรมนี และฝ่าย"แดง" ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย[[บอลเชวิก]] ฝ่ายขาวนั้นประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มีฐานะค่อนข้างดี มีความเห็นทางการเมืองค่อนไปทางขวา ในขณะที่ฝ่ายแดงส่วนใหญ่ ซึ่งค่อนข้างจะเป็นฝ่ายซ้ายจะเป็นกลุ่มแรงงาน ฝ่ายขาวชนะสงครามนี้ในเวลาต่อมา ก่อตั้งสาธารณรัฐฟินแลนด์เป็นผลสำเร็จ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:00, 27 มกราคม 2550

สาธารณรัฐฟินแลนด์

Suomen tasavalta
ซูโอเมน ตาซาวัลตา
Republiken Finland
เรพูบลิเคน ฟินแลนด์
คำขวัญไม่มี
ที่ตั้งของฟินแลนด์
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
เฮลซิงกิ
ภาษาราชการภาษาฟินแลนด์ และ ภาษาสวีเดน
การปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
ตาเรีย ฮาโลเนน
มัตติ วันฮาเนน
ประกาศเอกราช 
• ประกาศ
6 ธันวาคม พ.ศ. 2460
• เป็นที่ยอมรับ
3 มกราคม พ.ศ. 2461
9.4%
ประชากร
• 2549 ประมาณ
5,274,820[1] (112)
• สำมะโนประชากร 2543
5,181,115
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
• รวม
163 พันล้านดอลลาร์ (52)
31,208 ดอลลาร์ (13)
เอชดีไอ (2548)0.941
สูงมาก · 13
สกุลเงินยูโร (€ €)1 (EUR)
เขตเวลาUTC+2 (EET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (EEST)
รหัสโทรศัพท์358
โดเมนบนสุด.fi2
1 ก่อนพ.ศ. 2542: มาร์คคาฟินแลนด์ เงินยูโรเป็นหน่วยเงินของธนาคารตั้งแต่พ.ศ. 2542 มีอยู่ทั่วไปในพ.ศ. 2545
2 มีการใช้.euร่วมกับรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นๆด้วย

สาธารณรัฐฟินแลนด์ (Republic of Finland;ภาษาฟินแลนด์: Suomen tasavalta; ภาษาสวีเดน: Republiken Finland) เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิกในทางตะวันออกเฉียงเหนือของยุโรป เขตแดนด้านตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลบอลติก ทางด้านใต้จรดอ่าวฟินแลนด์ ทางตะวันตกจรดอ่าวบอทเนีย ประเทศฟินแลนด์มีชายแดนติดกับประเทศสวีเดน นอร์เวย์ และรัสเซีย สำหรับหมู่เกาะโอลันด์ (Åland) ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้นั้น อยู่ภายใต้การปกครองของฟินแลนด์ แต่เป็นเขตปกครองตนเอง

ฟินแลนด์มีประชากรเพียง 5 ล้านคน ในพื้นที่ 300,000 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรที่เบาบางมาก นั่นคือ มีความหนาแน่นในอันดับ 162 ของโลก แต่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ ตามสถิติของสหประชาชาติ ปี พ.ศ. 2548 อยู่ในลำดับที่ 13

ชื่อเรียกประเทศฟินแลนด์ในภาษาฟินแลนด์ คือ "ซูโอมิ" (Suomi) สำหรับคำว่า "ฟินแลนด์" (Finland) นั้นเป็นภาษาสวีเดน ส่วนในภาษาละติน เรียกว่า "เฟนเนีย" (Fennia)

ภาษาฟินแลนด์เป็นหนึ่งไม่กี่ภาษาราชการของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฮังการี และภาษามอลตา

ประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

หลักฐานการตั้งรกรากในดินแดนประเทศฟินแลนด์ปัจจุบัน ย้อนกลับไปได้ถึงราว 8000 ปีก่อนพุทธกาล หลังการสิ้นสุดลงของยุคน้ำแข็ง โดยคนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งอาศัยอยู่น่าจะเป็นพวกล่าสัตว์-เก็บของป่า เริ่มมีการใช้เครื่องปั้นดินเผาในฟินแลนด์ราวห้าพันปีก่อนพุทธกาล ในช่วงสหัสวรรษหลังจากนั้น ปรากฏการติดต่อและแลกเปลี่ยนกับยุโรปตอนเหนือ และเชื่อว่ามีการพูดภาษายูราลิกในฟินแลนด์แล้วในยุคนี้

ตั้งแต่ประมาณ 2700 ปีก่อนพุทธกาล ดินแดนฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากทางใต้ของอ่าวฟินแลนด์ โดยเข้ามาทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการต่อสู้ด้วยขวาน ต่อมาในยุคสำริด พื้นที่ทางชายฝั่งของฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมสำริดนอร์ดิก ในขณะที่พื้นที่ที่อยู่ห่างจากทะเลเข้าไป ได้รับอิทธิพลการใช้สำริดมาจากตอนเหนือของรัสเซียมากกว่า

ในพุทธศตวรรษที่ 5 พบว่ามีการค้าขายแลกเปลี่ยนกับสแกนดิเนเวียมากขึ้น และการค้นพบวัตถุแบบโรมันจากยุคนี้ด้วย

ภายใต้การปกครองของสวีเดน

การติดต่อระหว่างสวีเดนและฟินแลนด์ ปรากฏขึ้นเด่นชัดตั้งแต่ยุคก่อนที่คริสต์ศาสนาจะเข้ามา อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานของการตั้งรกรากของชาวสแกนดิเนเวียในฟินแลนด์ในยุคไวกิ้ง นอกจากบนหมู่เกาะโอลันด์

สวีเดนเข้าปกครองฟินแลนด์ในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 และเริ่มมีการตั้งเมืองขึ้นในทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศที่ตุรกุ (Turku) โดยตุรกุเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของราชอาณาจักรสวีเดนในยุคนั้น ในช่วงศตวรรษนี้ มีชาวสวีเดนจำนวนมากที่เข้ามาตั้งรกรากบริเวณชายฝั่งทางใต้และตะวันตกเฉียงเหนือ บนหมู่เกาะโอลันด์ และหมู่เกาะอื่นๆใกล้เคียง ซึ่งทำให้ภาษาสวีเดนยังคงเป็นภาษาหลักของภูมิภาคนี้มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ภาษาสวีเดนได้กลายมาเป็นภาษาของชนชั้นสูงในภาคอื่นๆของฟินแลนด์ในยุคนั้นด้วย

ในปีพ.ศ. 2093 กษัตริย์ของสวีเดน สมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 1 ได้ทรงก่อตั้งเมืองเฮลซิงกิขึ้นในชื่อ "เฮลซิงฟอร์ส" (Helsingfors) แต่เมืองนี้คงสภาพเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงกว่าสองร้อยปี ชื่อเฮลซิงฟอร์สยังคงเป็นชื่อเมืองเฮลซิงกิในภาษาสวีเดนในปัจจุบัน

ดินแดนฟินแลนด์ถูกยึดครองโดยรัสเซียสองครั้ง ในพุทธศตวรรษที่ 23

การประชุมรัฐสภาครั้งแรก พ.ศ. 2449

ราชรัฐฟินแลนด์ ภายใต้จักรวรรดิรัสเซีย

ในปีพ.ศ. 2352 ในช่วงสงครามระหว่างสวีเดนและรัสเซีย กองทัพของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 1 ก็สามารถยึดดินแดนฟินแลนด์ได้อีกครั้ง ฟินแลนด์ดำรงสถานะเป็นดินแดนปกครองตนเอง ราชรัฐฟินแลนด์ ภายใต้จักรวรรดิรัสเซีย (Grand Duchy of Finland; ภาษาฟินแลนด์: Suomen suuriruhtinaskunta; ภาษาสวีเดน: Storfurstendömet Finland; ภาษารัสเซีย: Великое княжество Финляндское) จนกระทั่งถึงการประกาศเอกราชในปีพ.ศ. 2460 ในยุคของราชรัฐฟินแลนด์ ภาษาฟินแลนด์ได้รับความสำคัญมากขึ้นในฟินแลนด์ อันเป็นผลมาจากความเคลื่อนไหวของขบวนการชาตินิยม จนกระทั่งได้รับสถานะเดียวกับภาษาสวีเดนในพ.ศ. 2435 ในปีพ.ศ. 2449 ฟินแลนด์เริ่มมีการให้สิทธิเลือกตั้งอย่างเท่าเทียม (ผู้ใหญ่ทุกคนมีสิทธิกันเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ เพศ หรือสถานะทางสังคม) โดยฟินแลนด์เป็นชาติแรกในโลก ที่ให้สิทธิทั้งการเลือกตั้งและการลงเลือกตั้งแก่สตรี[2]

ทหารเด็กวัยสิบสามปีของฝ่ายขาวในสงครามกลางเมือง

หลังการประกาศเอกราช

หลังจากการปฏิวัติบอลเชวิกในรัสเซียประสบความสำเร็จ รัฐสภาของฟินแลนด์ลงมติเห็นชอบในเรื่องการประกาศเอกราชของฟินแลนด์ ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2460 และรัฐบาลบอลเชวิกรัสเซีย ยอมรับการประกาศเอกราชในเกือบหนึ่งเดือนถัดมา ซึ่งเยอรมนีและชาติสแกนดิเนเวียอื่นๆก็ยอมรับการประกาศเอกราชตามมาในทันที หลังจากการประกาศเอกราช ฟินแลนด์ก็ตกอยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง โดยเกิดการต่อสู้ระหว่างฝ่าย"ขาว" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจักรวรรดิเยอรมนี และฝ่าย"แดง" ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียบอลเชวิก ฝ่ายขาวนั้นประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มีฐานะค่อนข้างดี มีความเห็นทางการเมืองค่อนไปทางขวา ในขณะที่ฝ่ายแดงส่วนใหญ่ ซึ่งค่อนข้างจะเป็นฝ่ายซ้ายจะเป็นกลุ่มแรงงาน ฝ่ายขาวชนะสงครามนี้ในเวลาต่อมา ก่อตั้งสาธารณรัฐฟินแลนด์เป็นผลสำเร็จ

หลังจากสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลง รัฐสภาของฟินแลนด์ ซึ่งไม่มีสมาชิกของพรรคสังคมประชาธิปไตยซึ่งสนับสนุนสาธารณรัฐอยู่เลย ได้ประกาศตั้งราชอาณาจักรฟินแลนด์ขึ้น โดยเลือกเจ้าชายเฟเดอริก ชาลส์ แห่งแฮสส์ของเยอรมนี ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของฟินแลนด์ แต่เมื่อเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ความคิดนี้จึงต้องยกเลิกไป และฟินแลนด์ก็ประกาศเป็นสาธารณรัฐ โดยมีคาร์โล ยุโฮ สโตห์ลเบิร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก

สงครามโลกครั้งที่สอง

เครื่องบินฟอกเกอร์ ดีสิบเอ็ด ของกองทัพอากาศฟินแลนด์ ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง

ฟินแลนด์ต่อสู้กับสหภาพโซเวียตสองครั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในสงครามฤดูหนาว ระหว่างปีพ.ศ. 2482-2483 และสงครามต่อเนื่อง ในปีพ.ศ. 2484-2487 โดยร่วมมือกับเยอรมนี (อาณาจักรไรช์ที่สาม) ในยุทธการบาร์บารอสซา ทำให้สหราชอาณาจักรประกาศสงครามกับฟินแลนด์ และฟินแลนด์มีสถานะเป็นประเทศฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ตาม ฟินแลนด์เปลี่ยนฝ่ายในปีพ.ศ. 2587 เมื่อต่อสู้ขับไล่เยอรมนีออกจากตอนเหนือของฟินแลนด์ในสงครามแลปแลนด์ หลังจากที่เซ็นสัญญาสงบศึกกับโซเวียต

ยุคหลังสงคราม

จากสนธิสัญญาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฟินแลนด์ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาลให้กับสหภาพโซเวียต รวมถึงเสียดินแดนจำนวนหนึ่งด้วย ในยุคสงครามเย็น ฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากโซเวียตอย่างมาก

ฟินแลนด์และประเทศในคณะมนตรีนอร์ดิกเข้าร่วมเปิดเสรีหนังสือเดินทางในปีพ.ศ. 2495 โดยอนุญาตให้ประชาชนของชาติสมาชิกข้ามพรมแดนโดยไม่ต้องมีหนังสือเดินทาง (ขณะนั้นฟินแลนด์ยังไม่ได้เข้าร่วมคณะมนตรี) โดยฟินแลนด์เข้าร่วมคณะมนตรีนอร์ดิกในปี พ.ศ. 2498

แม้ว่าฟินแลนด์จะได้อิทธิพลจากโซเวียตเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังคงรักษาประชาธิปไตยและเศรษฐกิจระบบตลาดเสรีไว้ได้ ซึ่งต่างจากประเทศส่วนใหญ่ที่อยู่ติดกับสหภาพโซเวียต ความเสียหายจากสงคราม รวมถึงการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการที่ต้องจ่ายค่าเสียหายจำนวนมาก ทำให้ฟินแลนด์พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจากกสิกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม รวมถึงสร้างระบบสวัสดิการสังคมที่ดีได้ในเวลาไม่กี่สิบปี

หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตล่มสลายลง ฟินแลนด์ก็ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจจากการที่การค้าทวิภาคีจำนวนมหาศาลหายไปอย่างรวดเร็ว ฟินแลนด์ยื่นใบสมัครเข้าร่วมสหภาพยุโรปในปีพ.ศ. 2535 หลังจากที่สวีเดนยื่นไปก่อนหน้านั้นและโซเวียตล่มสลายลง ฟินแลนด์เข้าร่วมสหภาพพร้อมกับสวีเดนและออสเตรียในปีพ.ศ. 2538

การเมืองการปกครอง

ฟินแลนด์ปกครองในระบอบสาธารณรัฐ โดยใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน มีรัฐสภา และใช้ระบอบกึ่งประธานาธิบดี ประมุขของประเทศคือประธานาธิบดีมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องของนโยบายต่างประเทศ อำนาจบริหารส่วนใหญ่จะอยู่ที่คณะรัฐมนตรี นำโดยนายกรัฐมนตรี

รัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญของประเทศฟินแลนด์ (ภาษาฟินแลนด์: Suomen perustuslaki; ภาษาสวีเดน: Finlands grundlag) ฉบับแรกมีใช้ในปีพ.ศ. 2462 ไม่นานจากประกาศอิสรภาพจากรัสเซีย ไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญตลอด 50 ปีแรกของการใช้รัฐธรรมนูญ การปฏิรูปรัฐธรรมนูญครั้งสำคัญเริ่มในปีพ.ศ. 2526 หลังจากนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง รวมถึงการเริ่มใช้ระบบเลือกตั้งประธาธิบดีโดยตรง

ในปีพ.ศ. 2538 ฟินแลนด์เริ่มตั้งคณะทำงานรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2543 เพื่อศึกษาการปรับปรุงรัฐธรรมนูญ และต่อมาก็ตั้งคณะกรรมการรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2543 เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คณะกรรมการเสร็จสิ้นการทำงานในปีพ.ศ. 2541 ในรูปของร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้น คณะกรรมการกฎหมายรัฐธรรมนูญก็ทำการพิจารณาร่าง รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภาในผ่านการอนุมัติจากประธานาธิบดีของสาธารณรัฐ ในปีพ.ศ. 2542 เริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2543 และยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ในฟินแลนด์ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญและฝ่ายตุลาการไม่มีอำนาจในการประกาศว่ากฎหมายใดขัดรัฐธรรมนูญ อำนาจในการตีความว่ากฎหมายนั้นสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญหรือไม่อยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาเท่านั้น โครงสร้างนี้พบได้ไม่บ่อยนักในรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย นอกจากฟินแลนด์แล้ว ประเทศอื่นในยุโรปที่ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญได้แก่ สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน

ฝ่ายบริหาร

อำนาจบริหารของฟินแลนด์อยู่ที่ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ (ภาษาฟินแลนด์: Suomen Tasavallan Presidentti; ภาษาสวีเดน: Republiken Finlands President) และคณะรัฐมนตรี (ภาษาฟินแลนด์: Valtioneuvosto; ภาษาสวีเดน: Statsrådet) ประธานาธิบดีได้รับเลือกโดยตรง ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 6 ปี มีหน้าที่รับผิดชอบนโยบายต่างประเทศ รับรองกฎหมาย แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีของฟินแลนด์และรัฐมนตรีอื่นๆอย่างเป็นทางการ และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังของฟินแลนด์ด้วย อย่างไรก็ตาม กิจการภายในสหภาพยุโรปไม่รวมอยู่ในอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี แต่เป็นของคณะรัฐมนตรี

ในคณะรัฐมนตรีจะมีตำแหน่งผู้ตรวจการ (ภาษาฟินแลนด์: Oikeuskansleri; ภาษาสวีเดน: Justitiekanslern) ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ เช่น ประธานาธิบดี คณะรัฐมนตรี รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐการทั่วไป ผู้ตรวจการจะเข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีในฐานะสมาชิกที่ไม่มีสิทธิออกเสียง ตำแหน่งนี้และผู้ช่วยแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี โดยไม่มีการหมดวาระตลอดชีวิต

รัฐสภา

อาคารรัฐสภาของฟินแลนด์

รัฐสภาของฟินแลนด์ (ภาษาฟินแลนด์: Eduskunta; ภาษาสวีเดน: Riksdag) เป็นระบบสภาเดี่ยว มีสมาชิก 200 คน ภายใต้รัฐธรรมนูญของฟินแลนด์ รัฐสภามีอำนาจการตัดสินใจสูงสุดในประเทศ โดยถือว่าอำนาจการปกครองอยู่ที่ประชาชน และใช้อำนาจผ่านรัฐสภา รัฐสภามีหน้าที่ผ่านกฎหมาย กำหนดงบประมาณรัฐ ยอมรับสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และดูแลการดำเนินงานของรัฐบาล รัฐสภาสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถอดถอนคณะรัฐมนตรี และดำเนินการหลังการใช้สิทธิยับยั้ง (วีโต้) ของประธานาธิบดีได้ การตรากฎหมายสามารถเริ่มโดยคณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกของรัฐสภา การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาสองครั้ง โดยสภาสองสมัยติดต่อกัน (หมายความว่า เห็นชอบโดยรัฐสภาชุดปัจจุบัน และชุดหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า)

สมาชิกรัฐสภาดำรงตำแหน่งเป็นเวลาสี่ปี การเลือกตั้งในฟินแลนด์จะแบ่งออกเป็น 16 เขตเลือกตั้ง โดยจำนวนสมาชิกสภาของแต่ละเขตขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในเขตนั้นๆ สมาชิกของแต่ละเขตได้รับเลือกโดยแบ่งตามอัตราส่วนตามระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิด หมู่เกาะโอลันด์จะมีตัวแทนในรัฐสภาหนึ่งที่เสมอ การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2550[3] โดยทั่วไปการเลือกตั้งจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่สามของเดือนมีนาคม

สมาชิกรัฐสภาประชุมกันที่อาคารรัฐสภา (ภาษาฟินแลนด์: Eduskuntatalo; ภาษาสวีเดน: Riksdagshuset) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเฮลซิงกิ

พรรคการเมือง

ฟินแลนด์มีระบบการเมืองแบบหลายพรรค โดยมีพรรคการเมืองใหญ่สามพรรค โดยทั่วไปแล้ว ไม่มีพรรคใดได้เสียงพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว และจะต้องร่วมมือกับพรรคอื่นในการจัดตั้งรัฐบาลผสม พรรคการเมืองที่มีสมาชิกในรัฐสภาได้แก่

ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อภาษาฟินแลนด์ ชื่อภาษาสวีเดน ปีที่ก่อตั้ง จำนวนสมาชิกในรัฐสภา
Center Party Keskusta Centern i Finland พ.ศ. 2449
55
Social Democratic Party of Finland Suomen Sosialidemokraattinen Puolue Finlands Socialdemokratiska Parti พ.ศ. 2442
53
The National Coalition Party Kansallinen Kokoomus Samlingspartiet พ.ศ. 2458
40
Left Alliance Vasemmistoliitto Vänsterförbundet พ.ศ. 2533
19
Green League Vihreä liitto Gröna förbundet พ.ศ. 2530
14
Swedish People's Party Ruotsalainen kansanpuolue Svenska folkpartiet พ.ศ. 2449
8
Christian Democrats Kristillisdemokraatit Kristdemokraterna พ.ศ. 2503
7
True Finns Perussuomalaiset Sannfinländarna พ.ศ. 2538
3

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

นโยบายการต่างประเทศของฟินแลนด์โดยหลักแล้วมีพื้นฐานอยู่ที่การเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ฟินแลนด์ยังเป็นสมาชิกของคณะมนตรีนอร์ดิก และมีความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มนอร์ดิกมาอย่างยาวนาน ฟินแลนด์มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน สวีเดน นอร์เวย์ รัสเซีย และเอสโตเนีย และไม่มีปัญหาเรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศหรือตามแนวชายแดน ฟินแลนด์วางสถานะเป็นกลางและไม่เข้าร่วมในพันธมิตรทางการทหารใด รวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ การค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อฟินแลนด์ โดยมีผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศถึงหนึ่งในสาม และฟินแลนด์ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ

การแบ่งเขตการปกครอง

ชุมชนและภูมิภาค

ฟินแลนด์มีการแบ่งการปกครองเป็นสองระดับ ได้แก่ รัฐ และ 432 เทศบาล (ภาษาฟินแลนด์: kunta; ภาษาสวีเดน: kommun) โดยเทศบาลนั้นอยู่ในระดับการปกครองเดียวกับเมือง เว้นแต่ว่าเทศบาลในเขตชนบทจะไม่เรียกว่าเป็นเมือง แม้ว่าทุกเทศบาลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ แต่จะสามารถกระทำการตัดสินใจเองได้ นั่นหมายความว่า หากการตัดสินใจของสภาเทศบาลไม่ผิดกฎหมายแล้ว ก็จะไม่สามารถขัดได้

เทศบาลต่างๆจะประสานงานกันในระดับอนุภูมิภาค(ภาษาฟินแลนด์: seutukunta; ภาษาสวีเดน: ekonomist region) และภูมิภาค (ภาษาฟินแลนด์: maakunta; ภาษาสวีเดน: landskap) โดยมี 74 อนุภูมิภาคและ 20 ภูมิภาคในฟินแลนด์ อนุภูมิภาคและภูมิภาคปกครองโดยชุมชนที่เป็นสมาชิก ภูมิภาคโอลันด์มีสภาเทศบาลถาวรที่มาจากการเลือกตั้ง จากการที่เป็นเขตปกครองตนเอง ในภูมิภาคไกนู (Kainuu) มีโครงการนำร่องที่มีการเลือกตั้งในระดับภูมิภาคที่ใกล้เคียงกัน

จังหวัด

ฟินแลนด์ยังมีการแบ่งการปกครองออกเป็น 6 จังหวัด (ภาษาฟินแลนด์: läänit; ภาษาสวีเดน: län)และ 90 เขตปกครองท้องถิ่นของรัฐ โดยที่เจ้าหน้าที่จังหวัดเป็นเจ้าหน้าที่แต่งตั้งจากรัฐบาลกลาง การแบ่งจังหวัดนั้นเป็นเรื่องของการปกครองเท่านั้น ไม่ได้สะท้อนการแบ่งเขตทางภาษาและวัฒนธรรมแต่อย่างใด จังหวัดของฟินแลนด์ได้แก่ (เรียงลำดับตามภาพด้านขวา)

  1. ฟินแลนด์ใต้
  2. ฟินแลนด์ตะวันตก
  3. ฟินแลนด์ตะวันออก
  4. โอวลุ
  5. แลปแลนด์ (ลัปปิ)
  6. โอลันด์


ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศ

ทะเลสาบไซมา มีขนาดใหญ่เป็นอันดับห้าของยุโรป

ฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีทะเลสาบและเกาะเป็นจำนวนมาก โดยมีทะเลสาบถึง 187,888 แห่ง[4][5] (ที่มีเนื้อที่มากกว่า 500 ตารางเมตร) และมีเกาะถึง 179,584 เกาะ[5] โดยทะเลสาบไซมา ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในฟินแลนด์ เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับห้าของยุโรป ภูมิประเทศทั่วไปของฟินแลนด์มีลักษณะเป็นที่ราบ ไม่มีภูเขามากนัก จุดสูงสุดของประเทศอยู่ที่ภูเขาฮัลติ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเขตแลปแลนด์ โดยมีความสูง 1,328 เมตร[1] นอกจากทะเลสาบแล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่ของฟินแลนด์ปกคลุมด้วยป่าสน และมีพื้นที่เพาะปลูกไม่มากนัก ฟินแลนด์มีเกาะที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ บริเวณหมู่เกาะโอลันด์ และตลอดแนวชายฝั่งทางใต้ในอ่าวฟินแลนด์ ฟินแลนด์เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศของโลกที่ยังคงมีขนาดใหญ่ขึ้น จากการยกตัวของแผ่นดินที่มีผลมาตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย

ภูมิอากาศ

ภูมิอากาศทางตอนใต้ของฟินแลนด์เป็นแบบเขตอบอุ่น ทางตอนเหนือ โดยเฉพาะในเขตจังหวัดแลปแลนด์ มีภูมิอากาศแบบป่าสนหรือกึ่งอาร์กติก ซึ่งโดยทั่วไปจะหนาวเย็น มีฤดูหนาวที่รุนแรงในบางครั้ง และมีฤดูร้อนที่ค่อนข้างอบอุ่นโดยเปรียบเทียบ ฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมเพราะอยู่ใกล้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้มีภูมิอากาศที่ค่อนข้างอบอุ่นเมื่อเปรียบเทียบกับละติจูดที่อยู่สูงมาก

เนื้อที่ราวหนึ่งในสี่ของประเทศฟินแลนด์ตั้งอยู่เหนืออาร์กติกเซอร์เคิล ทำให้เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืนได้ ในจุดที่เหนือที่สุดของฟินแลนด์ พระอาทิตย์ไม่ตกดินเป็นเวลา 73 วันในช่วงฤดูร้อน และไม่ขึ้นเลยเป็นเวลา 51 วันในช่วงฤดูหนาว[5][6]

เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

สำนักงานใหญ่ของโนเกียในเมืองเอสโป (Espoo)

ในอดีต นโยบายการค้าขายของฟินแลนด์อยู่ในกรอบของการไม่ไปกระตุ้นยักษ์ใหญ่อย่างจักรวรรดิรัสเซีย และต่อมา สหภาพโซเวียต ถึงกระนั้นก็ตาม ฟินแลนด์ได้กลายเป็นประเทศที่มีขยายอำนาจทางเศรษฐกิจได้กว้างไกลที่สุดประเทศหนึ่งของโลกในเวลาต่อมา

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ฟินแลนด์มีเศรษฐกิจที่เป็นอุตสาหกรรมและเป็นตลาดเสรี ซึ่งมีผลผลิตต่อประชากรสูงไม่ต่างจากเศรษฐกิจในโลกตะวันตกอื่นๆ ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่การผลิตไม้ โลหะ วิศวกรรม โทรคมนาคม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การค้าของฟินแลนด์มีส่วนถึงหนึ่งในสามของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ นอกจากป่าไม้และแร่ธาตุบางอย่างแล้ว ฟินแลนด์ต้องพึ่งพาการนำเข้าว้ตถุดิบและพลังงาน รวมถึงส่วนประกอบของสินค้าอุตสาหกรรมบางอย่าง

เหรียญมาร์คคาฟินแลนด์ ก่อนที่จะมีการใช้เงินยูโร

ในปีพ.ศ. 2534 ฟินแลนด์ประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก จากความร้อนแรงเกินควรของเศรษฐกิจ ตลาดต่างประเทศที่ซบเซา และการสิ้นสุดลงของการค้าขายแบบแลกเปลี่ยนกับอดีตสหภาพโซเวียต เนื่องด้วยก่อนปี 2534 การค้าขายมากกว่าหนึ่งในห้าของฟินแลนด์เกิดขึ้นกับสหภาพโซเวียต และการค้าขายนั้นสิ้นสุดลงในช่วงสองปี ในปี 2535 และ 2536 ฟินแลนด์ลดค่าเงินมาร์คคาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากขึ้น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำถึงจุดต่ำสุดในปี 2536 จากนั้นก็มีการเจริญเติบโตขึ้นจนถึงปี 2538 ตั้งแต่นั้นมา ฟินแลนด์ก็อยู่ในกลุ่มที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดในประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี)

เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เหมาะสม ทำให้การทำเกษตรกรรมถูกจำกัดอยู่เพียงการผลิตเพื่อเพียงพอต่อการบริโภคเท่านั้น การทำป่าไม้จึงเป็นอาชีพอันดับสองของประชากรในเขตชนบท

ฟินแลนด์เป็นหนึ่งใน 11 ประเทศที่ร่วมใช้ระบบเงินยูโรในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 สกุลเงินมาร์คคาฟินแลนด์ได้ถูกนำออกจากระบบและทดแทนโดยเงินยูโรในต้นปี 2545

ฟินแลนด์ได้รับการประกาศให้เป็นประเทศที่มีขีดการแข่งขันสูงที่สุดในโลกสามปีติดต่อกันในปี 2546-2548 โดยเวิลด์อิโคโนมิกฟอรั่ม (World Economic Forum)[7] ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีความสนใจไปที่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวได้ว่าบริษัทโนเกียของฟินแลนด์เป็นส่วนประกอบสำคัญในสาขาสำคัญของอุตสาหกรรมนี้ นั่นคือภาคโทรคมนาคม

การคมนาคม

ท่าอากาศยานเฮลซิงกิ-วันตา

จากข้อมูลถึงปีพ.ศ. 2548 ถนนสาธารณะทั้งหมดของประเทศมีความยาว 78,189 กิโลเมตร[8] ทางรถไฟทั้งประเทศมีความยาว 5,741 กิโลเมตร[8] โดยในเฮลซิงกิมีระบบรถไฟในเมือง และในปัจจุบันกำลังมีโครงการสร้างไลท์เรลในเมืองตัมเปเร และตุรกุ ฟินแลนด์มีสนามบิน 148 แห่ง[9] โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดคือท่าอากาศยานเฮลซิงกิ-วันตา

ระบบรถไฟในฟินแลนด์ให้บริการโดยรัฐวิสาหกิจ "เวแอร" (VR) โดยให้บริการรถไฟเชื่อมต่อเมืองต่างๆทั่วประเทศ เส้นทางรถไฟส่วนใหญ่จะเริ่มต้นหรือสิ้นสุดทางที่สถานีรถไฟกลางเฮลซิงกิ มีบริการรถไฟความเร็วสูงเพนโดลีโน เชื่อมต่อเมืองหลักของประเทศ โดยเฉพาะตัมเปเรและตุรกุ ท่่าอากาศยานเฮลซิงกิ-วันตา เป็นประตูสู่เมืองหลักๆของโลกหลายแห่ง โดยมีเที่ยวบินตรงไปยังกรุงเทพฯ ปักกิ่ง เดลี กวางเจา นาโกย่า นิวยอร์ก โอซะกะ เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง และโตเกียว

ประชากร

การแต่งการแบบชาวซามิ

ฟินแลนด์มีประชากรประมาณ 5 ล้านคน และมีความหนาแน่นของประชากรอยู่ที่ราว 16 คนต่อตารางกิโลเมตร โดยเป็นประเทศที่มีประชากรเบาบางที่สุดในยุโรปรองจากนอร์เวย์และไอซ์แลนด์ ประชากรของฟินแลนด์กระจุกตัวอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ โดยเฉพาะในมหานครเฮลซิงกิ มีประชากรถึง 1.2 ล้านคน คิดเป็นความหนาแน่นถึง 415 คนต่อตารางกิโลเมตร (ในส่วนของตัวเมืองเฮลซิงกิมีความหนาแน่นถึงสามพันคนต่อตารางกิโลเมตร) ในขณะที่ทางตอนเหนือในเขตแลปแลนด์ มีประชากรเพียงสองคนต่อตารางกิโลเมตรเท่านั้น เมืองใหญ่อื่นๆนอกจากในเขตมหานครเฮลซิงกิ (ซึ่งรวมถึงเมืองวันตาและเอสโป) ได้แก่ตัมเปเร ตุรกุ และโอวลุ

ประชากรฟินแลนด์ส่วนใหญ่มีเชื้อสายฟินแลนด์ (ทั้งที่พูดภาษาฟินแลนด์และภาษาสวีเดน นับว่าเป็นเชื้อสายฟินแลนด์) เชื้อสายอื่นๆที่เป็นชนกลุ่มน้อยได้แก่รัสเซีย โรมา ซามิ และทาทาร์

ภาษา

ร้อยละ 92 ของประชากรฟินแลนด์พูดภาษาฟินแลนด์เป็นภาษาแม่้ รองลงมาคือภาษาสวีเดน (ร้อยละ 5.5) และภาษากลุ่มซามิที่พูดทางตอนเหนือในเขตแลปแลนด์ ซึ่งในฟินแลนด์มีพูดกันสามภาษาคือภาษาซามิเหนือ ภาษาซามิอินาริ และภาษาซามิสโกลต์ ภาษาและวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย (ซึ่งโดยหลักๆก็คือชาวซามิ) ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ชาวฟินแลนด์ส่วนใหญ่จะเรียนภาษาอังกฤษและสามารถสื่อสารได้ดี ภาษาอื่นๆที่มีเรียนเป็นภาษาที่สองมากในฟินแลนด์คือภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส และภาษาสวีเดน (สำหรับคนฟินแลนด์ส่วนใหญ่ที่ไม่ได้พูดภาษาสวีเดน)

ศาสนา

มหาวิหารของเมืองมิกเกลิ

ศาสนาไม่ได้มีอิทธิพลมากนักกับชีวิตทั่วๆไปของชาวฟินแลนด์ ร้อยละ 83.1 ของชาวฟินแลนด์นับถือศาสนาคริสต์นิกายลูเธอรัน และมีส่วนหนึ่ง (ร้อยละ 1.1) นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกส์ สองนิกายนี้เป็นศาสนาประจำชาติของฟินแลนด์ นอกจากนี้ ศาสนาอื่นๆที่มีนับถือในฟินแลนด์ได้แก่นิกายโปรเตสแทนท์อื่นๆ คาทอลิก อิสลาม และยูดาย นอกเหนือจากประชากรร้อยละ 14.7 ที่ไม่นับถือศาสนาใดๆ อย่างไรก็ตาม การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา (เช่นการเข้าโบสถ์) นั้นน้อยกว่าที่เป็นตามตัวเลขนี้พอสมควร ชาวฟินแลนด์ส่วนใหญ่จะเคยเข้าโบสถ์น้อยครั้งมาก ส่วนใหญ่จะเป็นงานพิธีต่างๆเช่นการแ่ต่งงาน

การศึกษา

ระบบการศึกษาของฟินแลนด์ให้ความสำคัญกับความเสมอภาค โดยไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียนสำหรับนักเรียนเต็มเวลา ฟินแลนด์มีการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ตั้งแต่อายุ 7-16 ปี โรงเรียนทุกแห่งจะมีอาหารกลางวันบริการฟรี การเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายไม่บังคับ โดยมีทั้งการเรียนเตรียมอุดมศึกษาสายสามัญ และอาชีวศึกษา และในระดับอุดมศึกษาก็จะมีทั้งมหาวิทยาลัยและโรงเรียนอาชีวศึกษาขั้นสูง จากการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ในปีพ.ศ. 2546 นักเรียนอายุ 15 ปีของฟินแลนด์นั้นทำคะแนนสูงสุดในด้านความสามารถในการอ่านและวิทยาศาสตร์ และได้รับอันดับสองในด้านคณิตศาสตร์และการแก้ปัญหา[10] เวิลด์อิโคโนมิกฟอรัมจัดอันดับการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้เป็นอันดับหนึ่งของโลก[11] ประชากรที่อายุเกิน 15 ปีมีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ 100 เปอร์เซนต์[12]

วัฒนธรรม

ไฟล์:Benches and ladles in a Finnish sauna.jpg
ซาวน่า เป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมฟินแลนด์

จากการติดต่อกับต่างประเทศตั้งแต่อดีต ชาวฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลของยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะสวีเดนและเยอรมนี และในระยะที่ผ่านมา อิทธิพลจากทวีปอเมริกาเหนือเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น ในทางตะวันออกของฟินแลนด์ อิทธิพลของออร์โธดอกซ์จากรัสเซียยังคงปรากฏอยู่ ในปัจจุบัน ชาวฟินแลนด์มีความพยายามที่จะรับวัฒนธรรมจากดินแดนที่ไกลออกไปด้วย เช่นจากทวีปเอเชียหรือทวีปแอฟริกา

ยังคงมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาคของฟินแลนด์ โดยเฉพาะในเรื่องของสำเนียงการพูดและคำศัพท์ ชนกลุ่มน้อยยังคงรักษาขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของตนไว้ เช่นชาวซามิ (ชนท้องถิ่นที่อาศัยในดินแดนทางเหนือของประเทศ) และชาวฟินแลนด์เชื้อสายสวีเดน ชาวฟินแลนด์จำนวนมากยังคงมีความผูกพันกับชนบทและธรรมชาติ เพราะวัฒนธรรมชาวเมืองยังเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่นานนัก

การซาวน่าแบบฟินแลนด์ เป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมฟินแลนด์ ในฟินแลนด์มีซาวน่าถึงกว่าสองล้านแห่ง[13] เทียบกับจำนวนประชากรห้าล้านคนของประเทศ โดยเฉลี่ยแล้วจะมีซาวน่าหนึ่งแห่งต่อครัวเรือน สำหรับชาวฟินแลนด์แล้ว ซาวน่าเป็นสถานที่สำหรับผ่อนคลายกับครอบครัวและเพื่อนฝูง และผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ

ไฟล์:Lordi-euro06.jpg
วงลอร์ดิ ในการประกวดยูโรวิชัน 2006

ดนตรีของฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากดนตรีดั้งเดิมของคาเรเลีย วัฒนธรรมคาเรเลียเป็นสิ่งสื่อถึงการแสดงออกของตำนานเทพนิยายและความเชื่อของชาวฟินนิก ดนตรีพื้นบ้านของฟินแลนด์ ได้ถูกนำมาทำใหม่โดยวงดนตรีสมัยใหม่ และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของดนตรียอดนิยมในปัจจุบัน ชาวซามิในตอนเหนือของฟินแลนด์มีดนตรีดั้งเดิมของตนเอง

ส่วนหนึ่งของดนตรีฟินแลนด์สมัยใหม่ของฟินแลนด์ที่มีชื่อเสียงคือดนตรีเดธเมทัล เช่นเดียวกับวงดนตรีร็อก นักดนตรีแจ๊ซ และนักแสดงฮิปฮอป ดนตรีที่เป็นที่นิยมของฟินแลนด์ยังรวมไปถึงอุปรากร และดนตรีแดนซ์ วงดนตรีจากฟินแลนด์หลายวงประสบความสำเร็จในวงการดนตรีเฮวีเมทัลและดนตรีร็อกของยุโรปและญี่ปุ่น เช่น วงไนท์วิช อะมอร์ฟิส วัลตาริ เป็นต้น

ในปีพ.ศ. 2549 วงดนตรีลอร์ดิ (Lordi) จากฟินแลนด์ ชนะการประกวดยูโรวิชัน 2006 โดยเป็นชัยชนะครั้งแรกของฟินแลนด์ตลอดยี่สิบปีที่ส่งประกวด เพลงที่ใช้ในการประกวดคือเพลง"ฮาร์ดร็อกฮัลเลลูยา" (Hard Rock Halleluja)[14]

เกร็ดข้อมูล

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 สำนักงานสถิติฟินแลนด์ (อังกฤษ)
  2. Finland's trailblazing path for women บีบีซีนิวส์ 1 มิถุนายน 2549 (อังกฤษ)
  3. ไอเอฟอีเอส อิเล็กชันไกด์ (อังกฤษ)
  4. สถาบันสิ่งแวดล้อมฟินแลนด์ (อังกฤษ)
  5. 5.0 5.1 5.2 Finland at a glance (อังกฤษ)
  6. Finland's climate (อังกฤษ)
  7. 7.0 7.1 Finland First in Global Competitiveness Report 2005-2006 BSKR (อังกฤษ)
  8. 8.0 8.1 สำนักงานสถิติฟินแลนด์ (อังกฤษ)
  9. เวิลด์แฟกต์บุุก (อังกฤษ)
  10. คะแนนเฉลี่ย PISA 2003 (อังกฤษ)
  11. รายงานของเวิลด์อิโคโนมิกฟอรัม (อังกฤษ)
  12. เวิลด์แฟกต์บุก (อังกฤษ)
  13. Finnish Sauna (อังกฤษ)
  14. Finland celebrates Eurovision win บีบีซีนิวส์ 21 พฤษภาคม 2549 (อังกฤษ)
  15. รายงานเสรีภาพสื่อ 2006 (อังกฤษ)
  16. ดัชนีการปลอดคอร์รัปชั่น 2006 (อังกฤษ)
  17. เวิลด์ออดิต (อังกฤษ)
  18. สวิตเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และ สวีเดน ติด 3 อันดับแรกประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุดในโลก ThaiEurope.net 27 กันยายน 2549
  19. Finland ranks second in global competitiveness Tekes (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Wikitravel

ru-sib:Финляндия