ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คำประกาศอิสรภาพสหรัฐ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supotmails (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
[[หมวดหมู่:ทอมัส เจฟเฟอร์สัน]]
[[หมวดหมู่:ทอมัส เจฟเฟอร์สัน]]
[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา]]
[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา]]
{{Link GA|en}}


[[ar:إعلان الاستقلال الأمريكي]]
[[ar:إعلان الاستقلال الأمريكي]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:53, 22 ธันวาคม 2554

ภาพวาดคณะกรรมการร่างคำประกาศอิสรภาพยื่นร่างให้กับรัฐสภาอเมริกา โดยภาพนี้พบได้ในธนบัตรสองดอลลาร์ด้วย

คำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: United States Declaration of Independence) เป็นแถลงการณ์ซึ่งสภาภาคพื้นทวีปลงมติยอมรับเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งมีใจความว่า สิบสามอาณานิคม ซึ่งในเวลานั้นกำลังทำสงครามอยู่กับราชอาณาจักรบริเตนใหญ่เป็นรัฐเอกราชแล้ว และดังนั้น ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษอีกต่อไป คำประกาศอิสรภาพส่วนใหญ่เขียนขึ้นโดยโทมัส เจฟเฟอร์สัน อธิบายอย่างเป็นทางการว่าเหตุใดสภาจึงลงมติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม เพื่อประกาศอิสรภาพจากบริเตนใหญ่ ราวหนึ่งปีหลังจากการปะทุของสงครามปฏิวัติอเมริกัน วันเกิดของสหรัฐอเมริกา หรือวันประกาศเอกราช มีการเฉลิมฉลองขึ้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ซึ่งตรงกับวันครบรอบที่คำประกาศอิสรภาพได้รับการเห็นชอบโดยสภา

คำประกาศอิสรภาพดังกล่าวอธิบายเอกราชของสหรัฐอเมริกาโดยลำดับความเดือดร้อนของอาณานิคมจากพระเจ้าจอร์จที่ 3 และโดยการยืนยันสิทธิธรรมชาติ ตลอดจนสิทธิในการปฏิวัติ จุดประสงค์ดั้งเดิมของเอกสารในการประกาศอิสรภาพ แต่ทว่าข้อความของการประกาศอิสรภาพเดิมได้ถูกปฏิเสธไปหลังจากการปฏิวัติอเมริกัน แต่ความสำเร็จของมันได้เพิ่มมากขึ้นตามกาลเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยคที่สอง อันเป็นข้อความที่ครอบคลุมถึงสิทธิมนุษย์ปัจเจกชน:

เราถือว่าความจริงต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ประจักษ์แจ้งอยู่ในตัวเอง นั่นคือ มนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน และพระผู้สร้างได้มอบสิทธิบางประการที่จะเพิกถอนมิได้ไว้ให้แก่มนุษย์ ในบรรดาสิทธิเหล่านั้นได้แก่ ชีวิต เสรีภาพและการเสาะแสวงหาความสุข

ประโยคนี้ถูกเรียกว่าเป็น "หนึ่งในประโยคที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในภาษาอังกฤษ"[1] และ "คำที่มีอำนาจและผลกระทบมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน"[2] และจากแนวคิดในการปกป้องสิทธิปัจเจกชนและกลุ่มคนชายขอบนี้เองที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่ออับราฮัม ลินคอล์น ผู้ซึ่งพิจารณาว่าคำประกาศอิสรภาพดังกล่าวเป็นรากฐานของปรัชญาการเมืองของตน[3]

อ้างอิง

  1. Lucas, "Justifying America", 85.
  2. Ellis, American Creation, 55–56.
  3. McPherson, Second American Revolution, 126.

แม่แบบ:Link GA