ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กฎบัตรเนือร์นแบร์ค"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Loveless (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1+) (โรบอต เพิ่ม: ja:国際軍事裁判所憲章
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
[[es:Carta de Londres]]
[[es:Carta de Londres]]
[[fr:Charte de Londres du Tribunal militaire international]]
[[fr:Charte de Londres du Tribunal militaire international]]
[[ja:国際軍事裁判所憲章]]
[[nl:Verdrag van Londen (1945)]]
[[nl:Verdrag van Londen (1945)]]
[[sh:Londonski sporazum o Međunarodnom vojnom tribunalu]]
[[sh:Londonski sporazum o Međunarodnom vojnom tribunalu]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:32, 30 ธันวาคม 2554

ธรรมนูญกรุงลอนดอนว่าด้วยศาลทหารระหว่างประเทศ (อังกฤษ: London Charter of the International Military Tribunal) หรือมักเรียกโดยย่อว่า ธรรมนูญกรุงลอนดอนฯ (อังกฤษ: London Charter) หรือ ธรรมนูญเนือร์นแบร์ก (อังกฤษ: Nuremberg Charter) เป็นกฤษฎีกาอันออกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 กำหนดระเบียบและวิธีพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก

ธรรมนูญกรุงลอนดอนฯ กำหนดให้พิจารณาคดีความผิดอาญาซึ่งกระทำลงโดยฝ่ายอักษะของยุโรป ความผิดอาญาเหล่านี้จำแนกไว้เป็นสามประเภท คือ ความผิดอาญาสงคราม, ความผิดอาญาต่อความสงบเรียบร้อย และความผิดอาญาต่อมนุษยชาติ ธรรมนูญฯ ห้ามยกการดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการขึ้นอ้างเป็นข้อต่อสู้ในความผิดอาญาสงคราม ส่วนการปฏิบัติตามคำสั่งทั้งหลายจะเป็นเครื่องบรรเทาโทษก็ต่อเมื่อคณะตุลาการเห็นว่าพึงเป็นเช่นนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

วิธีพิจารณาความอาญาที่คณะตุลาการใช้นั้น ใกล้เคียงกับที่ใช้อยู่ในระบบซีวิลลอว์ยิ่งกว่าของคอมมอนลอว์ โดยเป็นการพิจารณาคดีด้วยตุลาการ มากกว่าเป็นการพิจารณาโดยใช้ลูกขุน กับทั้งยังรับฟังพยานบอกเล่า (hearsay evidence) เป็นอันมากด้วย จำเลยที่พบว่ากระทำความผิดจะอุทธรณ์คำพิพากษาต่อสภาควบคุมของฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ อนึ่ง จำเลยชอบจะนำเสนอพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้ของตน และเพื่อถามค้านพยานบุคคลทั้งหลายได้

ธรรมนูญฯ นี้พัฒนาขึ้นโดยอาศัยอำนาจแห่งปฏิญญามอสโก ซึ่งเรียกว่า "แถลงการณ์ว่าด้วยความอำมหิต" (Statement on Atrocities) ที่ตกลงกันในการประชุมที่กรุงมอสโกเมื่อ ค.ศ. 1943 แล้วยกร่างขึ้นที่กรุงลอนดอน หลังจากเยอรมนียอมจำนนในวันแห่งชัยชนะในทวีปยุโรป (VE Day) การยกร่างดังกล่าวนี้เป็นผลงานของ รอเบิร์ต เอช. แจ็กสัน (Robert H. Jackson), รอเบิร์ต ฟาลโค (Robert Falco) และ อีโอนา นิคิตเชนโก (Iona Nikitchenko) ผู้เป็นคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาแห่งยุโรป (European Advisory Commission) แล้วประกาศใช้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945

ธรรมนูญฯ นี้ กับทั้งบทอธิบายศัพท์ "ความผิดอาญาต่อความสงบเรียบร้อย" นั้น ยังเป็นแม่แบบแห่งกฎหมายฉบับหนึ่งของประเทศฟินแลนด์ ซึ่งรัฐสภาแห่งฟินแลนด์อนุมัติเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1945 เปิดช่องให้พิจารณาคดีความรับผิดชอบทางสงครามในประเทศฟินแลนด์ได้