ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sasakubo (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 50: บรรทัด 50:


=== วิกิพีเดียและแหล่งข้อมูลที่ลอกหรือใช้วิกิพีเดีย ===
=== วิกิพีเดียและแหล่งข้อมูลที่ลอกหรือใช้วิกิพีเดีย ===
อย่าใช้บทความจากวิกิพีเดียหรือจากเว็บไซต์ที่ลอกเนื้อหาจากวิกิพีเดียไปลงเป็นแหล่งข้อมูล เพราะมีค่าเท่ากับการอ้างตัวเอง เช่นเดียวกัน อย่าใช้แหล่งข้อมฦูลที่นำเสนอสื่อที่กำเนิดจากวิกิพีเดียสนับสนุนเนื้อหาเดียวกันในวิกิพีเดีย ซึ่งไม่ต่างอะไร วิกิพีเดียอาจใช้เป็นแหล่งอ้างอิงด้วยความระมัดระวังเป็นแหล่งอ้างอิงปฐมภูมิหากเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง เช่น ในบทความเกี่ยวกับวิกิพีเดีย
อย่าใช้บทความจากวิกิพีเดียหรือจากเว็บไซต์ที่ลอกเนื้อหาจากวิกิพีเดียไปลงเป็นแหล่งข้อมูล เพราะมีค่าเท่ากับการอ้างตัวเอง เช่นเดียวกัน อย่าใช้แหล่งข้อมูลที่นำเสนอสื่อที่กำเนิดจากวิกิพีเดียสนับสนุนเนื้อหาเดียวกันในวิกิพีเดีย ซึ่งไม่ต่างอะไร วิกิพีเดียอาจใช้เป็นแหล่งอ้างอิงด้วยความระมัดระวังเป็นแหล่งอ้างอิงปฐมภูมิหากเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง เช่น ในบทความเกี่ยวกับวิกิพีเดีย


== การเข้าถึงได้ ==
== การเข้าถึงได้ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:47, 15 มกราคม 2555

เกณฑ์พิจารณาเพิ่มเนื้อหาในวิกิพีเดีย คือ การพิสูจน์ยืนยันได้ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นจริง คำว่า "พิสูจน์ยืนยันได้" ในที่นี้หมายถึง ผู้อ่านสามารถตรวจสอบว่า ข้อมูลเนื้อหาใด ๆ ที่เพิ่มเข้ามาในวิกิพีเดียนั้น ได้เคยเผยแพร่ในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาก่อน อย่าเพิ่มเนื้อหาเพียงเพราะผู้เขียนทึกทักเอาเองว่าจริงเด็ดขาด

ในการแสดงว่าเนื้อหานั้นน่าเชื่อถือ ข้อมูลทั้งหมดในบทความจะต้องอ้างจากแหล่งข้อมูลตีพิมพ์ที่น่าเชื่อถือซึ่งเหมาะสมแก่เนื้อหาที่กำลังกล่าวถึงนั้น แต่ในทางปฏิบัติไม่จำเป็นต้องอ้างข้อมูลทุกอย่าง เฉพาะคำกล่าวของบุคคลที่ยกมาและเนื้อหาที่ถูกคัดค้านหรือมีแนวโน้มจะถูกคัดค้าน ต้องมีอ้างอิงในบรรทัด (inline citation) ซึ่งสนับสนุนข้อมูลนั้นโดยตรง สำหรับรูปแบบการเขียนอ้างอิง ดูที่ การอ้างอิงแหล่งที่มา

นโยบายนี้มีผลใช้กับเนื้อหาทั้งหมดในเนมสเปซหลัก ซึ่งรวมไปถึงบทความและส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความ รายการ ตลอดจนคำบรรยายใต้ภาพ โดยไม่มีข้อยกเว้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ ข้อมูลซึ่งต้องการการพิสูจน์ยืนยันแต่ไม่อาจหาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนได้อาจต้องนำออก และข้อมูลอันเป็นประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งขาดอ้างอิงจะต้องนำออกโดยทันที

การพิสูจน์ยืนยันได้เป็นหนึ่งในนโยบายแกนกลางด้านเนื้อหาของวิกิพีเดีย เช่นเดียวกับงดงานค้นคว้าต้นฉบับและมุมมองที่เป็นกลาง ซึ่งนโยบายเหล่านี้ร่วมกันกำหนดประเภทและคุณภาพของแหล่งข้อมูลที่ยอมรับให้ใช้อ้างอิงเนื้อหาในบทความได้ นโยบายเหล่านี้ไม่ควรตีความแยกกัน และผู้แก้ไขควรจะทำให้คุ้นเคยกับหลักสำคัญของนโยบายทั้งสามนี้ นอกจากนี้บทความจะต้องเป็นไปตามนโยบายด้านลิขสิทธิ์

เมื่อใดที่แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือจำเป็น

ข้อมูลใด ๆ ที่ถูกคัดค้านหรือมีแนวโน้มว่าจะถูกคัดค้าน

คำกล่าวของบุคคลทั้งหมดและเนื้อหาใด ๆ ที่ถูกคัดค้านหรือมีแนวโน้มว่าจะถูกคัดค้าน จะต้องนำมาจากแหล่งข้อมูลตีพิมพ์ที่น่าเชื่อถือโดยใช้การอ้างอิงในบรรทัด ซึ่งควรกระทำอย่างชัดเจนและแม่นยำ พร้อมด้วยหมายเลขหน้า (มิใช่เฉพาะชื่อหนังสือหรือสื่อเท่านั้น) ตามความเหมาะสม

นอกจากนี้โปรดระมัดระวังเรื่องลิขสิทธิ์และโจรกรรมทางวรรณกรรม อ่านแหล่งข้อมูล ทำความเข้าใจและทำความคุ้นเคย จากนั้นสรุปสิ่งที่แหล่งข้อมูลนั้นกล่าวถึงด้วยภาษาของคุณเอง เมื่อมีการถอดความแบบคำต่อคำหรือลอกคำพูดของผู้อื่น จะต้องแสดงที่มาในบรรทัด

หน้าที่ของหลักฐาน

หน้าที่ของหลักฐานตกเป็นความรับผิดชอบของผู้แก้ไขซึ่งเพิ่มหรือปรับปรุงเนื้อหา คุณอาจนำเนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือที่สนับสนุนข้อมูลนั้นโดยตรงออก การที่ผู้แก้ไขคนหนึ่งจะตัดสินใจว่าจะดำเนินการดังนี้เร็วเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหาและสภาพโดยรวมของบทความ ผู้แก้ไขอาจคัดค้านว่าคุณนำเนื้อหานั้นออกเร็วเกินไปโดยยังไม่ให้เวลาเพียงพอในการหาแหล่งอ้างอิง เป็นการปฏิบัติที่ดีที่จะพยายามค้นหาและอ้างแหล่งข้อมูลที่สนับสนุนด้วยตัวคุณเอง อย่าทิ้งข้อความที่ขาดอ้างอิงหรือมีแหล่งอ้างอิงอย่างเลวในบทความถ้าหากเนื้อหานั้นอาจทำลายชื่อเสียงของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ เนื้อหาเช่นนั้นควรนำออกทันทีและไม่ต้องอภิปรายอีก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

คำว่า "แหล่งข้อมูล" ในวิกิพีเดียมีสามความหมาย: ชิ้นงานนั้น (เอกสาร บทความ รายงาน หรือหนังสือ) ผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้น (ยกตัวอย่างเช่น ผู้ประพันธ์) และสำนักพิมพ์ผู้ตีพิมพ์ผลงาน (ยกตัวอย่างเช่น เดอะนิวยอร์กไทมส์) ทั้งสามล้วนแต่กระทบต่อความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลทั้งสิ้น

วางรากฐานเนื้อหาของบทความบนแหล่งข้อมูลตีพิมพ์ที่น่าเชื่อถือและไม่มีส่วนได้เสียกับสิ่งที่กำลังกล่าวถึง แหล่งข้อมูลควรจะสนับสนุนเนื้อหาที่ปรากฏในบทความโดยตรงและควรเหมาะสมที่จะใช้อ้างอิงข้อกล่าวอ้างใด ๆ ความเหมาะสมของแหล่งข้อมูลขึ้นอยู่กับบริบท แต่โดยทั่วไปแล้ว แหล่งข้อมูลที่ดีจะต้องมีโครงสร้างการเขียนแบบมืออาชีพสำหรับการตรวจสอบหรือวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ประเด็นทางกฎหมาย หลักฐานและข้อโต้แย้ง หากแหล่งข้อมูลนั้นมีระดับการพิจารณาในประเด็นเหล่านี้มากยิ่งขึ้นเท่าใด แหล่งข้อมูลนั้นย่อมมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

หากสามารถหาได้ สื่อตีพิมพ์ทางวิชาการและที่ได้รับการพิจารณากลั่นกรองแล้วมักจะเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุด อย่างไรก็ตาม แหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่เชิงวิชาการก็สามารถใช้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากปรากฏว่ามันได้รับการยอมรับว่าเป็นสื่อกระแสหลัก แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออื่นรวมไปถึงหนังสือเรียนในระดับมหาวิทยาลัย หนังสือซึ่งได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ที่ได้รับความเชื่อถือ นิตยสาร วารสาร และหนังสือพิมพ์กระแสหลัก สื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ได้เช่นเดียวกัน หากอยู่ในเกณฑ์เดียวกัน

บล็อกหนังสือพิมพ์และนิตยสาร

หนังสือพิมพ์บางแห่งมีคอลัมน์ที่เรียกว่า "บล็อก" บล็อกเหล่านี้สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้ หากผู้เขียนเป็นผู้เชี่ยวชาญและบล็อกนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของบรรณาธิการอย่างเต็มที่ (full editorial control) เมื่อใดที่สำนักข่าวนั้นตีพิมพ์งานที่เป็นความคิดเห็น ให้บ่งชี้ว่าข้อความนั้นใครเป็นผู้เขียน (เช่น "ก เขียนว่า ...") ห้ามใช้โพสต์ของผู้อ่านเป็นแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลที่โดยปกติไม่น่าเชื่อถือ

แหล่งข้อมูลที่น่าสงสัย

"แหล่งข้อมูลที่น่าสงสัย" หมายถึงแหล่งข้อมูลที่มีชื่อเสียงเลวในการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือซึ่งปราศจากการควบคุมคุณภาพ (editorial oversight) อย่างสำคัญ แหล่งข้อมูลเช่นว่ารวมถึงเว็บไซต์หรือสิ่งตีพิมพ์ซึ่งแสดงมุมมองที่คนจำนวนมากเห็นว่าสุดโต่ง (extremist) หรือส่งเสริมการขาย หรือซึ่งอิงข่าวลือหรือความเห็นส่วนบุคคลเป็นหลัก แหล่งข้อมูลที่น่าสงสัยนี้ควรถูกใช้เฉพาะเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับหัวเรื่องนั้นเองเท่านั้น และไม่เหมาะสมที่จะใช้สำหรับอ้างอิงการอ้างเกี่ยวกับบุคคลที่สาม

แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง

ใคร ๆ ก็สามารถสร้างเว็บเพจส่วนตัวหรือจ่ายเงินเพื่อให้ตีพิมพ์หนังสือได้ แล้วอ้างตนว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่ง ด้วยเหตุนั้น สื่อที่ตีพิมพ์เอง อย่างหนังสือ สิทธิบัตร จดหมายข่าว เว็บไซต์ส่วนตัว วิกิเปิด บล็อกส่วนตัวหรือกลุ่ม โพสต์ในฟอรัมอินเทอร์เน็ต และข้อความทวิต ส่วนใหญ่ไม่อาจถือเป็นแหล่งอ้างอิงได้ แหล่งอ้างอิงที่ตีพิมพ์เองของผู้เชี่ยวชาญอาจถือว่าน่าเชื่อถือเมื่อทำขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับในหัวเรื่องของบทความนั้น ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของผลงานในสาขาที่เกี่ยวข้องและเคยตีพิมพ์ในสิ่งตีพิมพ์บุคคลที่สามที่น่าเชื่อถือแล้ว พึงเอาใจใส่เมื่อใช่แหล่งอ้างอิงเช่นว่านี้ ถ้าข้อมูลที่กล่าวถึงนั้นควรค่าแก่การรายงานโดยแท้จริง อาจมีผู้อื่นที่รายงานแล้วด้วยเช่นกัน อย่าใช้แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เองเป็นแหล่งข้อมูลบุคคลที่สามเกี่ยวกับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ แม้ผู้ประพันธ์จะเป็นผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยอาชีพที่เป็นที่รู้จักกันดี หรือนักเขียนก็ตาม

การใช้แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เองและที่น่าสงสัยเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง

แหล่งข้อมูลตีพิมพ์เองและที่น่าสงสัยอาจใช้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองได้ โดยมักปรากฏในบทความเกี่ยวกับตัวเองหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง และไม่ต้องมีสิ่งจำเป็น ตราบเท่าที่:

  1. แหล่งอ้างอิงนั้นไม่เอื้อประโยชน์แก่ตัวเองมากเกินไป
  2. แหล่งอ้างอิงนั้นไม่มีการอ้างเกี่ยวกับบุคคลที่สาม
  3. แหล่งอ้างอิงนั้นไม่มีการอ้างเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับแหล่งอ้างอิงนั้น
  4. ไม่มีข้อสงสัยอย่างสมเหตุสมผลถึงความถูกต้อง
  5. บทความนั้นไม่อิงอยู่บนแหล่งอ้างอิงเช่นว่าเป็นหลัก

นโยบายนี้ยังมผลต่อหน้าที่ว่าด้วยเว็บเครือข่ายสังคม อย่างทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก

วิกิพีเดียและแหล่งข้อมูลที่ลอกหรือใช้วิกิพีเดีย

อย่าใช้บทความจากวิกิพีเดียหรือจากเว็บไซต์ที่ลอกเนื้อหาจากวิกิพีเดียไปลงเป็นแหล่งข้อมูล เพราะมีค่าเท่ากับการอ้างตัวเอง เช่นเดียวกัน อย่าใช้แหล่งข้อมูลที่นำเสนอสื่อที่กำเนิดจากวิกิพีเดียสนับสนุนเนื้อหาเดียวกันในวิกิพีเดีย ซึ่งไม่ต่างอะไร วิกิพีเดียอาจใช้เป็นแหล่งอ้างอิงด้วยความระมัดระวังเป็นแหล่งอ้างอิงปฐมภูมิหากเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง เช่น ในบทความเกี่ยวกับวิกิพีเดีย

การเข้าถึงได้

การเข้าถึงแหล่งข้อมูล

การพิสูจน์ยืนยันได้ในบริบทนี้หมายความว่า ทุกคนควรสามารถตรวจสอบว่าข้อมูลในบทความวิกิพีเดียเคยได้รับการตีพิมพ์ในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หลักการของการพิสูจน์ยืนยันได้นั้นไม่แสดงนัยอื่นใดนอกจากความง่ายในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูลบางแห่งอาจต้องจ่ายเงินก่อน ขณะที่แหล่งข้อมูลตีพิมพ์บางเล่มอาจเข้าถึงได้เฉพาะในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย

แหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่ภาษาไทย

เพราะว่านี่คือวิกิพีเดียภาษาไทย จึงแนะนำให้ใช้แหล่งข้อมูลที่เป็นภาษาไทยมากกว่าแหล่งข้อมูลภาษาต่างประเทศ หากแหล่งข้อมูลที่เป็นภาษาไทยที่มีคุณภาพและความสัมพันธ์เท่ากันเข้าถึงได้

  • เมื่อยกคำพูดจากแหล่งอ้างอิงในภาษาอื่น ให้เขียนข้อความดั้งเดิมกำกับด้วย พร้อมคำแปลภาษาไทย ซึ่งอาจอยู่ในตัวบทความหรืออยู่ในเชิงอรรถ
  • เมื่ออ้างข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่ภาษาไทย ไม่จำเป็นต้องมีคำแปลเสมอไป อย่างไรก็ดี หากมีข้อสงสัยเกิดขึ้นว่าแหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่ภาษาไทยนั้นสนับสนุนข้อมูลจริงหรือไม่ ส่วนข้อความดั้งเดิมและคำแปลที่เกี่ยวข้องควรระบุไว้ในเชิงอรรถ เป็นมารยาท

การแปลโดยแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือนั้นควรถือเอาก่อนการแปลของชาววิกิพีเดีย แต่การแปลของชาววิกิพีเดียควรถือเอาก่อนเครือ่งแปลภาษา เมื่อคุณนำข้อความจากแหล่งข้อมูลมาแปลด้วยเครื่องแปลภาษา ผู้แก้ไขควรมั่นใจอย่างมีเหตุผลว่าการแปลนั้นถูกต้องแม่นยำและแหล่งข้อมูลนั้นเหมาะสม เมื่อโพสต์ข้อความเดิมจากแหล่งข้อมูล พึงระวังมิให้ละเมิดลิขสิทธิ์ ดู แนวปฏิบัติการใช้งานโดยชอบธรรม

กรณีพิเศษ : การอ้างถึงอย่างผิดธรรมดาต้องการแหล่งข้อมูลเป็นพิเศษ

การอ้างอิงถึงอย่างผิดธรรมดา (exceptional claim) จำต้องอาศัยแหล่งข้อมูลคุณภาพสูง สัญญาณเตือนว่าควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษมี:

  • การอ้างถึงอย่างน่าประหลาดใจหรือชัดเจนว่าสำคัญซึ่งไม่มีในแหล่งข้อมูลกระแสหลัก
  • การอ้างถึงที่ถูกคัดค้านซึ่งได้รับการสนับสนุนทั้งหมดโดยแหล่งข้อมูลปฐมภูมิหรือแหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง
  • รายงานถ้อยแถลงของบางคนที่ดูไม่ปกติ (out of character) หรือขัดต่อผลประโยชน์ที่พวกเขาเคยป้องกัน
  • การอ้างถึงซึ่งขัดต่อมุมมองทั่วไปในชุมชนที่เกี่ยวข้อง หรือที่จะเปลี่ยนแปลงข้อสันนิษฐานกระแสหลักอย่างสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ประวัติศาสตร์ การเมือง และชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้สนับสนุนกล่าวว่า มีทฤษฎีสมคบคิดในการปิดปากพวกเขา

ดูเพิ่ม