ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาราจักรแอนดรอเมดา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
ภาพ
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
{{โครงดาราศาสตร์}}


[[หมวดหมู่:ดาราจักรแอนดรอเมดา]]
[[หมวดหมู่:ดาราจักรแอนดรอเมดา]]
[[หมวดหมู่:กลุ่มท้องถิ่น]]
[[หมวดหมู่:กลุ่มท้องถิ่น]]
{{โครงดาราศาสตร์}}


{{Link FA|pl}}
{{Link FA|pl}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:09, 31 ธันวาคม 2554

ดาราจักรแอนดรอเมดา

ดาราจักรแอนดรอเมดา (อังกฤษ: Andromeda Galaxy; หรือที่รู้จักในชื่ออื่นคือ เมสสิเยร์ 31 เอ็ม 31 หรือ เอ็นจีซี 224 บางครั้งในตำราเก่าๆ จะเรียกว่า เนบิวลาแอนดรอเมดาใหญ่) เป็นดาราจักรชนิดก้นหอย ที่อยู่ห่างจากเราประมาณ 2.5 ล้านปีแสง[1] อยู่ในกลุ่มดาวแอนดรอเมดา ถือเป็นดาราจักรแบบกังหันที่อยู่ใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือกของเรามากที่สุด สามารถมองเห็นเป็นรอยจางๆ บนท้องฟ้าคืนที่ไร้จันทร์ได้แม้มองด้วยตาเปล่า

ดาราจักรแอนดรอเมดาเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มดาราจักรท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนดรอเมดา ดาราจักรทางช้างเผือก ดาราจักรสามเหลี่ยม และดาราจักรขนาดเล็กอื่นๆ อีกกว่า 30 แห่ง แม้แอนดรอเมดาจะเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ดาราจักรที่มีมวลมากที่สุด จากการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้บ่งชี้ว่า ดาราจักรทางช้างเผือกมีสสารมืดมากกว่าและน่าจะเป็นดาราจักรที่มีมวลมากที่สุดในกลุ่ม[2] ถึงกระนั้น จากการสังเกตการณ์โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์เมื่อเร็วๆ นี้พบว่า ดาราจักร M31 มีดาวฤกษ์อยู่ราว 1 ล้านล้านดวง ซึ่งมีจำนวนมากกว่าดาวฤกษ์ในดาราจักรของเรา[3] ผลการคำนวณเมื่อปี 2006 ประมาณการว่า มวลของดาราจักรทางช้างเผือกน่าจะมีประมาณ 80% ของดาราจักรแอนดรอมีดา คือประมาณ ×107.1 เท่าของมวลดวงอาทิตย์[4]

ดาราจักรแอนดรอเมดามีระดับความสว่างที่ 4.4 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัตถุเมสสิเยร์ที่สว่างที่สุดชิ้นหนึ่ง[5] และสามารถมองเห็นได้โดยง่ายด้วยตาเปล่า แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะในอากาศอยู่บ้าง หากไม่ใช้กล้องโทรทรรศน์ช่วย อาจมองเห็นดาราจักรเป็นดวงเล็กๆ เพราะสามารถมองเห็นได้เพียงส่วนสว่างที่สุดซึ่งเป็นศูนย์กลาง แต่เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมทั้งหมดของดาราจักรกินอาณาบริเวณกว้างถึง 7 เท่าของดวงจันทร์เต็มดวงทีเดียว

อ้างอิง

  1. I. Ribas, C. Jordi, F. Vilardell, E.L. Fitzpatrick, R.W. Hilditch, F. Edward (2005). "First Determination of the Distance and Fundamental Properties of an Eclipsing Binary in the Andromeda Galaxy". Astrophysical Journal 635: L37-L40. doi:10.1086/499161.
  2. "Dark matter comes out of the cold", BBC News, 5 กุมภาพันธ์ 2006.
  3. Young, Kelly (2006-06-06). Andromeda galaxy hosts a trillion stars (English). NewScientistSpace.
  4. Karachentsev, I. D.; Kashibadze, O. G. (2006). "Masses of the local group and of the M81 group estimated from distortions in the local velocity field". Astrophysics 49 (1): 3–18. doi:10.1007/s10511-006-0002-6.
  5. Frommert, H.; Kronberg, C. (22 สิงหาคม 2007). Messier Object Data, sorted by Apparent Visual Magnitude. SEDS.


แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA