ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟักแม้ว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mig44 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mig44 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 88: บรรทัด 88:
* รศ.นิพนธ์ ไชยมงคล ระบบข้อมูลพืชผัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร [http://www.agric-prod.mju.ac.th/vegetable/File_link/chayote.pdf available in pdf format]
* รศ.นิพนธ์ ไชยมงคล ระบบข้อมูลพืชผัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร [http://www.agric-prod.mju.ac.th/vegetable/File_link/chayote.pdf available in pdf format]
* Rafael Lira Saade. 1996. Chayote ''Sechium edule'' (Jacq.) Sw. Promoting the conservation and use of underutilized and neglected crops. 8. Institute of Plant Genetics and Crop Plant Research, Gatersleben/International Plant Genetic Resources Institute, Rome, Italy. ISBN 92-9043-298-5 [http://www.ipgri.cgiar.org/publications/pdf/355.pdf available in pdf format]
* Rafael Lira Saade. 1996. Chayote ''Sechium edule'' (Jacq.) Sw. Promoting the conservation and use of underutilized and neglected crops. 8. Institute of Plant Genetics and Crop Plant Research, Gatersleben/International Plant Genetic Resources Institute, Rome, Italy. ISBN 92-9043-298-5 [http://www.ipgri.cgiar.org/publications/pdf/355.pdf available in pdf format]



[[หมวดหมู่:ผัก]]
[[หมวดหมู่:ผัก]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:53, 27 มกราคม 2550

ฟักแม้ว
ฟักแม้ว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Violales
วงศ์: Cucurbitaceae
สกุล: Sechium
สปีชีส์: S.  edule
ชื่อทวินาม
Sechium edule
L.

ฟักแม้ว หรือ ชาโยเต้ (อังกฤษ : Chayote) หรือ มะเขือเครือ (Sechium edule) เป็นพืชรับประทานได้ อยู่ในสกุล Sechium วงศ์ Cucurbitaceae ใกล้เคียงกับแตงกวา แตงโม ฟักทอง

ถิ่นกำเนิด และการกระจายพันธุ์

มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก และแถบอเมริกากลาง ปัจจุบันมีปลูกอยู่ทั่วโลก พบปลูกทั่วไปในพื้นที่สูง 500-1,700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีดินอุดมสมบูรณ์ แสงสว่างพอเพียง (ช่วงแสง 12 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อชักนำให้เกิดการเจริญของดอก) และใกล้แหล่งน้ำ สันนิษฐานกันว่าพืชชนิดนี้นำเข้ามาในประเทศไทยโดยหมอสอนศาสนา และให้ชาวบ้านปลูกเป็นครั้งแรกที่จังหวัดแพร่

คุณลักษณะ

ฟักแม้วเป็นไม้เถาเลื้อย สามารถเจริญเติบโตข้ามปีได้ มีลักษณะคล้ายเป็นพืชที่อยู่ในกลุ่มของพืชตระกูลแตง แต่มีลักษณะหลายอย่างที่ไม่เหมือนพืชตระกูลแตงที่พบเห็นโดยทั่วไป ลักษณะลำต้น ใบ ยอด และมือจับ คล้ายแตงกวาผสมกับฟักเขียว มีระบบรากสะสมขนาดใหญ่ ลำต้นเป็นเหลี่ยม เจริญเป็นเถา ยาว 15-30 ฟุต มีเถาแขนง 3-5 เถา มือเกาะเจริญที่ข้อ ใบมีขอบใบลักษณะเป็นเหลี่ยม 3-5 เหลี่ยม ยาว 8-15 เซนติเมตร ดอกสีขาวปนเขียว ดอกเกิดที่ข้อระหว่างต้นกับก้านใบเป็นชนิดดอกช่อ (Inflorescence) ส่วนดอกเป็นประเภทไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect flower) กล่าวคือดอกตัวผู้และดอกตัวเมียเป็นคนละดอก แต่อยู่ในต้นเดียวกัน (Monoecious plant) ผลของมะเขือเครือเป็นประเภทผลเดี่ยว (Simple fruit) เนื้อของผลเจริญมาจากฐานรองดอกที่ขยายใหญ่ไปหุ้มเมล็ดไว้มีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว ในผลเหมือนกับมะม่วง มะปราง ซึ่งเป็นข้อแตกต่างของพืชตระกูลแตงที่เราพบเห็นโดยทั่วไป

ผลทรงกลมยาวสีเขียวอ่อน รูปร่างคล้ายลูกแพร์ มีขนาดความยาว 7-20 เซนติเมตร กว้าง 5-15 เซนติเมตร น้ำหนักผล 200-400 กรัม เนื้อมีรสหวาน รสชาติคล้ายมันฝรั่งปนแตงกวา

ภายในฟักแม้ว

การปรุงอาหาร และสรรพคุณทางยา

ใช้ ผล ใบ และรากประกอบอาหาร แต่ก็สามารถรับประทานลำต้นและเมล็ดได้ ในประเทศไทยนิยมรับประทานยอดซาโยเต้ผัดน้ำมันหอย

  • ผล สามารถรับประทานได้ทั้งเปลือก มีรสชาติคล้ายอาร์ติโช๊ค หรือมันฝรั่ง สามารถนำมาตำส้มตำแทนมะละกอก็ได้ เพราะเนื้อหวานกรอบ
  • ราก ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแป้ง ใช้ต้มหรือผัด ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้
  • ผลและเมล็ดประกอบด้วยกรดอะมิโนที่สำคัญหลายชนิด และวิตามินซี
  • ใบและผล ใช้ดองยา มีคุณสมบัติช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจและหลอดเลือด แก้อักเสบ
  • น้ำต้มใบและผล ใช้ในการรักษาอาการเส้นเลือดแข็งตัว ความดันโลหิตสูง และสลายนิ่วในไต

ชื่ออื่นๆ

ฟักแม้ว มีชื่อเรียกอื่นๆ แตกต่างกันตามท้องถิ่น ได้แก่

  • มะเขือเครือ
  • มะเขือนายก
  • มะเขือแม้ว
  • มะเขือฝรั่ง
  • แตงกะเหรี่ยง
  • มะระหวาน
  • มะระญี่ปุ่น
  • ฟักญี่ปุ่น


ในภาษาอังกฤษ ฟักแม้ว Chayote ( IPA: [tʃa'jɔte])) เป็นชื่อในภาษาสเปน ที่มาจากภาษา Nahuatl (ภาษาของชาวแอสเต็ก ทางตอนกลางของเม็กซิโก) ชื่อนี้ใช้ทั่วไปในประเทศที่พูดภาษาสเปน อเมริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา ส่วนในประเทศอื่นๆ มีชื่อเรียกต่างๆดังนี้

  • Australia: choko
  • Brazil: chuchu
  • Caribbean: christoferine, christophene
  • China (Cantonese): fut sao gwa
  • China (Mandarin): 佛手瓜 (lit. "Buddha hand squash")
  • English-speaking countries: chouchou
  • English-speaking countries: chocho, cho-cho
  • English-speaking countries: mango squash
  • English-speaking countries: vegetable pear
  • French Antilles: christophene, christophine
  • India: vilati vanga
  • Italy: zucca
  • Latin America: tayote or tayota [ta'jɔta]
  • Latin America: chocho
  • Latin America: gayota
  • Louisiana (Cajun): mirliton
  • Mauritius: chouchou
  • Norway: chavote
  • Philippines: sayote
  • Portugal: pipinella
  • Réunion Island: chouchou
  • Russian: cajot
  • Thailand: ฟักแม้ว
  • Vietnamese: xu-xu, trai su

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  • รศ.นิพนธ์ ไชยมงคล ระบบข้อมูลพืชผัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร available in pdf format
  • Rafael Lira Saade. 1996. Chayote Sechium edule (Jacq.) Sw. Promoting the conservation and use of underutilized and neglected crops. 8. Institute of Plant Genetics and Crop Plant Research, Gatersleben/International Plant Genetic Resources Institute, Rome, Italy. ISBN 92-9043-298-5 available in pdf format